สค.พณ.แถลงผลงานสำคัญของสค.ไตรมาสที่ 1/62 (ต.ค. – ธ.ค. 61) และแผนงานสำคัญปีงบประมาณ 62

บทสรุปผู้บริหาร

ผลงานสำคัญของสค.ไตรมาสที่ 1/62 (ต.ค. – ธ.ค. 61)

  1. การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากสู่สากล (Local to Global)

1.1 การสนับสนุนผู้ประกอบการผ่านโครงการ SMEs Pro-active

        1.2 โครงการสัมมนา“กลยุทธ์การสร้างแบรนด์เสริมพลังสู่ยุคดิจิทัล”

  1. การขยายตลาดต่างประเทศ

2.1  Importer Network การขยายความร่วมมือกับผู้นำเข้า (จีน เกาหลี ฮ่องกง)

2.2 ขยายตลาดในตะวันออกกลาง เปิด Thai Mart ในบาห์เรน

2.3 ขยายตลาดอาเซียน ผ่านงาน Top Thai Brands

  1. การส่งเสริมธุรกิจบริการ

3.1 ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์

3.2 ธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม

3.3 ธุรกิจสมุนไพร

  1. การส่งเสริม E-Commerce

4.1 ส่งเสริมการค้าออนไลน์ผ่านช่องทางเว็บไซต์ Thaitrade.com

4.2 จัดตั้ง Thai Rice Flagship Store

4.3 เข้าร่วมงาน Tmall Super Selection Day – World’s Best Rice

4.4 การขยายความร่วมมือกับเว็บไซต์ Coupang

  1. Branding

5.1 โครงการส่งเสริมแบรนด์สินค้าและธุรกิจสร้างสรรค์สู่สากล หรือ “MOC 4 I”

5.2 การเข้าร่วมงาน Chiangmai Design Fashion Week 2018

  1. สินค้าเกษตรและจักรกลการเกษตร

6.1 การเจรจาธุรกิจ (B2B) ในประเทศ เช่น การจับคู่ธุรกิจสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว

6.2 การจัดงานงานมหกรรมแทรกเตอร์และจักรกลการเกษตรไทย (THAITAM) จังหวัดนครปฐม

 

                                                                

 

  1. การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากสู่สากล (Local to Global)

1.1 การสนับสนุนผู้ประกอบการผ่านโครงการ SMEs Pro-active โดยสนับสนุนผู้ประกอบการไทยจำนวน 85 บริษัท เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศทั้งหมด 29 งาน ใน 13 ประเทศ โดยมีกลุ่มสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ อาหาร ยานยนต์ อุตสาหกรรมหนัก เครื่องเย็น วัสดุก่อสร้างและเกี่ยวเนื่อง คอนเทนท์ รวมทั้งธุรกิจ Startup

1.2 โครงการ “กลยุทธ์การสร้างแบรนด์เสริมพลังสู่ยุคดิจิทัล” บูรณาการร่วมกับศูนย์ส่งเสริม         ศิลปาชีพระหว่างประเทศ (อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา) โดยดำเนินการในวันที่ 12 ธ.ค. 61 เพื่อเสริมสร้างสินค้าให้มีเอกลักษณ์จุดเด่นและมีความแตกต่างเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเพิ่มความโดดเด่นดันยอดขายให้มีโอกาสเติบโตสู่ตลาดโลก และเพิ่มศักยภาพทางด้านสินค้าออนไลน์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ 100 ราย

 

  1. การขยายตลาดต่างประเทศ

2.1  Importer Network การขยายความร่วมมือกับผู้นำเข้า (จีน เกาหลี ฮ่องกง)

    (1) การเดินทางเยือนนครเซี่ยงไฮ้ ระหว่างวันที่ 3-6 พ.ย. 61 มีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่

                    – พิธีเปิด JD.com Session ภายในงาน CIIE (วันที่ 6 พ.ย. 61) อธิบดีได้กล่าวปาฐกถาแสดงวิสัยทัศน์ในประเด็นการค้าโลก ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีน รวมถึงนโยบายของรัฐบาลไทยในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการระดับฐานรากสู่ห่วงโซ่อุปทานโลก ภายในการประชุมยังมีการนำเสนอสมุดปกขาว (White Paper) เรื่อง “The Guide on China’s Imports” ซึ่งเป็นคู่มือกลยุทธ์เจาะตลาดจีน การวิเคราะห์รายละเอียดของตลาดสำหรับสินค้านำเข้าและกฎระเบียบควบคุมการนำเข้าของสินค้าต่างประเทศในจีน โดยมากกว่าร้อยละ 20 ของผู้บริโภคชาวจีนใช้จ่ายมากกว่าร้อยละ 30 ในการซื้อสินค้านำเข้า โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมได้แก่ เครื่องใช้ภายในบ้านและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสำอาง สินค้าสำหรับแม่และเด็ก นาฬิกาและแว่นตา รถยนต์ และเครื่องประดับ โดยจีนเป็นผู้ส่งออกสินค้าอันดับ 1 ของโลก และเป็นผู้นำเข้าสินค้าอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ และมีเป้าหมายจะเป็นผู้นำเข้าอันดับ 1 ของโลกในอนาคตอันใกล้นี้

– ประชุมกับ Cai Niao High Tech Logistics Warehouse (Cai Niao Network Future Park) (วันที่ 4 พ.ย. 61) ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป ที่ให้บริการด้านโลจิสติกส์สำหรับการ   ซื้อขายผ่าน e-Commerce ปัจจุบันมีเครือข่ายโลจิสติกส์ครอบคลุม 224 ประเทศ โดยมีคลังสินค้ามากกว่า 200 แห่ง และศูนย์กระจายสินค้ากว่า 1,800 แห่งทั่วโลก โดยบริษัทตั้งเป้าหมายภายใน 3 ปี ว่าจะพัฒนาการให้บริการขนส่งสินค้าไปยังทุกพื้นที่ในโลกภายใน 72 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันทำได้แค่เพียงในบางประเทศ ขณะที่บริการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ปัจจุบันใช้เวลาเพียง 24 ชั่วโมง การดำเนินงานเน้นการบริหารจัดการเครือข่ายภายใต้ระบบนิเวศที่ครอบคลุมการซื้อ-ขายผ่านออนไลน์ การตลาด ระบบการชำระเงินและการขนส่งอย่างครบวงจร โดยนำข้อมูล Big Data มาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มปริมาณการขาย และลดต้นทุนการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จะนำการพัฒนาธุรกิจที่เรียกว่า Taobao Village Model มาเป็นแนวทางการพัฒนาระบบการค้าของไทย ผ่านการพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการไทย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พร้อมเชื่อมโยงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้สามารถประยุกต์ใช้องค์ประกอบสำคัญการค้าสมัยใหม่ ในการเชื่อมโยงการค้าจากจากฐานรากสู่สากล โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการยกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์อัจฉริยะในภูมิภาค

