• ในปี 2562 คปภ. จะมุ่งพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมประกันภัยให้เป็นภูมิคุ้มกันของประเทศในการบริหารความ เสี่ยงเพื่อให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ปี 2562 สำนักงาน คปภ. ได้ประกาศทิศทางนโยบายการกำกับดูแลอุตสาหกรรมประกันภัย มุ่งพัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมประกันภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ด้วยการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมประกันภัยให้มีมาตรฐาน ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมประกันภัย ควบคู่กับการกำกับดูแลและตรวจสอบอย่างสมดุลที่ไม่เพิ่มภาระให้ผู้ประกอบการ แต่ยังคงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านประกันภัย “นอกจากนี้จะยกระดับศักยภาพองค์กร” ให้มีบุคลากรที่มีศักยภาพและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มประ สิทธิภาพการกำกับ ตรวจสอบ และบริการประชาชน รวมทั้งยังให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างการให้ความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยเชิงรุกเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากระบบประกันภัยอย่างเต็มที่และสามารถนำระบบประกันภัยมาช่วยในการบริหารความเสี่ยงต่างๆให้กับประชาชนตามน โยบายของรัฐบาล ผ่าน 3 พันธกิจที่สำคัญ (1) พัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีความเข้มแข็งมั่นคง (2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยมีบทบาท สร้างเสริมความเข้มแข็ง มั่นคงให้กับระบบเศรษฐกิจสังคมของประเทศ และ (3) คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัยให้ได้รับความเป็นธรรมจากการประกันภัย โดยจะขับเคลื่อนผ่านกลยุทธ์ 5 ด้าน ดังนี้
- ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยแบบใหม่ๆ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องของตลาดและเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและเสถียรภาพให้ระบบประกันภัยของประเทศ ตลอดจนปรับโฉมกระบวนการให้ความเห็นชอบแบบกรมธรรม์ประกันภัยให้มีประสิทธิภาพสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ตลอดจนยกเลิกกฎระเบียบที่ล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัย
- พัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานและระบบงานของ สำนักงาน คปภ. เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจมีความรวดเร็ว คุ้มค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร
- สร้างและขยายเครือข่ายพันธมิตรและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมประกันภัยเพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตและสภาพคล่องของภาคอุตสาหกรรม
- พัฒนาระบบการกำกับและตรวจสอบด้านเสถียรภาพแบบสมดุล โดยเน้นบทบาทในการให้คำแนะนำเพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถพัฒนา เติบโตและอยู่รอดในกระแส digital disruption ขณะเดียวกันก็จะยังให้ความสำคัญในการดูแลเรื่อง market conduct และการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อระบบประกันภัย
- พัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีและฐานข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบประกันภัยของประเทศให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. คาดการณ์ว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังคงมีปัจจัยสนับสนุนทางด้านบวก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทิศทางการค้าการผลิตและการลงทุนระหว่างประเทศ ที่จะส่งผลให้การส่งออกยังคงมีแนวโน้มขยายตัว อยู่ในเกณฑ์ดีและการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนตามแนวโน้มการเร่งตัวขึ้นของการลงทุนภาครัฐ และการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังมีแนวโน้มการขยายตัวที่อยู่ในเกณฑ์ดี พร้อมทั้งแรงขับเคลื่อนจากภาคการท่องเที่ยวที่มีทิศทางเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คาดการณ์แนวโน้มสิ้นปี 2562 จะมีเบี้ยประกันภัยรวมทั้งปีประมาณ 904,550 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 4.9 – 5.9 ประมาณการเบี้ยประกันชีวิตจำนวน 664,354 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5 – 6 และประมาณการเบี้ยประกันวินาศภัย จำนวน 240,197 ล้านบาท เติบโต ร้อยละ 4.7 – 5.7
เลขาธิการ คปภ. กล่าวต่อว่า ปี 2561 ถือเป็นก้าวแรกในการเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 ของสำนักงาน คปภ. ซึ่งได้ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และนโยบายที่กำหนดโดยคณะกรรมการ คปภ. ที่มุ่งเน้นการกำกับดูแลและ ส่งเสริมพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส น่าเชื่อถือ และคุ้ม ครองประชาชน ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากการประกันภัยอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและครบถ้วน นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ยังกำหนดให้เป็นปีแห่ง “การขับเคลื่อนนวัตกรรมประกันภัย” ซึ่งได้มุ่งเน้นดำเนินการเชิงรุกในเรื่องการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีประกันภัย โดยนำนวัตกรรมมาต่อยอดเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมประกันภัยและส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านประกันภัยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม ควบคู่กับดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2559-2563) ซึ่งแม้ว่ามีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัย ประกอบด้วย เศรษฐกิจมหภาคผลกระทบของทิศทางโลก นโยบายประเทศไทย 4.0 ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งภัยคุกคาม ทางด้านไซเบอร์ (Cybercrime) ที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบประกันภัย แต่ภาพรวมภาวะธุรกิจประกันภัยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น เมื่อสิ้นปี 2561 อุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบจะมีเบี้ยประกันภัย รวมทั้งปีประมาณ 862,068 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5.30 แบ่งเป็นเบี้ยประกัน ชีวิตจำนวน 632,567 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5.38 และเบี้ยประกันวินาศภัย จำนวน 229,500 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5.07 โดยสามารถวิเคราะห์ได้จาก อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัยตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน ปี 2561 มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง จำนวน 630,422 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 460,898 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.92 โดยเป็นเบี้ยประกันชีวิตปีแรกจำนวน 