วันที่ 18 มิถุนายน 2564 นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายฤทธิสรรค์ เทพพิทักษ์ นายอำเภอพิบูลมังสาหาร พร้อมด้วย นางพัชรินทร์ ธรรมสาร พัฒนาการอำเภอพิบูลมังสาหาร เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ผู้นำชุมชน ครัวเรือนเป้าหมาย และเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา พช.” และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ตำบลโนนกลาง และตำบลอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร เข้าร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ และแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน
โดยกิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ในการน้อมนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ชนบท ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดทฤษฎีใหม่เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความสุข ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม การพึ่งพาตนเอง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการตนเองและชุมชนให้มีความสุขได้อย่างยั่งยืน
ในเวลา 10.00 น. คณะฯ ได้ตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” แปลง HLM ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ ของนางดวงแก้ว บัวใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านหนองไฮ ตำบลโนนกลาง โดยนายอำเภอพิบูลมังสาหาร ได้ทำการปลูกต้นกล้วย เพื่อเป็นศิริมงคลให้กับครอบครัว ตลอดจนพัฒนาการอำเภอพิบูลมังสาหาร ได้ร่วมปลูกต้นพะยูงด้วย
ต่อมาเวลา 10.30 น. นายอำเภอพิบูลมังสาหาร และคณะฯ ได้ร่วมติดตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” แปลง HLM ของนายสมพร วัฒนา ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านโดมประดิษฐ์ ตำบลโนนกลาง โดยนายอำเภอพิบูลมังสาหาร ได้แนะนำถึงการดำเนินการ โคก หนองนา กรมการพัฒนาชุมชนและการขุดคลองใส้ไก่ ของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งอยู่ติดกันว่าต้องบูรณาการแบบแปลงนี้
ปิดท้ายในเวลา 11.30 น. นายอำเภอพิบูลมังสาร และคณะฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ณ แปลง HLM ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ ของนายศัตวรรต นันทะโคตร หมู่ที่ 1 ตำบลโนนกลาง ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมปล่อยปลา ซึ่งเป็นปลาตะเพียน ที่ทางเจ้าของแปลงได้จัดเตรียมไว้ / กิจกรรมปลูกต้นไม้ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ได้จัดสรรคจากกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ที่ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการ / กิจกรรมหว่านข้าว ไถกลบ เพื่อปลูกข้าวไว้กิน / กิจกรรมแจ้งและชี้แจงแผนการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย เมื่อการขุดโคก หนอง นา เสร็จสิ้น
ซึ่งประกอบด้วยภาคีเครือข่ายหลายหน่วยงาน เช่น ประมงอำเภอ ซึ่งจะดำเนินการบรรจุแผนเพื่อสนับสนุนพันธุ์ปลาในปีที่ 2 และให้ความรู้ในปีแรก ส่วนเกษตรอำเภอ จะให้คำแนะนำเรื่องการปลูกพืช และลงทะเบียนเกษตร พร้อมแนวทางการสนับสนุน ปศุสัตว์ ก็มีแนวทางในการสนับสนุน จากหน่วยงานภาคีที่อยู่ใกล้เคียง พร้อมกันนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกลาง ได้ชี้แจงในเรื่องการให้ความร่วมมือ และการสนับสนุนโครงการโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” รวมถึงบุคคลากรที่มาช่วยเรื่องการควบคุมงานขุดด้วย
โอกาสนี้ นายอำเภอพิบูลมังสาหาร ได้พบปะกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่า “ขอชื่นชมการดำเนินงานเอามื้อสามัคคีในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนถิ่น และการช่วยเหลือเกื้อกูล โดยในอนาคตพื้นที่แห่งนี้ จะเป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาชุมชนให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนในชุมชนมีความรักสามัคคี เป็นสังคมแห่งความเกื้อกูล เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.”
ซึ่งเป็นน้อมนำเอาแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาสืบสาน รักษา ต่อยอด และสามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในการพึ่งตนเองและสร้างทางรอดในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผมมุ่งหวังให้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” นั้น จะเป็นการจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ ซึ่ง โคก หนอง นา เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โอกาสนี้ กับให้กำลังใจทีมงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิบูลมังสาหารทุกคนที่ทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ในวันนี้” นายฤทธิสรรค์ กล่าวด้วยความยินดี
อุบลราชธานี เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี : งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิบูลมังสาหาร ภาพข่าว/รายงาน