อุบัติเหตุบนท้องถนนที่พบเห็นในปัจจุบันนี้ สาเหตุหลักอย่างหนึ่ง มาจากผู้ใช้รถในถนนที่ขาดวินัยในการขับขี่และไม่เคารพกฏจราจร โดยเฉพาะการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน เป็นช่วงที่มีรถสัญจรเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ต่างเร่งรีบ ใช้ความเร็ว ฝ่าไฟแดง ไม่ปฏิบัติตามกฏจราจรจนเป็นเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุ และจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นมีผู้ประสบภัยจากรถจำนวนมากที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง,ต้องเสียเงินรักษาตนเอง และต้องดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายด้วยตนเอง
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการที่ผู้ประสบภัยจากรถถูกละเมิดจากรถที่ไม่มีการทำประกันภัย พ.ร.บ. ทำให้ผู้ประสบภัยจำนวนมากไม่ได้รับการคุ้มครองหรือไม่ได้รับสิทธิที่พึงได้รับจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเป็นการประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถทุกคนต้องทำ
และที่สำคัญหากนำรถที่ไม่มีประกันภัย พ.ร.บ.มาใช้ ยังผิดกฎหมายอีกด้วย โดยกฎหมายมีบทลงโทษผู้ที่นำรถที่ไม่มีประกันภัย พ.ร.บ.มาใช้ มีความผิด มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และรวมไปถึงเจ้าของรถคันที่ฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ.ก็มีความผิด มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เช่นกัน
ซึ่งประกันภัย พ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองสูงสุด (หลังจากได้มีการพิสูจน์ความรับผิดแล้ว) บริษัทประกันภัยจะจ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีบาดเจ็บจะจ่ายตามการรักษาจริงสูงสุด ไม่เกิน 80,000 บาท กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะ จ่าย 200,000 – 300,000 บาท)
ดังนั้นเจ้าของรถทุกคนจึงต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับการทำประกันภัย พ.ร.บ. ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดหรือบังคับให้ทำเท่านั้น แต่การทำประกันภัย พ.ร.บ.นั้นเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อชีวิตของบุคคลอื่นหรือรถคันอื่นที่อยู่บนท้องถนน รวมทั้งบุคคลภายนอกที่อาจได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ผู้ประสบภัยเหล่านั้นควรได้รับการคุ้มครองจาก พ.ร.บ.อย่างเต็มที่ แม้ว่าอุบัติเหตุไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ผู้ประสบภัยจากรถก็สามารถที่จะได้รับการเยียวยาได้ “หากรถทุกคันมีประกันภัย พ.ร.บ.”
เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนน ผู้ที่ประสบภัยจากรถทุกคนจะได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และหากไม่ทราบว่าจะไปใช้สิทธิที่ใด รวมทั้งไม่ทราบว่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ผู้ประสบภัยจากรถสามารถเข้าไปดูรายละเอียดข้อมูลการเบิกประกันภัย พ.ร.บ.หรือคำถามเกี่ยวกับการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. ได้ที่ www.rvp.co.th ซึ่งจะมีข้อมูลดังกล่าวแสดงอยู่บนหน้าเว็ปไซต์ หรือสามารถติดต่อสอบถามได้ที่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด Call Center 1791 ตลอด 24 ชั่วโมง
บริษัทกลางฯ ให้ทุกเส้นทาง ปลอดภัยกว่าที่คุณคิด