77,348 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.3 เบี้ยประกันชีวิตปีต่อไปจำนวน 327,773 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.47 และเบี้ยประกันชีวิตจ่ายครั้งเดียวจำนวน 50,720 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.14 และสำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยมีเบี้ย ประกันภัยรับโดยตรง จำนวน 169,524 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.05 จากการประกันอัคคีภัยจำนวน 7,850 ล้านบาท การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง จำนวน 4,192 ล้านบาท การประกันภัยรถจำนวน 99,802 ล้านบาท และการประกันภัยเบ็ดเตล็ดจำนวน 57,680 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธุรกิจประกันภัยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้นจำนวน 3,904,948 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.39 สินทรัพย์ลงทุนจำนวน 3,560,583 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 2.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นสินทรัพย์ของธุรกิจประกันชีวิตจำนวน 3,439,578 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.72 สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ลงทุนจำนวน 3,233,813 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 94.02 ของสินทรัพย์รวม สำหรับอัตราส่วนสินทรัพย์ลงทุนต่อเงินสำรอง ของธุรกิจประกันชีวิต ณ สิ้นเดือนกันยายน 2561 มีค่าร้อยละ 123.76 แสดงให้เห็นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีสินทรัพย์ลงทุนเพียงพอต่อหนี้สินผู้เอาประกันภัย สำหรับสินทรัพย์ของธุรกิจประกันวินาศภัยจำนวน 465,369 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.04 สินทรัพย์ ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ลงทุนจำนวน 326,770 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.22 ของสินทรัพย์รวม
สำหรับทิศทางและนโยบายในการดำเนินงานของ สำนักงานคปภ. ในรายละเอียดเพิ่มเติมมีดังนี้
- ในด้านนโยบาย ดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และขับเคลื่อนภารกิจตามแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “สำนักงาน คปภ. เป็นหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยที่เป็นภูมิคุ้มกันของประเทศในการบริหารความเสี่ยง ให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรายย่อย (Microinsurance) กรมธรรม์ประกันสุขภาพ กรมธรรม์ประกันภัยพืชผล กรมธรรม์ PA ที่รองรับนโยบายภาครัฐ : กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุสำหรับนักท่องเที่ยวขับเคลื่อน Regulatory Reform หรือ Regulatory Guillotine และเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบ รวมถึงการพัฒนากรอบการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงระยะที่ 2 (RBC 2) และการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงินของบริษัท
- ส่งเสริมอุตสาหกรรมประกันภัย โดยเดินหน้ามาตรการที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ ผ่อนคลายการกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยและอัตราเบี้ยประกันภัย เพื่อลดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์ประกันภัย เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินไหมทดแทนด้านการประกันภัย (Service Level Agreement : SLA) ส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่ๆ เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงทางการเกษตรปศุสัตว์และประมง พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางด้านการประกันภัย (Insurance Bureau System) สนับสนุนให้ภาคธุรกิจประกันภัยเข้าร่วมโครงการ Insurance Regulatory Sandbox พร้อมศึกษาแนวทางการกำกับดูแลธุรกิจให้สอดรับกับนวัตกรรมด้านการประกันภัยใน Sandbox ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมประกันภัยไทยจากโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของธุรกิจประกันภัยและใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เสถียรภาพของระบบประกันภัยไทย สนับสนุนความร่วมมือด้านการยกระดับความพร้อมรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ ปรับปรุงระบบขอรับความเห็นชอบอัตราเบี้ยประกันภัย แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ สำนักงาน คปภ. และธุรกิจประกันภัยไทย เพื่อเตรียมจัดทำแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 : Landscape ของอุตสาหกรรมประกันภัยไทย กรอบแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 สร้างแบบจำลองการประเมินความเสี่ยงทางด้านมหันตภัยต่อธุรกิจประกันวินาศภัยใน ประเทศไทย (Flood Model) ส่งเสริมให้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านศูนย์ Center of InsurTech,Thailand (CIT) พัฒนาระบบ E-Claim Gateway เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการค่าสินไหมทดแทนกรณีประกันภัยรถยนต์และลดค่าใช้จ่ายให้กับภาคธุรกิจประกันภัย
- ส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยเชิงรุกและปรับปรุงกลไกการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยให้กับประชาชนรณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัว และให้ความสำคัญในการทำประกันภัยรถภาคบังคับ พัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนงานด้านคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย จัดทำระบบตลาดกลางสำหรับการขายกรมธรรม์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Insurance Market) เพิ่มศักยภาพการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของธุรกิจประกันภัย : เข้าตรวจสอบบริษัทประกันภัยตามแผนการตรวจสอบประจำปีรวมถึงกำกับและตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบของนายหน้านิติบุคคล
- เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของ สำนักงาน คปภ. เพื่อปูทางปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ SMART OIC ภายใต้แนวคิด Organization Transformation Model พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของ สำนักงาน คปภ. ภาคธุรกิจประกันภัยและให้บริการประชาชน พัฒนา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนกระบวนการทำงาน นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. จะขับเคลื่อนการประกันภัยรถผ่านแดนอย่างจริงจังในทุกมิติ โดยจะมีการแต่งตั้งบุคลากรของ สำนักงาน คปภ. เพื่อติดตามและขับเคลื่อนเรื่องนี้โดยตรงและผลักดันให้มีการพัฒนาประกันภัยรถผ่านแดนจากเดิมที่ใช้บัตรบลูการ์ดเป็นบัตรบลูการ์ดดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการด้านประกันภัยให้กับรถผ่านแดนในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นต้น