– ประชุมกับ Hema Fresh (วันที่ 4–5 พ.ย. 61) ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกในรูปแบบใหม่ที่รวมการค้าทั้ง Online และ Offline เข้าด้วยกัน ปัจจุบัน Hema Fresh มีสาขากว่า 150 สาขาทั่วประเทศ และมีแผนที่จะขยายเป็น 2,000 สาขา ทั้งนี้ Hema Fresh สนใจสั่งซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นใน 3 กลุ่มสินค้า ประกอบด้วย (1) ผลไม้สด (มะม่วง ทุเรียน มังคุด ส้มโอ มะพร้าว) (2) อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป และ (3) อาหารสำเร็จรูป (ข้าว ผลไม้แปรรูปและอบแห้ง ขนมขบเคี้ยว และเครื่องปรุงรส) จากการหารือร่วมกันในครั้งนี้ คาดว่าจะมีคำสั่งซื้อจาก Hema Fresh รวมมูลค่ากว่า 600 ล้านหยวนหรือประมาณ 86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 62 นอกจากนี้ ทางอาลีบาบาฯ ยังสนใจจะเปิด Thai Fruit Flagship Store เพิ่มบนเว็บไซต์ Tmall.com เพื่อนำเข้าผลไม้ไทยที่มีศักยภาพเป็นสำคัญ

พบผู้บริหารในเครือบริษัทอาลีบาบา กรุ๊ป จำกัด (วันที่ 5 พ.ย. 61) อาลีบาบา ยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับประเทศไทยในการพัฒนาประเทศในหลายมิติ ทั้งด้านการส่งเสริมสินค้าเกษตรไทยในตลาดผู้บริโภคจีน โดยความร่วมมือเพื่อวางแผนล่วงหน้าผ่านการผลิต และการ Sourcing สินค้าแบบ Contract Farming ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งทางอาลีบาบาจะลงสปอตโฆษณาส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยที่ประเทศไทยจัดทำขึ้นบนเว็บไซต์อาลีบาบาในเทศกาลวันคนโสด 11.11 ซึ่งเป็นวันที่จะมีผู้เข้าชมเว็บไซต์จำนวนมากกว่า 800 ล้านคน รวมถึงจะช่วยให้ความรู้เรื่อง Taobao Village Model ตลอดจนเสนอให้ไทยเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันโครงการ e-WTP (Electronic World Trade Platform) เพื่อลดปัญหาความยากจนของประชาคมโลกโดยใช้การค้าออนไลน์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญอีกด้วย

เยี่ยม International Merchandise Exchange& Exhibition (IMX) (วันที่ 6 พ.ย. 61) ศูนย์ IMX เป็นศูนย์แสดงสินค้าแบบถาวร (Permanent Exhibition) ที่ให้บริการแบบครบวงจร (One-stop Solution) ด้านการค้าและการนำเข้าสินค้า การให้บริการด้านโลจิสติกส์ และช่องทางการค้าในตลาดจีน มีคลังสินค้าทัณฑ์บน และคลังจัดเก็บสินค้าทั่วประเทศ รวมถึงการให้บริการท่าเรือ และพิธีการทางศุลกากร ซึ่ง IMXเป็นบริษัทในเครือของ King Wai Group (KWG) เป็นผู้บุกเบิก Cross-Border e-Commerce ในจีนที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีนเป็นรายแรก โดยมีการนำเทคโนโลยี FTAX ที่เก็บรวมรวมข้อมูลการนำเข้าสินค้าในจีน เช่น การเชื่อมต่อกับศุลกากรทั่วโลกมาใช้เพื่อดูพิกัดศุลกากรอัตราภาษีนำเข้า เอกสารที่ต้องใช้ในการนำเข้า รวมถึงสิทธิประโยชน์ของประเทศต่างๆ ที่มี FTA กับจีน มาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งสินค้าไปยังตลาดจีน ดังนั้นความร่วมมือกับ IMX จะเป็นประโยชน์แก่ไทยในด้านความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุน รวมถึงการส่งผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดย IMX สามารถเป็นต้นแบบด้านการค้า Cross-Border e-Commerce ของไทยได้ ทั้งนี้ กรมกำหนดร่วมลงนามใน Letter of Intent ร่วมกับ IMX ในวันที่ 13 ธ.ค. 61 เพื่อขยายความร่วมมือผลักดันการค้าออนไลน์เข้าสู่ตลาดจีน

    (2) การเดินทางเยือนเกาหลี ระหว่างวันที่ 21-23 พ.ย. 61

พบหารือกับประธานสมาคมผู้นำเข้าเกาหลี ซึ่ง KOIMA เป็นสมาคมผู้นำเข้าแห่งเดียวในเกาหลีใต้ มีสมาชิกกว่า 8,500 ราย เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับผู้นำเข้าเกาหลี และได้จัดตั้งคณะกรรมการ Korea-Thailand Trade Promotion Committee ขึ้นเพื่อรวบรวมและกระตุ้นผู้นำเข้าเกาหลีที่สนใจนำเข้าสินค้าไทย ซึ่งคาดว่า จะมีการนำเข้าสินค้าไทยที่มีความหลากหลาย และมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเดิมเกาหลีส่วนมากนำเข้าสินค้าประเภทวัตถุดิบจากไทยเป็นหลัก ซึ่งคาดว่าจะมีการนำเข้าสินค้าไทยเพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านบาทในปี 62

