ในระยะนี้มีคนจำนวนมากให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการออกกำลังกาย และกีฬาที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายคือการ “วิ่ง” ที่สามารถวิ่งได้โดยมีข้อจำกัดน้อยสามารถหาสถานที่ได้ง่าย มีเวลาก็ใส่รองเท้าแล้ววิ่งได้เลยนักเดินทางเพื่อสังคมได้ไปพบเจอเรื่องราวของการวิ่งที่ผสมผสานการสร้างการรับรู้ด้วยยการส่งเสริมการเดิน -วิ่งเพื่อสุข ภาพและการออกกำลังกายแก่ประชาชน พร้อม ๆ กับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำพูน ในงานประเพณี “สลากย้อมลำพูน หนึ่งเดียวในโลก” ที่ 1 ปีมีแค่ครั้งเดียวและมีที่จังหวัดลำพูนที่เดียวเท่านั้น
สลากย้อม เป็นประเพณีที่มีพื้นเพมาจาก “ชาวยอง” (กลุ่มชาติพันธุ์ลื้อจากสิบสองปันนา ก่อนจะอพยพมาอยู่ที่เมืองยองในพม่า และย้ายมาตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดลำพูนอีกทีหนึ่งเมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันมีชาวยองอาศัยอยู่ในลำพูนกว่า 80%)ที่มาของสลากย้อมเมืองลำพูน เกิดขึ้นที่จังหวัดลำพูนเมิ่มีประเพณี การทานสลาก ภัตร ซึ่งเป็ นการทำบุญประ จำปีก่อนออกพรรษา คนล้านนามักจะจัดทานสลากภัตรที่ลำพูน ก็จะเริ่มที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ในวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10วัดต่าง ๆ ก็จะจัด แต่ก็อยู่ที่ความพร้อมของแต่ละวัดไม่จำเป็นต้องจัดทุกปี
เดิมสลากย้อมเป็นการถวายทานเพื่อเป็นพุทธบูชาของหญิงสาว บางพื้นที่จำ เพาะเจาะจงว่าต้องมีอายุ 20 ปีเท่านั้นขณะที่บางพื้นที่ไม่จำเป็น ขอให้เป็นช่วงคาบเกี่ยวกับอายุ 20 ปี(บวกลบ 2-3 ปี) แต่สิ่งที่เชื่อเหมือนกันก็คือ ต้องเป็นหญิงสาวที่ไม่แต่งงาน โดยเชื่อว่าการถวายสลากย้อมของหญิงสาวจะได้รับอานิสงส์ผลบุญอย่างสูงยิ่งเทียบเท่ากับการบวชของผู้ชายขณะที่ของใช้ใส่เข้าไปในสลากย้อมก็คือ เครื่องใช้ของผู้หญิงทั้งหมด เช่น แว่น หวี แป้งทาหน้า เครื่องสำอาง สร้อยแหวนเงินทองใส่ไปหมด สิ่งของเหล่านี้เมื่อถูกพระรับทานไปแล้วเจ้าของก็จะขอบูชาคืน ส่วนอีกประเภทหนึ่งก็คือ การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาคือเครื่องใช้ของสงฆ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันลักษณะพิเศษของสลากย้อม คือ จะต้องนำประวัติของผู้หญิงที่มาเป็นเจ้าภาพมาแต่งเป็นครรโลงเล่าตั้งแต่เกิด จนถึงปัจจุบันเพื่อให้คนที่มาเที่ยวได้รับรู้ถึงประวัติของผู้ทานสลากย้อม ก็เหมือนกับการเรียกขวัญ (ฮ้องขวัญ) พระนาคตามประเพณีล้านนาที่นำประวัติมาเล่าเป็นทำ นองเทศน์ล้านนา เพื่อให้รู้ว่ากำ ลังจะทำ ความดีสละทุกอย่างเข้าร่วมพระพุทธศาสนา ในส่วนของพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองลำพูนมานานนับพันปี จัดเป็นพระธาตุที่เก่าแก่ที่สุดของภาคเหนือเพราะสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอาทิตยราช หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งช่วงนั้นนครหริภุญชัยมีความรุ่งเรืองทางศาสนาและศิลลปวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก องค์พระธาตุมีลักษณะศิลปะแบบล้านนา ปิดด้วยทองจังโกสีเหลืองอร่ามทั้งองค์ ภายในประดิษฐานพระเกศบรมธาตุซึ่งบรรจุอยู่ในโกศทองคำอีกชั้นหนึ่ง บริเวณโดยรอบองค์พระธาตุจะมีซุ้มกุมภัณฑ์และฉัตรประจำ ทั้งสี่มุมม นอกจากพระธาตุเจดีย์หริภุญชัยแล้ว ภายในบริเวณวัดยังมีสิ่งที่น่าสนใจอกีหลายอย่าง เช่น บริเวณด้านหน้าวัดซ่งึ เป็น “ซุ้ม ประตูโขงท่าสิงห์”ประตูทางเข้าสู่เขตพุทธาวาสซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมอันสวยงามยอดหลังคาสร้างเป็นทรงปราสาทซ้อนกันหลายชั้น และมีปูนปั้นรูปสิงห์อยู่ด้านหน้า ซุ้มประตูนี้จึงได้ชื่อว่า ซุ้มประตูโขงท่าสิงห์นั่นเอง ถัดจากซุ้มประตูเข้ามาเราจะเห็น “พระวิหารหลวง” ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ถึงสามองค์ด้วยกัน ภายในตกแต่งด้วยลวดลายวิจิตรงดงาม ส่วนทางด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวงเป็นที่ตั้งของ “หอธรรม” หรือ “หอพระไตรปิฎก” สิ่งปลูกสร้างตามแบบศิลปะล้านนาประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองและกระจกอันสวยงาม ซึ่งตามหลักฐานศิลาจารึกคาดว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2053โดยพระเมืองแก้วกษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่
บริเวณไม่ห่างจากหอธรรมนัก เราจะเห็นว่ามีสิ่งปลูกสร้างรูปร่างคล้ายภูเขาขนาดเล็กนั่นก็คือ “เขาพระสุเมรุ” ถึงแม้จะไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อสมัยใด แต่จากรูปถ่ายทางประวัติศาสตร์ก็เห็นว่าเขาพระสุเมรุนี้ตั้งอยู่ในวัดมา ตั้งแต่โบราณแล้ว จากส่วนด้านหน้านี้เราเดินเลยไปทางด้านหลังของวัด บริเวณวิหารด้านหลังองค์พระธาตุเจดีย์จะเป็น “พิพิธภัณฑ์ 50 ปี วัดพระธาตุหริภุญชัย”ซึ่งใช้เก็บรักษาศิลปวัตถุโบราณต่าง ๆ มากมาย รวมถึงวิหารด้านข้างจะเป็น “พระวิหารพระพุทธบาทสี่รอย” ที่หลาย ๆ คนมักจะแวะเวียนมาสักการะหลังจากที่ได้เดินเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุเจดีย์เรียบร้อยแล้วภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีโบราณสถานอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น หอกังสดาล อันสวยงามด้วยศิลปะหริภุญไชยวิหารพระนอน สุวรรณเจดีย์ เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาทนักท่องเที่ยวควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะคุณผู้หญิงไม่ควรสวมกระโปรง และกางเกงขาสั้น ไม่ควรสวมเสื้อแขนกุดเกาะอก สายเดี่ยวเข้าวัดการเดินเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ ต้องเดินเวียนขวา(ทักษิณาวัตร) ให้หันหน้าเข้าหาองค์พระธาตุแล้วเดินเวียนไปทางขวาให้ครบ 3 รอบ พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญชัย เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-15.00 น.
ในส่วนการวิ่งนั้นกำหนดการแข่งขัน : วันอาทิตย์ที่10 กันยายน 2560 เวลา 04.00 – 09.00 น. สถานที่จัดงาน :วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน ติดตามข่าวสารกันได้ที่ประชาสัมพันธ์ชมรมวิ่งลำพูน โทร.088-266-5