วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้ นายธงชัย เจริญพานิชย์กุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรคการดำเนินการ และให้กำลังใจ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต.) ตลอดจนการดำเนินงานตามโครงการฯ แก่ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา พช. ในพื้นที่เมืองจันทร์และอำเภอห้วยทับทัน ซึ่งเป็นการลงพื้นที่ครั้งที่ 4 จำนวน 2 อำเภอ จากแผนปฏิบัติงานการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโคกหนองนา พช. ใน 22 อำเภอ
ในการนี้ นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ นางสาวธนพร ขจิตเวทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน มอบหมาย นายบุญธรรม จำปาสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน (นักวิชาการฯผู้รับผิดชอบอำเภอห้วยทับทัน) นางณัฏฐ์ ตั้งพิทักษ์ไกร นักวิชาการฯผู้รับผิดชอบอำเภอเมืองจันทร์ นายอัศวณัฐฏ์ ชิณพันธ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ผู้รับผิดชอบงานโคกหนองนา พช. จังหวัดศรีสะเกษ และนางธีรดา ศิริบูรณ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ ร่วมรับการตรวจติดตามและสนับสนุนข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการโคก หนอง นา พช. ของจังหวัดศรีสะเกษด้วย
การลงพื้นที่ติดตามในครั้งที่ 4 นี้เริ่มที่ พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบ นางนารี เหลาคำ 48 หมู่ที่ 3 บ้านวัด ต.ตาโกน อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีนายอิศรา โพธิ์เงิน นายอำเภอเมืองจันทร์ พร้อมด้วยนางอรัญญา ใยแสง พัฒนาการอำเภอเมืองจันทร์ พร้อมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ(นพต.) ให้การต้อนรับและรายงานผลการขับเคลื่อนโคก หนอง นา พช. ในระดับพื้นที่อำเภอ ดังนี้ อำเภอเมืองจันทร์ ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนา คุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคกหนองนา พช. จำแนกตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร คือ
1) โคกหนองนา พช.ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (งบลงทุน)
เป็นพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 14 แปลง พัฒนาพื้นที่เรียบร้อยทั้ง 12 แปลง คิดเป็นร้อยละ 85.71 เบิกจ่ายแล้ว 3 แปลง เป็นเงิน 245,600 บาท คิดเป็นร้อยละ 21.87 และอีก 9 แปลง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารเบิกจ่ายงบประมาณ
2) โคกหนองนา พช. งบยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนฯ ได้รับการจัดสรร 2 แปลง เป็นพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 2 แปลง เบิกจ่ายแล้ว 2 แปลง เป็นเงิน 139,390 บาท คิดเป็นร้อยละ 100% การลงพื้นที่ติดตาม โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา พช พื้นที่
นางนารี เหลาคำ ครัวเรือนต้นแบบฯอำเภอเมืองจันทร์ ได้แสดงความรู้สึกขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชนที่เข้ามาขับเคลื่อน เติมเต็มในส่วนที่ต้องการ การขับเคลื่อนนับจากนี้คือการเติมเต็มในส่วนไม้ผล การเติมระบบโซล่าเซลล์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ที่จะช่วยให้พื้นที่เรียนรู้แห่งนี้ซึ่งมีการปลูกพืชผัก หลากหลายอยู่แล้ว และยังเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ให้สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ให้คนในชุมชนต่อไป ช่วยเหลือให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ซึ่งขณะนี้ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอก 4 ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี พึ่งพาตนเองได้ในวิกฤติการณ์เช่นนี้ ตนดีใจเป็นอย่างมากที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ และอนาคตหวังพื้นที่แห่งนี้จะสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบศูนย์เรียนรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ ต่อไป อีกทั้งรู้สึกพึงพอใจกับการพัฒนาพื้นที่โครงการ โคก หนอง นา พช.ซึ่งตนเข้าร่วมโครงการฯ 3 ไร่ ขุดเสร็จแล้วสวยงาม ทำให้รู้สึกดีใจมากๆ ที่สามารถจะบริหารจัดการเนื้อที่ได้ ทั้งยังสามารถปลูกพืช ผักได้อย่างหลากหลาย
นายธงชัย เจริญพานิชย์กุล ได้ให้แนวคิดเพิ่มเติมแก่ครัวเรือนต้นแบบ นางนารี เหลาคำ และผู้เข้าร่วมรับการตรวจติดตามว่า จะเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ครัวเรือนต้นแบบต้องมีส่วนร่วมขับเคลื่อนให้ประสพความสำเร็จ ราชการช่วยในเรื่องที่เกินกำลังของครัวเรือน ไม่ใช้ราชการหาให้ทั้งหมด และได้ให้ข้อเสนอแนะการใช้ระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์โดยไม่ต้องรอรับการสนับสนุนฯ และกล่าวชื่นชม ทีมงานอำเภอเมืองจันทร์ และลูกๆ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ที่มาคอยให้คำปรึกษา สนับสนุน ช่วยออกแบบพื้นที่ และอื่นๆ อีกมากมายรวมถึงชื่นชม ครัวเรือนต้นแบบ ที่สามารถนำความรู้ที่ผ่านการฝึกอบรมฯ 4 คืน 5 วัน มาผสมผสานกับความรู้และประสบการณ์ของตนเอง ปรับใช้ในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
หลังจากนั้นได้เดินทางติดตามการดำเนินงานโครงการโคกหนองนา พช. อำเภอห้วยทับทันพื้นที่ต้นแบบฯ นายสมหมาย บุญโต บ้านกอเลา หมู่ที่ 2 ตำบลปราสาท อ.ห้วยทับทัน โดยมีนายอำเภอห้วยทับทัน นายศราวุธ ทรงโฉม พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน นางสาวศิริพร อ่อนละออ เจ้าหน้าพัฒนาชุมชน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต.) รายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการโคกหนองนา พช. ในพื้นที่อำเภอห้วยทับทัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) โคก หนอง นา พช. ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 27 แปลง จำแนกเป็น พื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 9 แปลง/ครัวเรือน งบประมาณ 406,800 บาท พื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 18 แปลง/ครัวเรือน งบประมาณ 1,872,000 บาท ขุดปรับพื้นที่แล้วเสร็จครบ ทั้ง 27 แปลง และอยู่ระหว่างดำเนินการส่งหลักฐานการเบิกจ่ายให้จังหวัด
2) โคกหนองนา พช. งบยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนฯ ได้รับการจัดสรร 11 แปลง/ครัวเรือน เป็นพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 7 แปลง/ครัวเรือน งบประมาณ 316,400 บาท และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 4 แปลง/ครัวเรือน งบประมาณ 416,000 บาท ทำสัญญาจ้าง ขุดปรับพื้นที่แล้วเสร็จครบ ทั้ง 11 แปลง และอยู่ระหว่างดำเนินการส่งหลักฐานการเบิกจ่ายให้จังหวัด
นายสมหมาย บุญโต ครัวเรือนต้นแบบฯ ข้าราชการครูบำนาญ ได้กล่าวขอบคุณ กรมการพัฒนาชุมชนที่ให้โอกาสเข้าร่วมโครงการฯ และกล่าวต่ออีกว่า เดิมตนเป็นคนรักต้นไม้ แปลงที่เข้าร่วมโครงการฯ 3 ไร่ ใช้แบบมาตรฐาน มาเติมเต็มแปลงเดิมที่ตนทำเป็นศูนย์เรียนรู้ให้ลูกศิษย์ และคนในชุมชน โดยปลูกไผ่ 120 กอ สร้างรายได้เดิมอยู่แล้วปีละ 5 หมื่นบาทนอกเหนือจากที่แจกจ่าย และยังปลูกยางนากว่า 800 ต้น ถือว่าเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเป็นอย่างดี ตอนนี้ตนเกษียณเป็นข้าราชการบำนาญแล้วเป้าหมายที่ตั้งไว้คือจะทำให้ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เป็นคลังอาหาร แหล่งแจกจ่ายพันธุ์ไม้ให้ผู้ที่สนใจ และตั้งใจจะนำความรู้ ประสบการณ์ที่ตนมีถ่ายทอดให้คนภายนอกอย่างเต็มที่
นายธงชัย เจริญพานิชย์กุล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการตรวจติดตามการดำเนินโครงการโคกหนองนา พช. ครั้งนี้ได้รับมอบหมาย จากนายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้เสนอโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” เป็นการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ โคก หนอง นา โมเดล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนพึ่งตนเองได้
พัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข
กรมการพัฒนาชุมชน : รายงาน