   (3) การเดินทางเยือนฮ่องกง ระหว่างวันที่ 27-28 พ.ย. 61

การพบสมาคมพ่อค้าข้าวฮ่องกง เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีระหว่างไทยกับฮ่องกง เนื่องจากความสัมพันธ์ที่มีมายาวนานร่วม 100 ปี นอกจากนี้ยังหารือถึงแนวทางส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทย และข้าวพันธุ์ชนิดใหม่ ปัจจุบันข้าวไทยมีส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 65 หรือมากกว่า 2 แสนตัน/ปี ในปี 2560 การส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยคิดเป็นปริมาณกว่า 1.61 ล้านตัน หรือประมาณ 1,245 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยอดการส่งออกข้าวหอมมะลิในช่วงเดือนม.ค. – กันยายน 61 คิดเป็นปริมาณ 8.7 แสนตัน ด้วยมูลค่ากว่า 985 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือถึงการประชาสัมพันธ์ข้าวไทย และอาหารไทยสู่ตลาดฮ่องกง โดยใช้งาน Food Fiesta ซึ่งจัดโดยสมาคมอาหารของฮ่องกง ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีผู้เข้าชมกว่า 2 แสนราย โดยปีหน้าทางสมาคมฯ ขอให้ไทยพิจารณาการจัดกิจกรรมในลักษณะบูรณาการการค้า การบริการ อาทิ ภาพยนตร์ และศิลปะ วัฒนธรรมไทย เพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในภาพรวมด้วย

การพบ Mr. Edward Yau เลขาธิการด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าของฮ่องกง ถึงความตกลงเสรีการค้าอาเซียน-ฮ่องกง (ASEAN – Hong Kong Free Trade Agreement) ที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 62 ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสภาพคล่องทางเศรษฐกิจระหว่างฮ่องกงและอาเซียนมากยิ่งขึ้น การต่อยอดความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนในการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์สองภูมิภาคโดยใช้ประโยชน์จากการเป็นประตูการค้าซึ่งกันและกันอย่างเป็นรูปธรรม และการจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงระหว่างไทยกับฮ่องกง นอกจากนี้ ฝ่ายฮ่องกง ยังได้มีการหารือถึงความคืบหน้าการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกงประจำประเทศไทย (Hong Kong Economic and Trade Office : HKETO) ซึ่งคาดว่าจะเปิดภายในไตรมาสแรกของปี 62 จะส่งผลให้มีการขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนประเด็นความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA ระหว่างไทย – ฮ่องกงด้วย

การพบ Mr.Richard Li ประธาน Hong Kong Telecom เพื่อชักชวนให้มาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือในโครงการ EEC ซึ่ง Mr.Richard Li ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และสนใจในการลงทุนใน Mega Project อาทิ สนามบินนานาชาติในต่างจังหวัดของไทย โดยขอให้ฝ่ายไทยประสานให้ข้อมูลการลงทุนในโครงการข้างต้นกับทางบริษัทในโอกาสแรกด้วย

– พบหารือกับผู้บริหาร 759 Stores ถึงแนวทางการผลักดันการนำเข้าข้าวคุณภาพสูงและข้าวชนิดพิเศษ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากข้าว เจาะกลุ่ม Niche Market ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดขยายสู่ตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนแผ่นดินใหญ่ส่วนใหญ่มองว่าชาวฮ่องกงเป็นกลุ่ม Trend Setter รวมทั้งสินค้าหรือบริการที่เข้าสู่ตลาดฮ่องกงได้ก็มีแนวโน้มว่าจะสามารถตีตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ได้เช่นกัน และการทำ Co-Branding ซึ่งบริษัท 759 Stores จับมือกับผู้ประกอบการท้องถิ่นในหลากหลายสินค้าบริโภค ซึ่งรวมถึงข้าวหอมมะลิและข้าวสีต่างๆ ของไทย และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคฮ่องกง อีกทั้ง 759 stores มีความต้องการนำเข้าสินค้าไทยเพื่อวางขายในตลาดฮ่องกงให้มีความหลากหลายมาขึ้นด้วย อาทิ ไก่แช่เย็นแช่แข็ง อาหารแปรรูป ขนมขบเคี้ยว ไวน์ไทย

พบ Mr. Bernard Chan ที่ปรึกษาผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ประธานบริษัท Asia Financial Holdings และ Asia Insurance และ Mr.Willy Lin ประธาน Hong Kong Productivity Council และ Honorary Trade Advisor to China ( Hong Kong ) ถึงความคืบหน้าการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกงประจำประเทศไทย (Hong Kong Economic and Trade Office : HKETO) คาดว่าจะเปิดภายในไตรมาสแรกของปี 62 ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นในระยะยาว นอกจากนี้ได้เน้นย้ำถึงศักยภาพและความพร้อมของไทยในการรับรองการค้าการลงทุนจากจีนสามารถใช้ไทยเป็นสปริงบอร์ดเพื่อเชื่อมโยงการค้าการลงทุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ตามนโยบาย Thailand 4.0 สู่ภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอนุภูมิภาค CLMV และ ACMECS ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงได้

พบผู้บริหารกลุ่มบริษัท Tom Group (Ule.com) โดยจะใช้อูเล่โมเดลเพื่อเป็นต้นแบบในการยกระดับร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของไทยสู่ร้านค้าไฮบริดที่ค้าขายผ่านออนไลน์ เป็นจุดเชื่อมโยงสินค้า OTOP กับทั่วประเทศโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนเมืองและชนบท ช่วยให้ชาวบ้านมีโอกาสในการขายสินค้ามากขึ้นภายใต้แพลทฟอร์มเดียวกันเชื่อมโยงธุรกิจโชว์ห่วยในไทย เป็นแนวทางการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันร้านค้าโชห่วยของประเทศไทยให้สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก ทั้งนี้ทางกระทรวงพาณิชย์มีแผนจะเชิญกลุ่มบริษัท TOM Group เดินทางเยือนไทยในต้นปี 62 เพื่อพบและหารือความร่วมมือการเชื่อมโยงธุรกิจเชิงลึกต่อไป

2.2 ขยายตลาดในตะวันออกกลาง เปิด Thai Mart ในบาห์เรน

– กรมได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า Thai Mart โดยนายอัครวุฒิ ตั้งศิริกุศลวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวก้า อินเตอร์เทรด แอนด์ เอ็กซิบิชั่น จำกัด ซึ่งมีความประสงค์ที่จะจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในกรุงมานามา ประเทศบาห์เรน เพื่อให้เป็นศูนย์การค้าปลีกและกระจายสินค้าไทยในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเล็งเห็นโอกาสจากการเป็นทางเชื่อมสู่ซาอุดิอาระเบีย ศูนย์กลางภูมิภาคตะวันออกกลาง

– ขณะนี้อยู่ระหว่างการตกแต่งเพิ่มเติม และมีกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือน เม.ย. 62 ทั้งนี้ มีเอกชนไทยแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการกว่า 50 ราย แบ่งเป็น ร้านอาหาร ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหาร ร้านสปาและผลิตภัณฑ์สปา สินค้าแฟชั่นและความงาม ของขวัญ ของที่ระลึก ของชำร่วย และงานฝีมือ

2.3 ขยายตลาดอาเซียน ผ่านงาน Top Thai Brands

      – อยู่ระหว่างการเปิดรับสมัคร และเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการในการเข้าร่วมงาน ทั้งนี้ กรมมีกำหนดจัดงาน Top Thai Brands ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 62 ระหว่างวันที่ 31 ม.ค. – 3 ก.พ. 62 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยมีสินค้าเป้าหมาย ได้แก่ 1. อาหารและเครื่องดื่ม 2. ของใช้ภายในบ้านและของตกแต่งบ้าน 3. สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ) 4. สินค้าสำหรับเด็ก ทั้งนี้ ในปี 62 กำหนดจัดงาน TOP Thai Brands ในอาเซียน จำนวน 5 ครั้ง ในกลุ่ม CLMV

 

  1. การส่งเสริมธุรกิจบริการ

3.1 ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์ กรมได้ดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์ไทยเพื่อผลักดันและเร่งรัดการขยายตลาดธุรกิจบริการเชิงรุก โดย 2 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค. – พ.ย. 61) มีผลการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการไทย จำนวน 29 ราย สร้างมูลค่าการเจรจาการค้ากว่า 6,000 ล้านบาท รายละเอียดผลการดำเนินงาน ดังนี้

(1) งานแสดงสินค้า MIPCOM 2018 ระหว่างวันที่ 15 – 18 ต.ค. 2561 ณ เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส เป็นงานแสดงสินค้าที่มีผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิต และตัวแทนจำหน่าย เกี่ยวข้องในวงการ Digital Content/ Entertainment สำหรับผู้ประกอบการภาพยนตร์ โทรทัศน์ และแอนิเมชั่นที่มีชื่อเสียงและมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีผู้ประกอบการไทยจำนวน 11 ราย มูลค่าการสั่งซื้อรวม 3,935,688,999 บาท แบ่งเป็น มูลค่าสั่งซื้อทันที 5,115,000 บาท มูลค่าคาดการณ์ภายใน 1 ปี 3,930,573,999 บาท โดยมีการเจรจาการค้าเพื่อร่วมลงทุนระหว่างบริษัทผู้ให้บริการด้านการผลิต content ชั้นนำของไทยและผู้ซื้อจากต่างประเทศ และการเจรจาการค้าเพื่อนำบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ในต่างประเทศมาถ่ายทาในประเทศไทย ซึ่งผู้ซื้อให้ความสนใจในการลงทุนและการใช้สถานที่ในประเทศไทยในการถ่ายทำ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมาตรการที่กำหนดให้มีการคืนค่าใช้จ่ายที่บริษัทภาพยนตร์จากต่างประเทศใช้จ่ายในประเทศไทยและการจ้างงานบุคคลากรไทย ในอัตรา 15-20% ของเงินลงทุนในประเทศไทย นอกจากนี้ ธุรกิจและสินค้าอื่นๆ ที่ได้รับความสนใจ ได้แก่ ธุรกิจบริการการผลิต (Production Service Provider) ภาพยนตร์และซีรี่ส์ไทย

(2) American Film Market & Conference 2018 ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. – 7 พ.ย. 61     ณ นครลอสแองเจลิส  ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดภาพยนตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นตลาดซื้อขายภาพยนตร์ในระดับนานาชาติที่ได้รวบรวมผู้มีอิทธิพลในวงการภาพยนตร์ไว้ในที่เดียว ในแต่ละปีจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจภาพยนตร์กว่า 8,500 ราย จาก 80 ประเทศทั่วโลก มีบริษัทภาพยนตร์ร่วมเปิดคูหากว่า 400 บริษัท มีภาพยนตร์เข้าฉายกว่า 300 เรื่อง และมีภาพยนตร์ที่เข้าฉายครั้งแรกกว่า 100 เรื่อง โดยในครั้งนี้มีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานจำนวน 8 ราย มูลค่าการสั่งซื้อรวม 1,875,050,000 บาท โดยมีการเจรจาการค้าเพื่อร่วมทุนผลิตภาพยนตร์ การเจรจาการค้าเพื่อผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น การเจรจาการค้ากับบริษัทผู้ลงทุนในสหรัฐอเมริกาเพื่อสร้างภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถปิดการขายภาพยนตร์หลายเรื่องกับ    ผู้ซื้อจากหลายประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน นอกจากนี้ ธุรกิจบริการก่อนและหลังการถ่ายทำ (Production Service) ยังได้รับความสนใจมากขึ้นจากมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำแรงจูงใจ (Incentive Measures) ตามนโยบายของรัฐบาลในการดึงดูดต่างชาติให้เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย

(3) กิจกรรม Thai Night ในงาน American Film Market & Conference เมื่อวันที่        1 พ.ย. 61 เป็นเวทีที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยได้แสดงความสามารถและศักยภาพในการผลิตและขั้นตอนหลังการผลิต พร้อมด้วยกิจกรรมการแสดงผลงานบริษัทภาพยนตร์ของไทย การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ทูลกระหม่อมหญิง-
อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้ประกอบการไทย 8 ราย ผู้เข้าร่วมงานจำนวนกว่า 461 ราย จากประเทศต่างๆ มากกว่า 16 ประเทศ เข้าร่วมงาน รวมถึงนักแสดงและผู้สร้างภาพยนตร์ชั้นนำมากมาย เช่น Alain Moussi แขกรับเชิญพิเศษเจ้าของผลงานการแสดงนำใน Kickboxer: Retaliation (2018) และ Dimitri Logothetis ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ โดยภาพยนตร์ไทยที่ได้รับการแนะนำในตลาดภาพยนตร์ประจำปีนี้ และได้รับการนำเสนอภายในงานประกอบด้วยภาพยนตร์เรื่อง ขุนพันธ์ 2 อำนวยการสร้างโดยบริษัท สหมงคลฟิล์ม ภาพยนตร์เรื่อง  Homestay อำนวยการสร้างโดย บริษัท จีดีเอช และภาพยนตร์เรื่อง Sad Beauty จัดจำหน่ายโดยบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส

(4) เข้าร่วมกิจกรรม Pitching ในงาน Asian Animation Summit 2018 ระหว่างวันที่    28 – 30 พ.ย. 61 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อให้ผู้ประกอบการแอนิเมชั่นไทยนำเสนอผลงาน (Pitching) ในเวทีระดับนานาชาติ อีกทั้งได้เจรจาการค้ากับกลุ่มเป้าหมายและสร้างเครือข่ายทางการค้า งาน AAS มีผู้นำเสนอผลงาน (Pitching) การ์ตูนแอนิเมชั่น จำนวนทั้งสิ้น 30 เรื่อง จาก 6 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ จีน และประเทศไทย และมีสถานีโทรทัศน์ ผู้ซื้อ/ผู้ผลิต นักลงทุนและคู่ค้าเข้าร่วมงานจำนวน 236 ราย จาก 18 ประเทศทั่วโลก โดยในปีนี้ กรมได้ส่งผลงานของผู้ประกอบการแอนิเมชั่นไทยเข้าร่วม Pitching ในงานฯ จำนวน  3 ราย ประกอบด้วย

(1) ผลงานเรื่อง Hey Buddy    จากบริษัท บิ๊กเบรนพิคเจอร์ส จำกัด

(2) ผลงานเรื่อง Sea of Love   จากบริษัท เดอะมังค์สตูดิโอ จำกัด

(3) ผลงานเรื่อง Zaurbies        จากบริษัท ฮิวแมนฟาร์ม วีเอฟเอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด

ทั้งนี้ ผลงานแอนิเมชั่นไทย ทั้ง 3 เรื่อง มีผู้ประกอบการต่างชาติสนใจร่วมลงทุนทันทีในงาน มีมูลค่าเจรจาการค้าประมาณ 70 ล้านบาท และคาดการณ์มูลค่าเจรจาการค้าภายใน 1 ปี ประมาณ 73.5 ล้านบาท นอกจากนี้ ผลงานเรื่อง Sea of Love จากบริษัท เดอะมังค์สตูดิโอ จำกัด ได้รับการโหวตจากผู้เข้าร่วมงาน AAS 2018 ให้เป็น “The most popular 2018 project” อีกด้วย

นอกจากนี้ กรมนำ 7 บริษัทแอนิเมชั่นไทยตบทัพเข้าร่วมงานดังกล่าว เพื่อสร้างเครือข่าย      ทางการค้าและโอกาสในการเจรจาการค้าระหว่างผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้าร่วมงาน ซึ่งมีประมาณการมูลค่าเจรจาการค้า ประมาณ 122.5 ล้านบาท โดยผลการเจรจาจาการค้าทั้งโครงการคาดว่าจะสามารถสร้างเม็ดเงินนำเข้าให้ประเทศไทยทันทีประมาณ 70 ล้านบาท และคาดการณ์มูลค่าเจรจาการค้าภายใน 1 ปี ประมาณ 196 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าเจรจาการค้าจากการดำเนินโครงการฯ ทั้งสิ้น ประมาณ 266 ล้านบาท

3.2 ธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม โดยกรมนำคณะผู้ประกอบการธุรกิจบริการไทย 16 บริษัท พบปะเจรจาธุรกิจและจับคู่ทางการค้ากับผู้นำเข้า ผู้ประกอบการผู้ค้าปลีกและส่ง ฝ่ายจัดซื้อโรงแรม รวมทั้ง Organizer จัดงานศพ ในประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19 – 20 พ.ย. 61 ณ  Belle Salle Onrimon Tower ภายใต้นโยบาย Local to Global ของกรม มีผู้ประกอบการท้องถิ่นเข้าร่วมงาน มากกว่า ร้อยละ 40 ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและใช้ในโรงแรม ได้แก่ สบู่ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หมอน ที่นอน ผ้าปูที่นอน ผลิตภัณฑ์ตกแต่งโรงแรม ผลิตภัณฑ์เครื่องแก้ว และเฟอร์นิเจอร์

– มีการจับคู่ทางธุรกิจจำนวน 70 คู่ มีการสั่งซื้อภายใน 1 ปี มีมูลค่า ประมาณ 19,882,500 บาท สินค้าที่ได้รับความสนใจได้แก่  ผลิตภัณฑ์ไม้สำหรับตกแต่งภายในและภายนอกอาคาร  เฟอร์นิเจอร์อลูมิเนียม-ไม้  ชุดเครื่องนอน  (ผ้าปูนอน ปลอกหมอน)  ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหนังและบำรุงเส้นผม ผลิตภัณฑ์สปา บริษัทญี่ปุ่นที่เข้าร่วมเจรจาการค้าในครั้งนี้เป็นบริษัทที่ติด 1 ใน 5 อันดับบริษัทที่ใหญ่ในเมืองโตเกียว  ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ของไทยที่เจาะตลาดญี่ปุ่น ควรมีการสร้างเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง เช่น การใช้ส่วนผสมวัตถุดิบพื้นบ้านไทย ในสินค้า amenity จะได้รับความสนใจจากผู้นำเข้าญี่ปุ่น

– อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จากข้อมูล               กรมท่องเที่ยวญี่ปุ่น Japan Tourism Agency (JTA) พบว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในญี่ปุ่นในปี 2558 มีมูลค่าตลาดสูงถึง 25.5 ล้านล้านเยน ประมาณ 76,500 ล้านบาท การใช้จ่ายโดยนักท่องเที่ยวต่างชาติในญี่ปุ่นมีมูลค่าประมาณ 3.3 ล้านล้านเยน ประมาณ 99,000 ล้านบาท

– จากการสำรวจจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2555 มีจำนวน 8.36 ล้านคน เพิ่มเป็น 28.7 ล้านคนในปี 2560  อีกทั้งในปี 63 ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพการจัดงาน OLYPIC 2020 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศญี่ปุ่น โดยคาดว่าจะสูงถึง 40 ล้านคน  ทำให้ธุรกิจโรงแรมมีการขยายตัว สินค้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม เช่น เครื่องใช้ในห้องน้ำ (สบู่ แชมพู ครีมบำรุงผิว) เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับตกแต่งโรงแรม และผ้าปูที่นอน เป็นต้น มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น

