จากลูกที่แม่เป็นห่วงและกังวลมากที่สุด กลายเป็นลูกที่ตอนนี้ แม่สบายใจ มากที่สุด

ทนงศักดิ์ เฮ่งสวัสดิ์ เหรียญทอง : สาขาออกแบบโมเดล จากการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 41 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

ปัจจุบัน : ช่างเทคนิคอาวุโส (หัวหน้าช่างเทคนิค) บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชียแปซิฟิค จำกัด

เราอยากจะมายืน ณ จุด ๆ หนึ่ง ที่ให้คนอื่นเขามองมาแล้ว เราไม่ใช่อย่างที่เขาเคยคิดมาก่อน เป็นเหมือนแรงผลักดันอัตโนมัติ มั่นใจในเส้นทางเดินว่าเดินอย่างไรให้ถูกต้องและไปให้ถึงจุดหมายคุณทนงศักดิ์ เฮ่งสวัสดิ์ อดีตผู้เข้าแข่งขันสาขาออกแบบโมเดล อายุ 27 ปี เกิดที่อำเภอ เภอหลัง สวน จังหวัดชุมพร จบการศึกษาจากวทิ ยาลยั เทคโนโลยยี านยนตโตโยต้า ปัจจับีนทำงานในตำ?แหนง่ช่างเทคนิคอาวุโส (หัวหน้าช่างเทคนิค) บริษัท โตโยต้า มอเตอร์เอเชียแปซิฟิค จำกัด และยังมีส่วนร่วมในการแข่งขันฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับรุ่นน้องที่จะไปแข่งขันในรุ่นต่อ ๆ ไป

คุณทนงศักดิ์เล่าว่า ในอดีตตัวเองเป็นคนเรียนไม่เก่งและเกเร จนทางโรงเรียนต้องเรียกผู้ปกครองมาพบเพื่อพูดคุย ทำให้คุณแม่ต้องร้องไห้ จึงรู้สึกสำนึกผิด เลยพยายามกลับมาตั้งใจเรียนตั้งแต่เรียนชั้น ปวช. ในสาขาช่างยนต์ก็ตั้งใจเรียนมากขึ้น ผลการเรียนก็ดีขึ้นจนสามารถเรียนต่อ ปวส. ได้ ตอนที่เรียนอยู่ปวส. ปี 1 ทางโตโยต้าได้เข้ามาทดสอบเด็กที่โรงเรียนเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันจำนวน 2 คน ใน 2 สาขา ตอนนั้นผมคิดว่า เมื่อก่อนมีคนดูหมิ่นดูถูกเราว่าจะเป็นเด็กที่เรียนหนังสือไม่จบ ผมคิดว่าการเข้ามาทำงานในโตโยต้าน่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้น และสามารถเปลี่ยนคำดูถูกของคนอื่นได้ เลยเป็นแรงผลักดันให้ผมทำในสิ่งที่ต้องการ”

สำหรับกระบวนการทดสอบ คุณทนงศักดิ์เล่าว่า ทางโตโยต้า เข้ามาทดสอบตั้งแต่ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และสอบสัมภาษณ์ด้วยโดยคัดเลือกตั้งแต่ 300 คน เหลือ 10 คน แล้วก็สอบสัมภาษณ์ ซึ่งผมติด 1 ใน 2 สาขา การแข่งขันในสาขาออกแบบโมเดล เป็นการแข่งขันตรงเลย ไม่มีการแข่งขันระดับภาค และระดับประเทศ เหมือนสาขาอื่น ก่อนการแข่งขันผมต้องไปฝึกซ้อมกับโตโยต้าที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผมได้ฝึกซ้อมกับแชมป์เก่า ทางเขาเองใช้เวลาฝึกซ้อม 4 ปี แต่เรามีเวลาฝึกซ้อมแค่ 9 เดือนเพื่อที่จะไปแข่ง WorldSkills เราไปเริ่มตอนเขาเริ่มไป 3 ปีกว่าแล้ว เราทำผลงานไม่ได้เศษเสี้ยวที่เขาทำได้ เหมือนว่ายังไงก็คงสู้เขาไม่ได้เพราะว่าทักษะห่างกันเกินไป แต่ก็ไม่เคยคิดว่าจะถอยแม้แต่ครั้งเดียวคิดอย่างเดียวว่าต้องสู้ให้ได้

