สมุนไพรน่ารู้ อภัยภูเบศร : รางจืด ราชายาแก้พิษ

รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของเอเชีย  การใช้พื้นบ้าน เป็นยาเย็น ใช้ใบสดคั้นน้ำกินแก้ไข้ ถอนพิษ ใช้ปรุงเป็นยาเขียว รับประทานเป็นยาถอนพิษทำให้ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้หัว รากและเถารับประทานเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำแก้พิษร้อนทั้งปวง

รางจืด ช่วยต้านพิษยาฆ่าแมลง

มีฤทธิ์ต้านพิษของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออการ์โนฟอสเฟต เช่น ยาฆ่าหญ้าพาราควอต โฟลิดอล หรือเมทิลพาราไทออนได้

โดยจากการศึกษาในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง และตรวจพบระดับสารฆ่าแมลงในร่างกาย จำนวน 49 คน เมื่อให้ชารางจืดวันละ 8 กรัม เป็นเวลา 21 วัน พบว่า ปริมาณยาฆ่าแมลงในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่วันที่ 7

รางจืด ต้านพิษสุรา

ช่วยล้างพิษสุรา และช่วยแก้อาการเมาค้างได้เป็นอย่างดี ซึ่งรางจืดนั้น เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่มีการใช้มาอย่างยาวนานในพื้นบ้าน และยังมีการศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและความปลอดภัย พบว่า รางจืด นอกจากจะมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ ต้านการอักเสบ ต้านการเกิดพิษ และขับพิษสารเคมีออกจากกระแสเลือดได้แล้ว ยังสามารถต้านพิษสุราได้อีกด้วย

มีงานวิจัยในหนูทดลองยืนยันว่ารางจืดสามารถปกป้องตับและไตจากแคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนัก ที่พบได้ใน PM 2.5 โดย พบว่า รางจืด ช่วยต้านพิษสารหนู โดยการศึกษาในหนูทดลอง พบว่า สารสกัดรางจืดสามารถป้องกันความเป็นพิษต่อตับและไตจากแคดเมียมได้ รวมถึงลดพิษของตะกั่ว ซึ่งมีผลต่อความจำและการเรียนรู้ของหนู โดยรางจืดมีผลทำให้เซลล์ประสาทตายน้อยลง ด้วยกลไกการต้านออกซิเดชันโดยตัวของรางจืดเอง และการไปช่วยรักษาระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระ  จากการใช้พื้นบ้าน และงานวิจัยที่พบ รางจืดจึงอาจเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ลดความเป็นพิษของโลหะหนักจากมลภาวะ PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้

นอกจากการใช้รางจืดในรูปแบบรับประทานแล้ว การใช้ภายนอกกับผิวหนังก็ให้ผลดีในด้านต้านการแพ้ รักษาผดผื่นคัน

ข้อควรระวัง :

  • ระวังการใช้ในผู้ป่วยตับไต และไม่ควรกินติดต่อเกิน 1 เดือน เนื่องจากเป็นยาฤทธิ์เย็น
  • ยังไม่มีรายงานความปลอดภัยการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้
  • ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาอื่นอย่างต่อเนื่องเพราะยารางจืด อาจเร่งการขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกาย ทำให้ประสิทธิผลของยาลดลง (ควรทานห่างจากยาโรคประจำตัว หรือยาตามปกติอย่างน้อย 2 ชั่วโมง)
  • รางจืดอาจเสริมฤทธิ์ยาลดน้ำตาลในเลือด

ขนาดในการรับประทาน

ชนิดชาชง

รับประทานครั้งละ 2 – 3 กรัม (1 ซองชา) ชงน้ำร้อน 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการ

ชนิดแคปซูล

รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม (2 แคปซูล) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ชนิดต้มจากใบสด สามารถใช้ใบรางจืด 5-7 ใบ ล้างให้สะอาด ใส่ลงในกาน้ำที่บรรจุน้ำเกือบเต็ม ต้มจนเดือดทิ้งไว้ 15-20 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 4-5 ครั้ง

กรณีกินล้างพิษในคนปกติ แนะนำทานสัปดาห์ละ 1-2 วัน หรือหากทานต่อเนื่องทุกวันไม่ควรเกิน 14 วัน และควรทานห่างจากยาโรคประจำตัวอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คลินิกออนไลน์ https://lin.ee/47PRVjiFz

ปรึกษาสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ :  037-211289 , 087-5820597

แหล่งอ้างอิง

  1. Ruangyuttikarna W, et al. Thunbergia laurifolia leaf extract mitigates cadmium toxicity in rats. ScienceAsia 39 (2013): 19–25.
  2. พลอยไพลิน ฉัตตะวิริยะ และคณะ. การดื่มน้ำสกัดใบรางจืดช่วยป้องกันการเกิดพิษของแคดเมียมต่อไตหนูขาว. วารสารพิษวิทยาไทย 2553; 25(2)
  3. Junsi M, et al. Phenolic and flavonoid compounds in aqueous extracts of Thunbergia laurifolia leaves and their effect on the toxicity of the carbamate insecticide methomyl to murine macrophage cells. Functional Foods in Health and Disease 2017; 7(7): 529-544
  4. Phyu, M. P. and Tangpong, J. Protective effect of Thunbergia laurifolia (Linn.) on Lead induced acetylcholinesterase dysfunction and cognitive impairment in mice. Journal of Biomedicine and Biotechnology 2013: 186098.
  5. คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2561