“ขมิ้นชัน” มีสารออกฤทธิ์เคอร์คิวมินอยด์ ซึ่งจัดเป็น ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ประกอบด้วย เคอร์คิวมิน (curucmin) ดีเม็ทธอกซีเคอร์คิวมิน (demethoxycurcumin) และบิส-ดีเม็ทธอกซีเคอร์คิวมิน (bis-demethoxycurcumin) มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidant) ต้านการอักเสบ (anti-inflammation)
ขมิ้นชันเป็นเครื่องเทศที่ถูกใช้เป็นอาหารของคนเอเชียมาช้านานหลายพันปี โดยขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมินที่มีฤทธิ์โดดเด่นในการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่ดีมาก ฤทธิ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการป้องกันการถูกทำลายของปอดจากกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นในหลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอด
มีข้อมูลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคแกงที่มีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบกับการทำงานของปอดในประชากรผู้สูงอายุชาวจีนจำนวน 2,478 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า การบริโภคแกงที่มีขมิ้นชัน (อย่างน้อยเดือนละครั้ง) ทำให้สมรรถภาพของปอดดีขึ้น และยิ่งบริโภคแกงที่มีขมิ้นชันบ่อย สมรรถภาพของปอดก็ยิ่งสูงมากขึ้น
สำหรับขนาดที่แนะนำ มีข้อมูลการใช้ขมิ้นชัน ปริมาณเฉลี่ยที่คนอินเดียกินขมิ้นชันอยู่ในมื้ออาหารจะอยู่วันละ 125 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นวันละครึ่งช้อนชา อีกรูปแบบที่สามารถใช้ได้สะดวก คือรูปแบบของแบบแคปซูล แนะนำรับประทานวันละ 1-2 แคปซูล หลังอาหารมื้อใดก็ได้ รับประทานต่อเนื่องได้ 3 เดือน (เว้น 1 เดือน หากจะกลับมารับประทานใหม่)
ห้ามใช้ขมิ้นชันในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน สำหรับผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี หากจะใช้ขมิ้นชันให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ หากตัดถุงน้ำดีทิ้งแล้วสามารถใช้ขมิ้นชันได้
ตัวอย่างเมนูที่มีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบ ที่แนะนำ เช่น แกงส้มปักษ์ใต้ แกงเหลือง ไก่ต้มขมิ้น ปลาทูต้มขมิ้น เป็นต้น และมีการศึกษาพบว่า หากกินขมิ้นชันพร้อมกับพริกไทย จะส่งผลให้การดูดซึมขมิ้นชันเพิ่มขึ้น
สรรพคุณทางยาอื่นๆของขมิ้นชัน
– รักษาโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน โรคลำไส้อักเสบ(IBD)
– ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– บรรเทาอาการภูมิแพ้
– ต้านอนุมูลอิสระ
– ป้องกันอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
– ป้องกันมะเร็ง
– ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
-ลดอาการแพ้ ลดผื่นคัน
– ต้านการอักแสบ
– สมานผิว บำรุงผิว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
– คลินิกออนไลน์ https://lin.ee/47PRVjiFz
– ปรึกษาสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ : 037-211289 , 087-5820597