วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน 2564 โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และมี รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุม
ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและมีมติที่สำคัญ ดังนี้
1.เห็นชอบ วิธีการดำเนินการบริหารจัดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2564 โดยมอบ สพฐ. ดำเนินการจัดสอบภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป และ ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ในอำนาจหน้าที่ของ กศจ. และ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ การใดที่ กศจ. ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ว 14/2564 ไปแล้ว ให้ส่งมอบให้ สพฐ. เพื่อดำเนินการต่อไป
จากที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สพฐ.) ได้ดำเนินการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2564 และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก และภาค ข เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ปรากฏว่าเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2564 ได้ตามกำหนดการสอบเดิมทำให้เกิดผลตามมาในด้านคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา คุณภาพของผู้เรียนและการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของทั้งประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การสอบแข่งขันฯ สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้ในสภาวการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเป็นไป
ตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) จึงให้ผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตามที่ได้ประกาศรายชื่อไว้แล้ว
แจ้งความประสงค์ในการเข้าสอบในจังหวัดที่ตนเองพักอาศัยในปัจจุบัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้เข้าสอบในการเดินทางไปสอบในจังหวัดที่ได้ยื่นใบสมัครไว้
2.อนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เนื่องจาก ก.ค.ศ. ได้กำหนด มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่
(ว 3 /2564) โดยมีผลใช้บังคับทันที ประกอบกับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกฯ ที่กำหนดไว้เดิม ได้ประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕9 ซึ่งปัจจุบันบริบทต่าง ๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเป็นไปแนวทางเดียวกันกับคัดเลือกตำแหน่งอื่น ๆ ในสายงานบริหารการศึกษา จังได้ปรับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกฯ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร โดยคำนึงถึงบริบทของลักษณะงานที่รับผิดชอบ สามารถคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจลักษณะงานของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย และนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้
1.คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือก
1.1 ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกต้องเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน. และปัจจุบันต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งที่สมัครเข้ารับการคัดเลือก
1.2 คุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.3 เป็นผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว 3 ลงวันที่26 มกราคม 2564กำหนดหลักสูตร
2.การคัดเลือก ประกอบด้วย 3 ภาค ดังนี้
ภาค ก ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ การวิเคราะห์กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและการนำไปใช้ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ภาค ข ความสามารถทางการบริหาร (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
3.เกณฑ์การตัดสิน
3.1 ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องได้คะแนน ภาค ก และภาค ข แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบและรวมทั้งสองภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ และประกาศรายชื่อเรียงลำดับตามเลขประจำตัวสอบ เพื่อเข้ารับการประเมิน ภาค ค
3.2 ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องได้คะแนน ภาค ค ไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบ
3.3 ผู้ได้รับการคัดเลือกต้องได้คะแนนรวม ภาค ก ภาค ข และภาค ค ไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบและให้ประกาศรายชื่อโดยเรียงลำดับที่จากผู้ที่ได้คะแนนรวมจากมากไปหาน้อย
4.ให้ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้กำหนด จำนวนตำแหน่งว่างที่จะใช้บรรจุและแต่งตั้ง วันและเวลาในการคัดเลือก องค์ประกอบ ตัวชี้วัด คะแนนการประเมิน ภาค ข และ ภาค ค และการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการบริหารจัดการเกี่ยวกับการออกข้อสอบ และเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกทั้งนี้ อาจมอบสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยหรือตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการคัดเลือกได้
5กำหนดระยะเวลาการขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือก ไม่เกินสองปี
6.กำหนดให้ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ต้องได้รับการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่เพื่อพัฒนาการศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปี
3เห็นชอบ การกำหนดตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่าตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะสืบเนื่องจากที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทุกตำแหน่งและทุกสายงานขึ้นใหม่ ตาม ว 3/2564 โดยยกเลิกมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะฯว 17/2548 ที่ใช้อยู่เดิม ก.ค.ศ. พิจารณาเห็นว่าเมื่อปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งฯ ใหม่ จึงต้องมีการพิจารณากำหนดตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า ให้สอดคล้องตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะฯ ที่กำหนดขึ้นใหม่ด้วย โดยที่ประชุมได้พิจารณาให้กำหนดตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่าเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง เพื่อใช้สำหรับการสรรหาบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แต่มิได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะไว้ เนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะนั้น ได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะฯ ว 3/2564 แล้ว
สำหรับการกำหนดตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่าเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น มีจำนวน11 ตำแหน่ง ประกอบด้วย
1) ครู
2) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
3) ผู้อำนวยการสถานศึกษา
4) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
5) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
6) รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร
7) ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร
8) ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ
9) รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
10) ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
11) ศึกษานิเทศก์
โดยกำหนดตำแหน่งที่เทียบเท่าไว้เช่นเดิม ซึ่งเป็นตำแหน่งตาม พรบ. ข้าราชการครู พ.ศ. 2523เพื่อให้ผู้ที่สามารถเข้าสู่ตำแหน่งนั้น สามารถเข้าสู่ตำแหน่งเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ
4.อนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตำแหน่งเพื่อบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เนื่องจากจำนวนการเกิดของประชากรในอนาคตที่มีจำนวนลดลง ทำให้จำนวนประชากรที่จะเข้าเรียนลงลดประกอบกับมีการปรับปรุงการปฏิรูปการศึกษา และปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะส่งผลให้อนาคตจะมีสถานศึกษาขนาดเล็กกระจายตัวอยู่นอกเขตเมืองเพิ่มมากขึ้น ก.ค.ศ. จึงได้กำหนดเกณฑ์อัตราฯ ตาม ว 23/2564 ขึ้น ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว ได้กำหนดให้มีครูในสาขาวิชาเอกต่าง ๆ เพียงพออย่างเหมาะสม ไม่เกิดการกระจุกตัวของครูในสาขาใดสาขาหนึ่ง นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายในการควบรวมสถานศึกษา และได้มีการกำหนดตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาเกิดขึ้นในสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป ส่งผลทำให้อัตรากำลังสายงานการสอนของสถานศึกษาขนาดต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป ก.ค.ศ. จึงได้ศึกษา วิเคราะห์หลักเกณฑ์และวิธีการเกลี่ยอัตรากำลังฯ ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์อัตรากำลังที่กำหนดใหม่ และเพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนและสามารถตอบโจทย์ด้านการบริหารสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว ได้กำหนดวิธีการบริหารอัตรากำลังฯ ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามรายละเอียดดังนี้
กลุ่มที่ 1 การบริหารอัตรากำลัง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการควบรวมสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเป็นกรณีการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน ไปกำหนดในสถานศึกษาแห่งใหม่ ทำได้ทั้งภายในจังหวัด
และต่างจังหวัด มี 2 วิธี
วิธีที่ 1 ตัดโอนตำแหน่งฯ สายงานการสอนจากสถานศึกษา ที่ยุบ รวม เลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปกำหนดเป็นสายงานการสอน ในสถานศึกษาแห่งใหม่ ที่มีอัตรากำลังสายงานการสอนต่ำกว่าเกณฑ์
วิธีที่ 2 ตัดโอนตำแหน่งฯ สายงานบริหารสถานศึกษาจากสถานศึกษา ที่ยุบ รวม เลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปกำหนดเป็นสายงานการสอนหรือสายงานบริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาแห่งใหม่ที่มีอัตรากำลังสายงานการสอนหรือสายงานบริหารสถานศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์
