“น้ำยืน มีน้ำใช้ อย่างยั่งยืน” พช. เร่งตรวจรับงาน “โคก หนอง นา พช.” ในพื้นที่ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี สานต่อแนวพระราชดำริ และนำความอุดมสมบูรณ์ไปสู่พี่น้องประชาชน
วันที่ 16 มิถุนายน 2564 ภายใต้การอำนวยการของ นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี นำโดย นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นางสาวนันท์นภัส สุวรรณา พัฒนาการอำเภอน้ำยืน มอบหมายเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบ นายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และคณะกรรมการตรวจรับงาน ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ในพื้นที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้ คณะฯ ได้ตรวจรับงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” แปลง ตัวอย่างพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือน (Househole Lab Model for quality oflife:HLM) จำนวน 2 แปลง ประกอบด้วย แปลง HLM“โคก หนอง นา พช.” ของนางสงวนจิตร แสนสุข ที่ตั้งแปลง หมู่ที่ 3 ต.ยาง อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี พื้นที่สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 3 ไร่ แบบที่ใช้ 1:3 ประเภทดินร่วนปนทราย ซึ่งนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ตำบลยาง ได้ปฏิบัติภารกิจตามโครงการฯ โดยแบ่งทีมเพาะชำต้นกล้าผัก ในแปลงดังกล่าวด้วย
จากนั้น คณะ ได้ตรวจเยี่ยม แปลง HLM “โคก หนอง นา พช.” ของนางสมแปลง กาญจนพัฒน์ ที่ตั้งแปลง หมู่ที่ 5 ต.ยาง อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี พื้นที่สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 1 ไร่ แบบที่ใช้ 1:1 ประเภทดินร่วนปนทราย ซึ่ง นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ได้ปฏิบัติภารกิจตามโครงการฯ ลงพื้นที่ตรวจการขุดสระแปลง HLM และปลูกบ้านพักให้ นพต.ใช้หลบแดดฝน และไว้ใช้ประชุมแผนงาน รวมถึงปลูกกระเพา โหระพา และเพาะชำไว้ในกระสอบ เพื่อเตรียมมอบภาคีเครือข่ายในการเอามื้อสามัคคีด้วย
โดยผลการตรวจรับงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งเจ้าของแปลงทั้งสองแปลงมีความพึงพอใจและเปิดเผยว่า “ขอบคุณรัฐบาล กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด อำเภอ ส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่ได้ช่วยเหลือ และสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ที่มีประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมากในครั้งนี้ ตนรู้สึกดีใจและมีความสุขได้ที่เข้าร่วมโครงการฯ นี้มาก เพราะมีโอกาสเข้ารับการอบรม และขุดปรับพื้นที่แปลงตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน และหลักกสิกรรมธรรมชาติ เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งในแปลงของตนนั้น ถือว่าเหมาะที่จะขับเคลื่อน โคก หนอง นา เกษตรทฤษฎีใหม่ และเชื่อว่าการขุดสระเพื่อเก็บน้ำจะทำให้สามารถมีน้ำใช้อย่างยั่งยืน เหมือนกับชื่ออำเภอของเรา และเพียงพอตลอดทั้งปี ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกครั้ง โดยเฉพาะกรมการพัฒนาชุมชน และรัฐบาล ที่นำงบประมาณมาช่วยเหลือและสนับสนุนพี่น้องประชาชน ในยามที่กำลังประสบปัญหาจากภัยโควิด-19 ให้สามารถพึ่งตนเองและเลี้ยงชีพได้อย่างยั่งยืน สามารถลดการพึ่งพาจากภายนอก“
จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการอนุมัติงบประมาณเงินกู้จากทางรัฐบาล ผ่านกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” จำนวน 576,592,500 บาท โดยมีพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดฯ ทั้งสิ้น 3,960 แห่ง ถือว่ามากที่สุดในประเทศไทย เเบ่งเป็นพื้นที่ระดับตำบล (CLM) : 68 แห่ง เเละพื้นที่ระดับครัวเรือน (HLM) : 3,892 แห่ง เเละโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่เรียนรู้ชุมชน จำนวน 791 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ 1 ไร่ 620 แห่ง และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 171 แห่ง ในส่วนของอำเภอน้ำยืน มีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” แยกเป็นงบพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่ 1 ไร่ 10 แปลง และพื้นที่ 3 ไร่ 17 รวม 27 แปลง งบเงินกู้รัฐบาล แปลง HLM 17 (พื้นที่ 1 ไร่ 9 แปลง, พื้นที่ 3 ไร่ 8 แปลง ) เเละ CLM พื้นที่ 15 ไร่ 6 แปลง และมีการจ้างงานนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ จำนวน 62 คน โดยได้รับงบประมาณโครงการฯ ขุดปรับพื้นที่ ตามกิจกรรมที่ 2 รวม 1,538,800 บาท และมีความคืบหน้าในการดำเนินการจัดทำสัญญา PO แล้ว 1,418,800 คิดเป็นร้อยละ 92.20 (ข้อมูลวันที่ 15 มิถุนายน 2564)
โอกาสนี้ คณะตรวจติดตามสนับสนุน ได้พบปะกับเจ้าของแปลงและคณะทำงานที่ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการฯ พร้อมชื่นชมแปลงที่ดำเนินการได้แล้วเสร็จ มีน้ำใช้และอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี เป็นไปตามแนวพระราชดำริ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการสืบสาน รักษา ต่อยอดสู่ในหลวงรัชกาลที่ 10 รวมถึงหลักกสิกรรมธรรมชาติ และระยะเวลาที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด หากมีเหตุขัดข้องหรือข้อสงสัย ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยทันที เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน เพื่อให้โครงการฯ สามารถดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชนโดยเร็ว และมีแปลงตัวอย่างที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบแก่คนในพื้นที่ โดยเฉพาะการพึ่งตนเองและสร้างทางรอดในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบัน
อุบลราชธานี เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี : งานประชาสัมพันธ์ สพจ.อุบลราชธานี และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอน้ำยืน ภาพข่าว/รายงาน