กอปภ.ก.รายงานมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากพายุปาบึก 18 จังหวัด ภาพรวมสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว ระดมสรรพกำลังเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย

6 ม.ค. 62 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานอิทธิพลพายุโซนร้อน “ปาบึก” ส่งผลกระทบใน 18 จังหวัด รวม 90 อำเภอ 407 ตำบล 2,635 หมู่บ้าน 133 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 212,784 ครัวเรือน 696,189 คน ประชาชนยังอยู่อาศัยในศูนย์อพยพ 8 จุด รวม 1,119 คน ภาพรวมสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว ซึ่ง กอปภ.ก.ได้ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลังเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง ซ่อมแซมสาธารณูปโภคให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ รวมถึงมุ่งดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัยเป็นหลัก โดยเฉพาะการแจกจ่ายอาหาร น้ำดื่ม และถุงยังชีพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น สำหรับจังหวัดที่สถานการณ์ภัยเริ่มคลี่คลายแล้ว ให้สำรวจความเสียหายครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ผู้อำนวยการกลาง กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 3 – 5 ม.ค.62 อิทธิพลจากพายุโซนร้อน “ปาบึก” ส่งผลกระทบในพื้นที่

18 จังหวัด รวม 90 อำเภอ 407 ตำบล 2,635 หมู่บ้าน 133 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 212,784 ครัวเรือน 696,189 คน ประชาชนยังอยู่อาศัยในศูนย์อพยพ 8 จุด รวม 1,119 คน ผู้เสียชีวิต 3 ราย (นครศรีธรรมราช 2 ราย/ปัตตานี 1 ราย) ผู้สูญหายในจังหวัดปัตตานี 1 ราย แยกเป็น

 

นครศรีธรรมราช เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 23 อำเภอ ได้แก่ อ.หัวไทร อ.ปากพนัง อ.อำเภอขนอม อ.สิชล อ.ท่าศาลา อ.เมืองนครศรีธรรมราช อ.อำเภอนบพิตำ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.อำเภอทุ่งสง อ.อำเภอร่อนพิบูลย์ อ.ทุ่งใหญ่ อ.พิปูน อ.พรหมคีรี อ.ช้างกลาง อ.ถ้ำพรรณรา อ.ฉวาง อ.ลานสกา อ.พระพรหม อ.ชะอวด อ.จุฬาภรณ์ อ.เชียรใหญ่ อ.นาบอน และอ.บางขัน รวม 155 ตำบล 1,400 หมู่บ้าน 105 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 179,868 ครัวเรือน 539,847 คน ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.พิปูน อ.ช้างกลาง อ.ฉวาง และอ.ชะอวด อพยพประชาชนในพื้นที่ 5 อำเภอ (อ.ปากพนัง อ.ท่าศาลา อ.ทุ่งสง อ.ขนอม และลานสกา) โดยประชาชนยังอยู่อาศัยในศูนย์อพยพ 8 จุด รวม 1,119 คน จัดตั้งโรงครัวพระราชทานใน 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ท่าศาลา อ.เมืองนครศรีธรรมราช อ.ปากพนัง และอ.หัวไทร จัดตั้งโรงครัวประทานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ใน 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองนครศรีธรรมราช และอำเภอสิชล ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชเปิดให้บริการตามปกติแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทยประกาศหยุดเดินรถช่วงสถานี เขาชุมทอง – สถานีนครศรีธรรมราช โดยมีรถรับส่งผู้โดยสารจากสถานีนครศรีธรรมราชไปขึ้นรถไฟที่เขาชุมทอง

 

ปัตตานี เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองปัตตานี อ.ยะหริ่ง อ.ไม้แก่น อ.ปะนาเระ อ.สายบุรี อ.หนองจิก อ.มายอ อ.ทุ่งยางแดง อ.ยะรัง อ.โคกโพธิ์ และอ.กะพ้อ รวม 49 ตำบล 126 หมู่บ้าน 1 เทศบาลตำบล 3 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,245 ครัวเรือน 17,339 คน บ้านเรือนเสียหาย 594 หลัง ปัจจุบันปิดศูนย์อพยพในพื้นที่แล้วทั้ง 22 จุด

 