กลุ่มที่ 2 การบริหารอัตรากำลัง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามเกณฑ์อัตรากำลัง ว 23/2563ที่ต้องการให้โรงเรียนมีครูที่เหมาะสมกับภาระงาน และมีครูครบในสาขาวิชาเอก แบ่งได้เป็น 2 วิธี
วิธีที่ 1 “การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง” ซึ่งจะกระทำได้ภายในสถานศึกษานั้น เท่านั้นได้แก่
1) ปรับปรุงสายงานการสอนเป็นสายงานการสอน
2) ปรับปรุงสายงานการสอนเป็นสายงานบริหารสถานศึกษา
3) ปรับปรุงสายงานบริหารสถานศึกษาเป็นสายงานการสอน ทั้งนี้ สถานศึกษานั้น ๆ ต้องมีอัตรากำลังสายงานที่รับการปรับปรุงต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
วิธีที่ 2 “การตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน” เป็นการตัดโอนไปกำหนดในสถานศึกษาแห่งใหม่ซึ่งจะกระทำได้ภายในจังหวัดเท่านั้น เท่านั้น ได้แก่
1) ตัดโอนสายงานการสอนเป็นสายงานการสอน
2) ตัดโอนสายงานการสอนเป็นสายงานบริหารสถานศึกษา
3) ตัดโอนสายงานบริหารสถานศึกษาเป็นสายงานการสอน ทั้งนี้ สถานศึกษาที่รับการตัดโอนต้องมีอัตรากำลังสายงานที่รับการตัดโอนต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
กลุ่มที่ 3 การบริหารอัตรากำลัง กรณีกระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรณีการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน ไปกำหนดในสถานศึกษาแห่งใหม่ ได้ทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด
5.เห็นชอบ (ร่าง) ระเบียบ ก.ค.ศ. เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษจากสภาพการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ตามที่มาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 บัญญัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบที่ ก.ค.ศ. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี รวมถึงแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา กำหนดให้สำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน สำหรับครูที่มีสมรรถนะสูง และครูที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารเสี่ยงภัย และพื้นที่พิเศษ ซึ่ง ก.ค.ศ. ได้นำรายละเอียดข้อมูลที่ได้ศึกษาจากการลงพื้นที่เพื่อดูสภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จริงมาวิเคราะห์และพิจารณาแนวทางการกำหนดอัตราเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ อดทนสูง มีความยากลำบาก ตรากตรำในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนต้องใช้ความรู้ความชำนาญ และความเอาใจใส่ต่อผู้เรียนเป็นพิเศษ ซึ่งสมควรกำหนดให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ โดยมีสาระสำคัญของ (ร่าง) หลักเกณฑ์ฯ ดังนี้
1.กำหนดเหตุพิเศษ จากปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ อดทนสูง ขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง
มีความยากลำบาก ตรากตรำ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการบริหารจัดการสถานศึกษา มีความเคร่งเครียด กดดัน หรือต้องดูแลกลุ่มผู้เรียนพักนอนในสถานศึกษาหรือผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์ (กำหนดจากปัจจัยที่ 1 สภาพการปฏิบัติงาน)
ทั้งนี้ นักเรียนพักนอน หมายถึง ผู้เรียนที่ศึกษาและต้องพักนอนอยู่ในสถานศึกษา เนื่องจากไม่สามารถเดินทางไป – กลับระหว่างสถานศึกษาและบ้านพักได้ภายในวันเดียวกัน เนื่องจากความยากลำบากในการเดินทาง โดยความเห็นชอบของส่วนราชการต้นสังกัดและโดยอนุมัติของ ก.ค.ศ. และกลุ่มชาติพันธุ์ หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
2.ผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน และสายงานผู้บริหารสถานศึกษา ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา ดังนี้
(1) สถานศึกษาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูฯ พ.ศ. 2547
(2) โรงเรียนสาขา/ห้องเรียนสาขาที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด
(3) สถานที่จัดการเรียนการสอนที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด
โดยอนุมัติของ ก.ค.ศ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง หรือ กศจ. ที่ได้รับมอบหมาย โดยสถานศึกษาต้องมีพื้นที่ตั้งเป็นเกาะ หรือบนภูเขาสูง หรือหุบเขา หรือเชิงเขา ที่ไม่สามารถเดินทางด้วยพาหนะใด ๆ ได้สะดวกตลอดปี หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ หรือพื้นที่อื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
3.อัตราเงินเพิ่ม 3,000 บาท/เดือน โดยให้จ่ายเป็นรายเดือนในลักษณะจ่ายควบกับเงินเดือน และไม่นำไปรวมคำนวณบำเหน็จบำนาญ กรณีปฏิบัติงานไม่เต็มเดือน ให้ได้รับเงินเพิ่มตามส่วนของจำนวนวันที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งนี้ ให้ดำเนินการนำ (ร่าง) ระเบียบ ก.ค.ศ. เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษจากสภาพการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป