ในชีวิตการทำงานหลายท่านคงเคยตกอยู่ในสภาพที่เรื่อยเฉื่อย หรือรู้สึกว่ากำลังวิ่งถอยหลังแทนที่จะวิ่งไปข้างหน้าหรือเปล่า ผมพูดได้เลยว่าคุณไม่ได้เป็นอยู่คนเดียวแน่นอน สิ่งที่อาจจะดูย้อนแย้งก็คือ การพยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในชีวิตของเรา บ่อยครั้งอาจทำให้เราละเลยสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เช่นพลังของตัวเราเอง แม้ว่าเรื่องนี้อาจเรื่องเฉพาะสำหรับบุคคลคนใดคนหนึ่งก็ตาม แต่ก็มีผลต่อองค์กรเช่นกัน
โทนี่ ชวาทซ์ และคริสติน โปราธ เคยตั้งข้อสันนิษฐานไว้ในบทความ HBR ของตน หลังจากที่ได้ทำการสำรวจผู้คนจำนวน 19,000 คน พบว่า “พนักงานจะรู้สึกดีขึ้น ทำงานได้ดีขึ้น และยั่งยืนยิ่งขึ้น หากได้รับตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน 4 ประการได้แก่ 1) การฟื้นฟู (ทางกายภาพ) 2) คุณค่า (ทางอารมณ์) 3) การมุ่งเน้น (เรื่องจิตใจ) และ 4) จุดมุ่งหมาย (ทางจิตวิญญาณ)
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีจุดที่เชื่อมโยงกันระหว่างพนักงานที่มีความก้าวหน้าและสถานที่ทำงานที่มุ่งเน้นเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี หรือ well-being แต่กลับมีเพียง 14% ในองค์กรที่มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอันดับต้นๆ ของบริษัท นอกจากนี้ยังมีความย้อนแย้งภายในองค์กรที่พนักงานต้องเผชิญอยู่ทุกวัน ในประเด็นที่ว่าทำอย่างไรจึงจะได้ผลลัพธ์ที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้ทรัพยากรให้น้อยลง ซึ่งทั้งสององค์ประกอบนี้เป็นเสมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด และอาจนำไปสู่การขาดสมาธิในการทำงานตามมาด้วยความเหนื่อยล้าและอยากหลุดพ้นจากสภาพดังกล่าว
สิ่งจูงใจที่ชัดเจนสำหรับองค์กรโดยทั่วไป คือการลงทุนในโปรแกรมที่สร้างความเป็นอยู่ที่ดี นั่นคือ การให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แต่แค่ประเด็นนี้เพียงอย่างเดียว จะช่วยให้บรรลุการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นเรื่องยากได้หรือไม่? ในมุมมองของผมกลยุทธ์ที่ดีกว่า ควรเป็นเรื่องของความพยายามในการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นพื้นฐานให้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่หัวใจของเรื่องนี้ ซึ่งที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เรากำลังพยายามทำเรื่องดังกล่าว แต่ก็เหมือนกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอื่นๆ ที่ไม่สามารถทำได้ในชั่วข้ามคืน
ปรัชญาของชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ปัจจัยพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงสำหรับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เริ่มจากคำมั่นสัญญาเรื่องของคุณค่าที่นำเสนอให้แก่พนักงาน ในเรื่องที่พนักงานจะได้รับอิสระในการบริหารจัดการทั้งการทำงานและชีวิตส่วนตัวที่มีความแตกต่างกันในแบบฉบับของตัวเอง ทำไมเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ และมีแนวทางการปฏิบัติอย่างไรให้เห็นผล?
แนวทางตามความริเริ่ม
ในขณะที่คิดกลยุทธ์ในเรื่องเหล่านี้ เราตระหนักว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนตัวและส่วนรวม เสมือนเป็นการเดินทางที่ยาวนานและจำเป็นต้องแก้ที่พื้นฐานก่อนเป็นอันดับแรก
การฝึกอบรม
การสร้างการรับรู้และการฝึกอบรมเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) นับเป็นเรื่องสำคัญ โดยเราเริ่มต้นจากการให้ผู้นำระดับสูงของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จำนวน 2,000 ราย เข้ารับการฝึกอบรมในเรื่องความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในเรื่องดังกล่าว ซึ่งนับเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงผลักดันได้อย่างดี สุดท้ายมีพนักงานกว่า 38,000 คนที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมและสร้างการรับรู้ในเรื่องนี้
ห้องปฏิบัติการ “ความเป็นอยู่ที่ดี หรือ Well-being Labs”
อย่างที่ชื่อบอกไว้ ห้องปฏิบัติการเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทีมในการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมใหม่ๆ ที่จะเปลี่ยนวิถีการทำงาน เพราะ เราเชื่อว่าการทำสิ่งเล็กๆ ในทุกวัน สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมได้อย่างมีนัยสำคัญ
ตั้งแต่แรกเริ่ม ห้องปฏิบัติการจะถูกเรียกว่าเป็นการผจญภัยร่วมกัน ทั้งการร่วมกันออกแบบ ไปจนถึงร่วมกันลงมือปฏิบัติ เพื่อทำเรื่องนี้ให้เป็นจริงขึ้นมา จึงมีการเปิดตัวแคมเปญระดับโลกเพื่อระดมความคิดเห็น ‘crowdsourcing campaign’ ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อรวบรวมความคิดที่มีแนวโน้มว่าจะทำได้จริงเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับการใช้ชีวิตของผู้คน
ในปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการกว่า 1,000 แห่ง ที่ใช้จัดกิจกรรมอยู่ เช่น “กิจกรรมยืดความสุข” “โยคะรายสัปดาห์” “การประชุมอย่างใส่ใจ” “10,000 ก้าวต่อวัน” “พลังแห่งการงีบ” “การกำจัดการเสียเวลา” “กิจกรรมการกุศล” “5 ภาษาที่ช่วยสร้างคุณค่า” และอื่น ๆ อีกมากมาย
สถานที่ทำงานแห่งอนาคต
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค คิดเรื่องสถานที่ทำงานขึ้นใหม่ โดยมีการออกแบบที่สอดคล้องกันทั่วโลก ทั้งในทุกแง่มุมของสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ตั้ง ความง่ายในการเข้าถึง สถาปัตยกรรม โครงสร้าง การออกแบบ รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ ทั้งหมดได้ถูกนำมาคิดทบทวนใหม่ภายใต้กรอบการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้อย่างรอบคอบมากที่สุด นอกจากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังต้องให้ความมั่นคงและมีระบบรักษาปลอดภัยที่ทันสมัยที่สุดได้อย่างไร้ที่ติ อีกทั้งต้องมุ่งเน้นเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี มีนวัตกรรม ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม และให้ประสิทธิภาพการทำงาน และเมื่อสถานที่ทำงานเริ่มเข้าสู่ความมีชีวิตชีวา ทุกคนจะเข้าใจได้เองว่าทำไมสถานที่ทำงานจึงมีความสำคัญมากต่อการสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงาน และช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงในแบบที่เรามองหากัน
ภาระที่หนักอึ้ง
ความก้าวหน้าของเราด้านการสร้างพื้นฐานที่ดี ช่วยให้เราสามารถทำภารกิจที่ยากในการสร้างการเชื่อมโยงระหว่างความเป็นอยู่ที่ดีและการมีศักยภาพในการทำงาน หลักความจริงซึ่งเป็นสิ่งเรียบง่าย ก็คือหากคนทำงานไม่มีศักยภาพในการเลือกตัดสินใจเกี่ยวกับการทำงานและการใช้ชีวิต คนเหล่านี้ก็แทบจะไม่มีโอกาสในการรักษาสถานภาพความเป็นอยู่ที่ดีให้กับตัวเอง สำหรับเราที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค สิ่งเหล่านี้นับเป็นเรื่องสำคัญ ได้แก่
ความยืดหยุ่น
“ความยืดหยุ่นเป็นเรื่องส่วนบุคคล” และ “51% ของพนักงานทั้งหมดต้องการทางเลือกในการทำงานได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น” แทนที่จะให้ทางเลือกแก่พนักงานในการเลือกชั่วโมงการทำงานเอง เรากลับมุ่งเน้นที่วัฒนธรรมการทำงานที่ฉลาดด้วยการให้ความยืดหยุ่นเรื่องสถานที่ทำงาน และเวลาทำงาน รวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานร่วมกันได้อย่างยืดหยุ่น
แนวทางใหม่ในการทำงาน
“ความสามารถในการรับรู้ของคุณจะลดลงอย่างมาก เมื่อมีสมาร์ทโฟนอยู่ใกล้มือ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องอยู่ก็ตาม” ในขณะที่มีการแจ้งเตือนใดๆ เกิดขึ้นกับสมาร์ทโฟน เหมือนเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าความปรารถนาที่จะเชื่อมโยงกับโลกดิจิตอลได้บังเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงได้ออกแบบแนวทางใหม่ในการทำงานโดยคิดถึงความจริงในข้อนี้ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมที่มีประสิทธิผล และการใช้อีเมลและเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่การส่งข้อความแชทต่างๆ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่พนักงานสามารถตัดสินใจใช้ได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ผมพยายามให้พนักงานงดการประชุมแบบ virtual meeting ในช่วงเวลาที่ไม่สมควร ในกรณีที่ต้องทำงานกับบุคคลที่ไทม์โซนแตกต่างกัน
วัฒนธรรม และความเป็นผู้นำ คือเรื่องใหญ่
พฤติกรรมของผู้นำมีผลกระทบสูงสุดต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่พนักงานรู้สึกปลอดภัยและมีพลังในการทำงาน มีข่าวดีที่ว่าการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงไม่จำเป็นต้องเสียสละทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ในความเป็นจริงกลับตรงกันข้ามกันด้วยซ้ำ ซึ่งผู้นำต้องยอมรับความจริงในข้อนี้ ตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมาเคยมีการเปิดตัวโปรแกรม #FreeUpYourEnergy ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค สิ่งที่เราขอให้ผู้นำทั้งหมดทำ ก็คือการให้ศักยภาพแก่พนักงานและมีความเชื่อมั่นว่าพนักงานจะทำงานสำเร็จ พร้อมทั้งไม่ให้พยายามที่จะเข้าไปบริหารจัดการในเรื่องที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย
โดยรวมแล้ว การได้รับความคิดเห็นจากใจจริงของพนักงานพร้อมกับการรับรู้ถึงความพยายามของเราที่ได้รับจากภายนอก เป็นการชี้ให้เห็นว่าเรามุ่งหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากมาย
โดยส่วนตัวแล้ว ความเป็นอยู่ที่ดีของผมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกิดจากการผสมผสานกันในหลายด้าน ทั้งการที่องค์กรให้ความยืดหยุ่นในการทำงาน ให้ทางเลือกในการจัดการกับตารางเวลาของตัวเองได้ มีเวลาให้หยุดพักเพื่อฟื้นฟูตัวเองในช่วงที่จำเป็น และทำในสิ่งที่เติมเต็มความต้องการส่วนตัวได้ ซึ่งถ้าหากผมไม่ได้ให้ความใส่ใจกับเรื่องเหล่านี้ ก็แทบจะจัดการกับความต้องการเรื่องงานไม่ได้เลย เพราะมันเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างอนาคตให้กับบริษัทของเรา และแน่นอน เป็นเรื่องของการออกแบบกลยุทธ์และดำเนินการร่วมกับทีมเพื่อให้อยู่เหนือตลาดได้ในที่สุด จากการทุ่มเทแรงใจ ความมุ่งมั่น และความรื่นรมย์ในการทำงาน
ท้ายที่สุด ผมไม่ได้คาดหวังว่าจะได้เห็นความต้องการที่สร้างขึ้นจากสภาพแวดล้อมในเร็ววัน ดังนั้นไม่ว่าในการทำงานหรือการใช้ชีวิต ลองเปลี่ยนกฎเกณฑ์ในเกมการทำงานใหม่ และทำงานด้วยวิธีสมาร์ทขึ้นและตั้งใจทำสิ่งที่เราสามารถใช้พลังทำมันได้ดีที่สุด
# # #
Best Regards,
Thanu Ragsaphol
PR Consultant