สุราษฎร์ธานี เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อ.ไชยา อ.ท่าชนะ อ.ดอนสัก อ.พะงัน อ.บ้านาเดิม อ.พุนพิน อ.เกาะสมุย อ.เมืองสุราษฎร์ธานี อ.กาญจนดิษฐ์ อ.นาสาร  และอ.พระแสง รวม 48 ตำบล 260 หมู่บ้าน 25 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,791 ครัวเรือน 11,013 คน บ้านเรือนเสียหาย 19 หลัง ปัจจุบันปิดศูนย์อพยพในพื้นที่แล้วทั้ง 27 จุด

 

สงขลา เกิดวาตภัยและคลื่นซัดชายฝั่งในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.สิงหนคร อ.ระโนด อ.สทิงพระ และอ.จะนะ รวม 41 ตำบล 251 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,630 ครัวเรือน 71,250 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2,129 หลัง ถนนเสียหาย 5 สาย ปัจจุบันปิดศูนย์อพยพแล้วทั้ง 56 จุด

นราธิวาส เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองนราธิวาส อ.ยี่งอ อ.บาเจาะ อ.รือเสาะ และอ.ศรีสาคร รวม 15 ตำบล 75 หมู่บ้าน 1 เทศบาลตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,513 ครัวเรือน 7,062 คน สถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

 

ชุมพร เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.ละแม อ.หลังสวน อ.สวี อ.ทุ่งตะโก อ.เมืองชุมพร และอ.ปะทิว รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้านประชาชนได้รับผลกระทบ 2,121 คน สถานการณ์ปัจจุบันเกิดน้ำไหลหลากจากคลองชุมพรเข้าท่วมอำเภอเมืองชุมพร

 

ตรัง เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.รัษฎา และอ.ห้วยยอด รวม 9 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,595 ครัวเรือน 8,419 คน

 

พัทลุง เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เขาชัยสน อ.ควนขนุน อ.เมืองพัทลุง อ.ตะโหมด อ.บางแก้ว และอ.ศรีบรรพต รวม 36 ตำบล 326 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,067 ครัวเรือน 37,620 คน สถานการณ์ภัยเริ่มคลี่คลายแล้ว ปัจจุบันปิดศูนย์อพยพแล้ว

 

 

 

ระนอง เกิดน้ำไหลหลากในอำเภอกระบุรี รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 18 คน สะพาน 1 แห่ง ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ

 

กระบี่ เกิดอุทกภัยในอำเภอเขาพนม รวม 6 ตำบล 54 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย สถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ

 

ยะลา เกิดน้ำท่วมขังในอำเภอเมืองยะลา รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ปัจจุบันปิดศูนย์อพยพแล้วทั้ง 27 จุด

 

เพชรบุรี เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในอำเภอเมืองเพชรบุรี รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20 ครัวเรือน

 

ประจวบคีรีขันธ์ เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.บางสะพาน อ.กุยบุรี อ.ทับสะแก อ.สามร้อยยอด และอ.บางสะพานน้อย รวม 9 ตำบล 22 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 297 ครัวเรือน 1,500 คน บ้านเรือนเสียหาย 77 หลัง  ผู้บาดเจ็บ  2 ราย เตรียมอพยพประชาชนไปยังศูนย์อพยพ อบต.แม่รำพึง 1 จุด 40 ครัวเรือน

 

จันทบุรี เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.แหลมสิงห์ อ.นายายอาม และอ.ท่าใหม่ รวม 7 ตำบล 27 หมู่บ้านอยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

 

ตราด เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองตราด อ.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ และ อ.เกาะช้างรวม 9 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 69 ครัวเรือน

 

ระยอง เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.แกลง อ.บ้านฉาง และอ.เมืองระยอง รวม 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

 

สมุทรสาคร เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในอำเภอเมืองสมุทรสาคร รวม 5 ตำบล 6 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 689 ครัวเรือน

 

สมุทรสงคราม เกิดน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสมุทรสงคราม และอ.อัมพวา รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

 

ทั้งนี้ กอปภ.ก โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเจ้าหน้าที่ พร้อมระดมวัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและคลี่คลายสถานการณ์ภัย โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกเครื่องส่งสูบน้ำระยะไกลเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง อีกทั้งซ่อมแซมสาธารณูปโภค โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว รวมถึงดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประภัย โดยแจกจ่ายอาหาร น้ำดื่ม และถุงยังชีพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่พร้อมรถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยให้บริการขนย้ายสิ่งของและอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน สำหรับจังหวัดที่สถานการณ์ภัยเริ่มคลี่คลายแล้ว ให้สำรวจความเสียหายครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป พร้อมเร่งฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป