วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.30 น. นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เขตตรวจราชการที่ 17 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 เป็นประธานกรรมการประกวดผู้นำการเปลี่ยนแปลง ระดับดีเด่น เขตตรวจราชการที่ 17 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 พื้นที่จังหวัดสุโขทัย ผ่านรูปแบบออนไลน์ (Zoom) ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) จึงต้องมีการปรับรูปแบบในการประกวดกิจกรรม ผ่านระบบออนไลน์ กิจกรรมที่ 5 ผู้นำการเปลี่ยนแปลงดีเด่นเป็นการประกวดผลการดำเนินงาน ระดับตำบล เพื่อคัดเลือกตำบลที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น ระดับเขตตรวจราชการ พร้อมทั้งจะได้รับการจัดสรรงบประมาณ 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ในการนำงบประมาณ ไปพัฒนาหมู่บ้าน ตำบล ต่อไป โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมการประกวดกิจกรรม ได้แก่ บ้านคลองตะเคียน หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ในการนี้ นายกองโทพยุงศักย์ สุวรรณโณ นายอำเภอเมืองสุโขทัย นายธวัช ใสสม พัฒนาการจังหวัดสุโขทัย พร้อมด้วยนายแบน เขียวแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน นายสมควร มารอด กำนันตำบลบ้านสวน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำในชุมชน พร้อมด้วยพัฒนาการอำเภอเมืองสุโขทัย และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ ให้การต้อนรับคณะกรรมการฯ ผู้ประเมิน ผ่านระบบออนไลน์ และร่วมนำเสนอผลงานในการประกวดผู้นำการเปลี่ยนแปลง ระดับดีเด่น ตามโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประจำปี พ.ศ. 2564 ดังกล่าว
ทั้งนี้ นายสมควร มารอด กำนันตำบลบ้านสวน , นายแบน เขียวแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน ได้เป็นตัวแทนผู้นำการเปลี่ยนแปลงตำบลบ้านสวน นำเสนอผลงานตามโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้าน ตำบล ตามเกณฑ์การประกวดดังกล่าว โดยบ้านคลองตะเคียน หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพ มีความเข้มแข็ง ทั้งผู้นำ ชาวบ้าน เครือข่ายกลุ่มองค์กร ภาคีการพัฒนาต่างๆ และส่วนราชการในอำเภอ ได้ให้ความร่วมมือร่วมใจช่วยกันรวมพลังในการพัฒนาตำบลสร้างความมั่นคงทางอาหาร การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต การปลูกผักสวนครัวมากกว่า 10 ชนิด สร้างคลังอาหารของหมู่บ้าน “ผ่านธนาคารพอเพียง” เป็นศูนย์เรียนรู้ และมีความเข้มแข็ง ยั่งยืน อย่างแท้จริง ซึ่งการนำเสนอครั้งนี้ ตัวแทนในพื้นที่ดังกล่าวได้นำเสนอให้คณะกรรมการฯ เยี่ยมชมพื้นที่จริงในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ผ่านระบบออนไลน์ Zoom ซึ่งจะทำให้เห็นสภาพพื้นที่จริงของหมู่บ้านต้นแบบ
โดยมี “ธนาคารพอเพียง”เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนกิจกรรมของแต่ละหมู่บ้านในตำบล ซึ่งภายในธนาคารนั้นจะประกอบไปด้วยเมล็ดพันธ์ผัก กล้าพันธุ์ผักมากกว่า 10 ชนิด ปุ๋ยหมักชีวภาพ กิจกรรมเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงวัว ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ได้อย่างแท้จริง และการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวสามารถเป็นต้นแบบ และเป็นศูนย์เรียนรู้ ของชุมชน สามารถขยายผลไปยังชุมชน พื้นที่อื่นๆ ได้อย่างดีเยี่ยม
(รัก)สุขที่…สุโขทัย (รัก)