ในช่วงที่ไปแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 41 ที่กรุงลอนดอน เป็นช่วงที่กดดันมาก เพราะรู้สึกว่าตัวเองทักษะไม่เพียงพอยังไม่ค่อยพร้อมเหมือนทีมอื่นเขา ที่เราไปเราเป็นน้องใหม่ แม้เราจะทราบโจทย์ก่อน แต่ตอนแข่งขันทางผู้เชี่ยวชาญประเทศอื่น ๆ จะปรับแบบเพื่อเปลี่ยนโจทย์ประมาณ 30 – 70 เปอร์เซ็นต์ พูดได้ว่าเตรียมไปครึ่งหนึ่งเจอหน้างานอีกครึ่งหนึ่ง แต่ก็สามารถผ่านมาได้ ทำให้รู้สึกมั่นใจมากขึ้น

กุญแจแห่งความสำเร็จคือเลือกเดินถูกทาง เพราะเรามี วิถีทางเดินที่ดี ผมคิดว่าตัวเองมี 2 เรื่องที่ทำให้ประสบความสำเร็จ เรื่องแรก คือเรื่องของความฝันที่อยากจะมายืนในจุดที่ให้คนอื่นเขา มองมาแล้ว เราไม่ใช่อย่างที่เขาเคยคิดมาก่อน เลยเป็นแรงผลักดันอยู่ตลอดเวลา เรื่องที่สอง คือเส้นทางเดินที่ดีเดินอย่างไรให้ถูกต้อง และไปให้ถึงจุดหมาย โชคดีที่ผมได้เดินมาในรั้วของ บริษัท โตโยต้าที่มีวิธีการทำงานเป็นระบบ”

  

คุณทนงศักดิ์ กล่าวถึงชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังประสบความสำเร็จว่า ณ ตอนนี้ ถือว่าตนเองมีสถานที่ทำงานที่เกินกว่าที่เคยฝันไว้มีทั้งเงินเดือนที่ดี มีโบนัส และสวัสดิการที่ดีคุณแม่มีความสุขมาก จากเดิมเป็นลูกที่แม่เป็นห่วงและกังวลมากที่สุด ก็กลายเป็นลูกที่ตอนนี้แม่สบายใจมากที่สุด สิ่งที่ได้เรียนรู้หลัก ๆ จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกันบางคนคิดว่าตนเองเก่งแล้ว เปรียบเทียบช่างก่อสร้าง 2 คน ต่างคนก็ต่างเก่ง บอกให้ไปดูงานของอีกคนนึง ก็จะไม่ไปดู คิดว่าตนเองเก่งอยู่แล้ว เลยทำ ให้เก่งอยู่ในระดับ 90 ทั้งคู่ แต่ถ้าเค้ายอมรับกันบ้าง ก็มีโอกาสได้ไปถึง 100 ซึ่งนิสัยคนไทยก็อยู่ที่ประมาณ 90 แบบนี้ครับถ้ายอมรับนับถือกัน ยอมไปดูงานของคนอื่นสักหน่อยก็น่าจะดี”

คุณทนงศักดิ์ กล่าวในตอนท้ายว่าขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมนี้ เริ่มตั้งแต่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่ทำให้เด็กไทยได้มีโอกาสออกไปแสดงศักยภาพบนเวทีโลก รวมถึงโตโยต้า ที่เป็นสปอนเซอร์สนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฝึกซ้อม และทางวิทยาลัย ที่ให้ความรู้ทำให้ผมมีศักยภาพที่ดีพอ ทำให้โตโยต้ามองเห็นว่าผมก็สามารถเป็นตัวแทนของโตโยต้าได้ รวมถึงกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่ยอมรับในโตโยต้า…