พช.อุบลฯ ผนึกกำลัง ช่าง อปท. เดินหน้าสนับสนุน “โคก หนอง นา พช.” ในพื้นที่ อ.สิรินธร และเตรียมพร้อมอำนวยความสะดวกแก่คณะตรวจสอบ โดยเน้นความถูกต้อง โปร่งใส เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน

วันที่ 23 พฤษภาคม 2564 ภายใต้การอำนวยการของ นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี นำโดย นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นางสาวญาดาภา หอมหวล พัฒนาการอำเภอสิรินธร มอบหมายเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และนายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” กิจกรรมที่ 2 พัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับครัวเรือน (Household Lab Model for quality of Life : HLM) พร้อมรอรับการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในพื้นที่อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการอนุมัติดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” งบเงินกู้รัฐบาล จำนวน 576,592,500 บาท โดยมีพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดฯ ทั้งสิ้น 3,960 แห่ง ถือว่ามากที่สุดในประเทศไทย เเบ่งเป็นพื้นที่ระดับตำบล (CLM) : 68 แห่ง เเละพื้นที่ระดับครัวเรือน (HLM) : 3,892 แห่ง เเละโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่เรียนรู้ชุมชน จำนวน 791 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ 1 ไร่ 620 แห่ง และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 171 แห่ง ในส่วนของอำเภอสิรินธรได้รับการอนุมัติงบประมาณจำนวน 276 แปลง แยกเป็น ขนาด 1 ไร่ 170 แปลง ,ขนาด 3 ไร่ 168 แปลง และ ขนาด 15 ไร่ 1 แปลง งบประมาณทั้งสิ้น 28,743,400 บาท มีผลการเบิกจ่าย และสัญญา PO วงเงิน 18,979,513 บาท คิดเป็น 66.03 (ข้อมูล วันที่ 22 พฤษภาคม 2564)

สำหรับการลงพื้นที่สนับสนุนโครงการฯ ในครั้งนี้ คณะได้ติดตามสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ครัวเรือนต้นแบบ เพื่อเตรียมความพร้อมรอรับการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 จำนวน 2 แปลง ได้แก่ แปลงนางทิพย์เกษร พุ่มแก้ว บ้านโชครังสรรค์ หมู่ที่ 13 ตำบลคันไร่ พื้นที่ 3 ไร่ และแปลง นายอุทัย ผาดี บ้านห้วยไฮ หมู่ที่ 6 ตำบลคำเขื่อนแก้ว พื้นที่ 3 ไร่ ซึ่งจากการตรวจสอบแปลงครั้งแรก สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ใช้วิธีการคำนวณค่าระดับและระยะ ด้วยวิธี STADIA METHOD ในส่วนของช่างนายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ใช้วิธีการหาปริมาตรดินขุด Contour Method แบบปิรมิด ทำให้การปรับพื้นที่สามารถดำเนินการขุดสระ หนอง คลองไส้ไก่ ตามรูปแบบแปลนสัญญาจ้างต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน

นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และนายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังได้ลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” กิจกรรมที่ 2 พัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับครัวเรือน (Household Lab Model for quality of Life : HLM) อีก 3 แปลง ได้แก่ แปลงของนายบุญมี ทองเหลือ หมู่ที่ 9 บ้านสุขสำราญ ตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย พื้นที่ 3 ไร่ สัดส่วน 1:3 สภาพดิน : ร่วนปนทราย อยู่ระหว่างดำเนินการ / แปลงนายสมพงษ์ ดวงสินธุ์ หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมสค้างตนเองลำโดมน้อย พื้นที่ 1ไร่ สัดส่วน 1:2 สภาพดิน : ร่วนปนทราย อยู่ระหว่างดำเนินการ และแปลงนายอุทัย ผาดี หมู่ที่ 8 ตำบลคำเขื่อนแก้ว พื้นที่ 3 ไร่ สัดส่วน 1:3 สภาพดิน : ร่วนปนทราย ดำเนินการปรับพื้นที่เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

โอกาสนี้ คณะติดตามฯ ได้พบปะกับนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และเจ้าของแปลงในพื้นที่ โดยให้คำแนะนำการปลูกไม้ป่า 5 ระดับ ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง พร้อมชื่นชมแปลงที่ดำเนินการได้แล้วเสร็จตามแนวทางของหลักกสิกรรมธรรมชาติ และระยะเวลาที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด ก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝน หากมีเหตุขัดข้องหรือข้อสงสัย ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยทันที เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน เพื่อให้โครงการฯ สามารถดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน และมีแปลงตัวอย่างที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบแก่คนในพื้นที่ โดยเฉพาะการพึ่งตนเองและสร้างทางรอดในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบัน

อุบลราชธานี เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี : งานประชาสัมพันธ์ สพจ.อุบลราชธานี และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสิรินธร…ภาพข่าว/รายงาน