3.3 ธุรกิจสมุนไพร กรมกำหนดจัดกิจกรรมนำคณะผู้แทนการค้าเดินทางมาจับคู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 5-8 มีนาคม 62 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งจัดคู่ขนานกับงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติที่จัดขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพร และเพิ่มช่องทางการตลาดสมุนไพรไทยในต่างประเทศ รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสมุนไพรไทย เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาและต่อยอดในการผลิตสินค้าสมุนไพรไทยให้ตรงกับความต้องการในตลาดต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการจับคู่ธุรกิจไม่น้อยกว่า 350 คู่และผู้นำเข้ามาเจรจาการค้าไม่ต่ำกว่า 50 บริษัทจากทั่วโลก

– ผลการจัดงานครั้งที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการส่งออกไทยเข้าร่วม 83 บริษัท เกิดการจับคู่ธุรกิจ 386 คู่ มีมูลค่าสั่งซื้อรวมประมาณ 292,318,000 บาท แบ่งเป็นมูลค่าสั่งซื้อทันที 24,868,000 บาท และมูลค่าที่คาดว่าจะมีการสั่งซื้อภายใน 1 ปี ประมาณ 267,450,000 บาท สินค้าที่ได้รับความสนใจได้แก่ ผลิตภัณฑ์สปา เครื่องดื่มสมุนไพร และเครื่องสำอาง เป็นต้น

– นอกจากนี้ กรมได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จัดทำระบบฐานข้อมูลสมุนไพรผ่านระบบ Big Data เพื่อบูรณาการการเชื่อมโยงข้อมูลสมุนไพรระหว่างสองหน่วยงาน อีกทั้งยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่ายขึ้นและตรงตามความต้องการยิ่งขึ้นต่อไป

 

  1. การส่งเสริม E-Commerce

4.1 ส่งเสริมการค้าออนไลน์ผ่านช่องทางเว็บไซต์ Thaitrade.com ซึ่งเป็นตลาดกลางของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ดำเนินการผลักดันให้เป็น National e-Marketplace สำหรับผู้ประกอบการไทยในการค้าออนไลน์ โดยในปีงบประมาณ 61 สามารถสร้างมูลค่าได้กว่า 1,000 ล้านบาท ผ่าน 3 แพล็ตฟอร์ม ได้แก่

(1) Thaitrade.com – B2B e-Marketplace ขายส่งระหว่างประเทศ

(2) Thaitrade SOOK (Small Order Ok) – B2C e-Marketplace ขายปลีกระหว่างประเทศ

(3) Thaitrade Shop – B2C e-Marketplace ซื้อขายภายในประเทศ ที่เตรียมเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ภายในประเทศทั้งของภาครัฐและเอกชน โดยเปิดเป็น Gateway ให้สามารถเชื่อมระบบการค้นหาสินค้าจากทุกเว็บไซต์พันธมิตรและแสดงผลได้จากที่เดียว

จำนวนสมาชิก: สมาชิกทั้งหมด 196,230 ราย สมาชิกผู้ขายจำนวน 22,906 ร้านค้า สมาชิกผู้ซื้อจากทั่วโลก 173,324 ราย และมีผู้ใช้บริการจากทั่วโลกมาค้นหาสินค้า 6,720,379 ราย เข้าชมสินค้า 44,563,006 Page Views จาก 237 ประเทศทั่วโลก จำนวนสินค้าบนเว็บไซต์ 259,925 รายการ

4.2 จัดตั้ง Thai Rice Flagship Store เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรและนวัตกรรมเกษตรไทยในการเจาะตลาดจีนแบบส่งตรงถึงมือผู้บริโภค (B2C) ผ่านเว็บไซต์พรีเมียม Tmall.com โดยได้เปิดตัว Thai Rice Flagship Store  ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวขึ้นขายแล้วรวมกว่า 200 รายการสินค้า (SKUs) จาก 22 แบรนด์ ยอดรวมขายทั้งหมดกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งแบรนด์เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนผ่านช่องทางต่างๆ ของอาลีบาบาทั้ง online และ offline เช่น Hema Fresh และ Tmall-Mart (เมษายน 61 ถึงธ.ค. 61)

4.3 เข้าร่วมงาน Tmall Super Selection Day – World’s Best Rice โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมงาน เพื่อประกาศศักยภาพความสำเร็จของ Tmall ในการเป็นช่องทางเชื่อมโยงข้าวไทยสู่มือผู้บริโภคจีน ซึ่งนอกจากข้าวหอมมะลิและผลิตภัณฑ์ข้าวที่ทางกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับอาลีบาบาผลักดันสินค้าไทยให้สามารถขึ้นขายใน Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ Tmall.com ได้แล้วนั้น ยังได้เปิดตัวการขายข้าว กข43 เข้าสู่ตลาดจีนอย่างเป็นทางการ (ต.ค. 61)

4.4 การขยายความร่วมมือกับเว็บไซต์ Coupang ซึ่งเป็น E-Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ เพื่อสร้าง Platform ประเทศไทย “Thai Mall”  ขึ้นบน Coupang เพื่อโปรโมทสินค้าไทยในออนไลน์ ในตลาดเกาหลีใต้ ตามที่ สคต.ณกรุงโซล ได้เริ่มดำเนินการนำเข้า สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ของขบเคี้ยว มูลค่า 118 ล้านบาท จำนวนกว่า 1,000 SKU เพื่อจำหน่ายใน Coupang ตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา และเริ่มเปิดตัวและแถลงข่าวในเดือนสิงหาคม 61ไปแล้วนั้น ซึ่งผลการเยือนของท่าน รมว.พาณิชย์ในครั้งนี้ ได้เจรจาให้มีการขยายความร่วมมือกับ Coupang ในการเพิ่มประเภทสินค้า เช่น อาหารสำเร็จรูป ไลฟ์สไตล์ ผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงและสปา และแฟชั่นเครื่องประดับของไทย มาจำหน่ายใน Coupang โดยคาดว่าจะมีการนำเข้าสินค้าไทยมาจำหน่ายใน Coupang เพิ่มขึ้น จำนวน 200 ล้านบาทในปี 62 และนอกจากนี้ Coupang ได้วางเป้าหมาย ขยายจำนวน SKU ของสินค้าไทยใน Thai Mall ให้เพิ่มขึ้นถึง 5,000 SKU ในอนาคต ซึ่งกรม และสคต.ณ กรุงโซล จะช่วยสนับสนุนในการ Sourcing สินค้าไทยไปจำหน่ายใน Coupang เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันในการขยายตลาดสินค้าไทยในตลาด eCommerce ในเกาหลีใต้ต่อไป

 

  1. Branding

5.1 โครงการส่งเสริมแบรนด์สินค้าและธุรกิจสร้างสรรค์สู่สากล หรือ “MOC 4 I”

– สร้างเส้นทางความสำเร็จ แบรนด์โร้ดแมปภายใน 3 ปี ให้สามารถเจาะตลาด Luxury – Premium ในจีน พร้อมกระตุ้นให้แบรนด์พัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง เพื่อนำไปทดสอบในตลาดจริง ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน มุ่งหวังให้เกิดการสร้าง Thai Brand Heroes – Thai 10/10 และสร้างที่ยืนให้กับแบรนด์ไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก   เมื่อวันที่ 14 กันยายน 61 ที่ผ่านมา กรมได้จัดกิจกรรมส่งเสริมแบรนด์ศักยภาพ “The Thai 10 Luxe Experience” เพื่อเจาะตลาด Luxury–Premium ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าในรูปแบบ Experiential Showcase เน้นกลุ่ม B2B กับคู่ค้าที่มีกำลังซื้อสูง ทั้งกลุ่มผู้ซื้อ ตัวแทนจำหน่าย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจีน รวมทั้งผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง กลุ่ม Luxury – Premium ในตลาดจีนและกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดที่สำคัญต่อผู้บริโภคจีน  (KOLs – Key Opinion Leaders) ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์แบรนด์ “ดีสวัสดิ์” “เคนคูน” “โมเบลล่า” แบรนด์สุขภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม “I spa” โดยเจาะกลุ่มสถาปนิก อินทีเรียดีไซเนอร์และนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจีน ในกลุ่มสินค้าผ้าสำหรับการตกแต่งภายในและของใช้ในบ้านอย่างแบรนด์ Pasaya แก้วไวน์แบรนด์ Lucaris และ 5ivesis มุ่งเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าHORECA (Hotel/Restaurant/Café) และในกลุ่มผลิตภัณฑ์สปาอย่างแบรนด์ “ปัญญ์ปุริ” และ“Satira” มุ่งเจาะกลุ่มธุรกิจตัวแทนจำหน่าย เพื่อรองรับกระแสนิยมจากกลุ่มนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคชั้นสูงในจีนที่มีการสั่งซื้อสินค้าของทั้ง 2 แบรนด์ ผ่านทางช่องทาง E – Commerce รวมทั้งแบรนด์แฟชั่นอย่างอาซาว่า เราใช้ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อผู้บริโภคในธุรกิจแฟชั่นและสินค้า Luxury ในจีน อย่าง Peter Xu ที่มีผู้ติดตามกว่า 7.1 ล้านคน”ได้เชิญผู้ซื้อและผู้นำเข้าที่มีศักยภาพ อาทิ ผู้แทนจากห้าง Super Brand Mall กลุ่มธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม โครงการอสังหาริมทรัพย์ อาทิ La Bottega โรงแรมThe Sukhothai Shanghai ร้านอาหารในเครือ Hang Yuen International Brand ธุรกิจร้านอาหาร Hakkasan Shanghai รวมทั้งธุรกิจ E-Commerce สินค้าสุขภาพและความงามชั้นนำของจีน NALA เป็นต้น พร้อมกันนี้ได้เชิญบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมชั้นสูงในจีน ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อผู้บริโภค KOLs อย่างเช่น Mr.P สไตลิสชั้นนำของจีนที่มียอดผู้ติดตามใน Weibo กว่า 36 ล้านคน  รวมทั้งสื่อมวลชนและแขกมาร่วมงานมากกว่า 300 คน Thai Brand Heroes เจาะตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพ เช่น ตลาดLuxury ในจีน และตลาด Art Luxury ในสหรัฐอเมริกา ปีละ 10 -15 แบรนด์ คาดว่าในระยะเวลา 5 ปี ประเทศไทยจะมีแบรนด์กว่า 100 แบรนด์เป็นที่รู้จักในอาเซียนและมีแบรนด์กว่า 30 แบรนด์เป็นที่ยอมรับเวทีการค้าโลก

                  – ทั้งนี้ PASAYA ได้เจรจากับหน่วยงานภาครัฐของจีน เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการต่อยอดทางการค้า พัฒนาการค้าการสร้างแบรนด์ในประเทศจีน ตลอดจนความร่วมมือในการค้นคว้าและวิจัยหม่อนไหม พร้อมทั้งได้ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท CHINA SILK CORPORATION ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดรัฐบาลกลาง ในช่วงงาน CIIE เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 61 ณ National Exhibition and Convention Center (NECC) สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายหลังจากการจัดงาน Thai 10/10 Luxury

5.2 การเข้าร่วมงาน Chiangmai Design Fashion Week 2018

– กรมมีกำหนดจัดโครงการยกระดับสินค้าท้องถิ่นผ่านกิจกรรมแสดงผลงานและแฟชั่นโชว์
ผ่านการเข้าร่วมงานเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ (Chiangmai Design Week) ระหว่างวันที่ 8 – 16 ธ.ค. 61 โดยร่วมบูรณาการโครงการกับศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ (TCDC) เชียงใหม่

– โครงการดังกล่าวเป็นการนำผ้าไหมไทยซึ่งมีความโดดเด่นในแต่ละแหล่งผลิต อาทิ ผ้าไหมมัดหมี่จังหวัดขอนแก่นและนครราชสีมา ผ้าไหมยกดอกจังหวัดลำพูน ผ้าไหมแพรวาจังหวัดกาฬสินธุ์ ผ้าไหมพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น มาพัฒนาเป็นผ้าผืนและแปรรูปเป็นเสื้อผ้าไหมไทย มีการตัดเย็บด้วยเทคนิคชั้นสูง (Haute couture) และรูปแบบของแฟชั่นที่ทันสมัย กิจกรรมภายในโครงการประกอบด้วย กิจกรรมแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าไหมไทยที่ได้รับการออกแบบตัดเย็บด้วยศิลปะการตัดเย็บชั้นสูง ภายใต้แนวคิด “Thai Silk Couture” และนิทรรศการแสดงผลงานพร้อมสาธิตการปักแบบกูตูร์ ณ 137 พิลลาร์เฮาส์ (Pillar House) เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 11-16 ธ.ค. 61

– ผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ นอกจากเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและแสดงศักยภาพของประเทศไทยในภาพรวมเรื่องการขับเคลื่อนประเทศด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์แล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนท้องถิ่นให้สามารถผลิตผ้าไหมไทยเพื่อให้เข้าสู่ตลาดสินค้าแฟชั่นได้ ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการและนักออกแบบในภูมิภาคให้สร้างสรรค์ผลงานจากผ้าไหม หรือนำภูมิปัญญาผ้าไหมประจำถิ่นมายกระดับสินค้าท้องถิ่นให้มีความเป็นสากล ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 61 การส่งออกผ้าผืนทำจากไหมและเสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากไหมมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 6.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.34 โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ญี่ปุ่น เยอรมนี และฝรั่งเศส

 

  1. สินค้าเกษตรและจักรกลการเกษตร

6.1 การเจรจาธุรกิจ (B2B) ในประเทศ เช่น การจับคู่ธุรกิจสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อเร่งรัดการส่งออก กรุงเทพ วันที่ 8-9 พ.ย. 61

– มีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมกิจกรรมรวม 94 บริษัท 169 ราย และมีผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าเข้าร่วมกิจกรรมรวม 126 บริษัท 146 ราย จาก 28 ประเทศ อาทิ สหรัฐฯ แคนาดา ฮ่องกง จีน ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี ตุรกี สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาราเบีย อิสราเอล

– โดยเกิดการเจรจาจับคู่มากกว่า 1,000 คู่ สามารถตกลงสั่งซื้อสินค้าทันทีประมาณ 1,542 ล้านบาท มูลค่าการสั่งซื้อภายใน 1 ปี ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

– สินค้าที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ได้แก่ ข้าวขาว ข้าวหอมปทุมธานี ข้าวหอมมะลิ และข้าวกล้องชนิดต่างๆ

– นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการลงนามข้อตกลงซื้อขายข้าวไทย (MOU) จำนวน 4 ฉบับ รวม 93,000 ตัน ประกอบด้วย (1) ข้าวขาวและข้าวหอมมะลิจากผู้นำเข้าฟิลิปปินส์ 1 ฉบับ ปริมาณรวม 75,000 ตัน (2) ข้าวหอมมะลิออร์แกนิก (GI) กับผู้นำเข้าจีน 1 ฉบับ ปริมาณรวม 4,000 ตัน (3) ข้าวหอมปทุมธานีและข้าวหอมมะลิจากผู้นำเข้าฮ่องกง 2 ฉบับ ปริมาณรวม 14,000 ตัน

6.2 การจัดงานงานมหกรรมแทรกเตอร์และจักรกลการเกษตรไทย (THAITAM) จังหวัดนครปฐม วันที่ 2-6 ธ.ค. 61  เป็นความร่วมมืสามฝ่ายระหว่างกรมส่งเสรมการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลทางการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ยกระดับ และขยายช่องทางการตลาดอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรของไทยสู่ระดับสากล สรุปผลการดำเนินงานดังนี้

– ผู้นำเข้า 40 บริษัท 65 รายจาก 10 ประเทศใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ ไนจีเรีย กาน่า แคเมอรูน แอฟริกาใต้ โมซัมบิก อียิปต์ แทนซาเนีย ศรีลังกา กัมพูชา และมาเลเซีย

– ผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมจำนวน 55 บริษัท

– ประเภทสินค้า ได้แก่ เครื่องจักรกลการเกษตรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ รถไถเดินตาม อุปกรณ์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ เครื่องสีข้าว และระบบให้นํ้า เป็นต้น โดยในงานครั้งนี้ ได้เชิญบริษัท start up ใหม่ๆเข้าร่วมด้วย อาทิ ผู้ผลิตโดรนเพื่อการเกษตร และผู้ผลิตแขนกลอุตสาหกรรม (robot)

– การเจรจาการค้ามี 196 คู่เจรจา จากการประเมินในเบื้องต้นมีมูลค่าซื้อขายประมาณ 5.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 192 ล้านบาท)

– งานในครั้งนี้ ได้เน้นเจาะกลุ่มประเทศที่ใช้นโยบาย Rice Self Sufficiency โดยผู้แทนจากประเทศแคเมอรูน ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น สว. ได้มาเยือนงานนี้เป็นครั้งแรก มีความสนใจสินค้าจากประเทศไทยอย่างมาก และจะกลับไปเสนอเป็น big project ให้ ครมพิจารณา ทั้งนี้ กรมมีกําหนดนํา ผปก เครื่องจักรกลการเกษตรไปบุกเจาะตลาดแคเมอรูนและไนจีเรีย ในเดือน สค.62 ต่อไป

– นอกจากนี้ กรมยังมีกําหนดนํา ผปก. ไป sourcing technology เพื่อยกระดับสินค้าเครื่องจักรกลการเกษตร ตามแนวทางนโยบาย Thailand 4.0 ที่ประเทศเยอรมันในเดือน พย. 62

 

—————————————————-

 

 

 

แผนงานสำคัญ 62

 

  1. การปรับโครงสร้างกรม: อยู่ระหว่างการเสนอกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการฉบับใหม่ โดยขอจัดตั้ง 4 กองใหม่ ได้แก่ กองพัฒนาตลาดพาณิชย์ดิจิทัลระหว่างประเทศ กองพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ กองบริหารการคลัง และกองส่งเสริมการสร้างแบรนด์และสื่อสารการตลาด
  2. การเพิ่มกำลังคนในต่างประเทศ ทั้งผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ AEC Business Support Center ที่ปรึกษากิตติมาศักดิ์ (HTAs) และ (Trade Representative) โดยอยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการกำหนดกรอบอัตรากำลังให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาค
  3. บูรณาการการเชื่อมโยงระหว่างสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศกับสำนักงานพาณิชย์จังหหวัดเพิ่มขึ้น
  4. Branding: Thai Brand Hero

             (1) ส่งเสริมแบรนด์ต้นแบบรุ่นที่ 1 อย่างต่อเนื่อง โดยมีกรอบระยะเวลา ภายใน 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องตามระยะเวลาที่กำหนดใน Brand Roadmap จึงเห็นควรส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นที่ 1 อย่างต่อเนื่องในตลาดจีน (รุ่นที่ 1 Road to Shanghai) โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

–  แบรนด์ที่ได้รับการส่งเสริมในแต่ละปี อาจเป็น 1 แบรนด์ หรือ 10 แบรนด์ โดยจะพิจารณาจากความพร้อมในการเจาะตลาดจีน ทั้งนี้ แบรนด์จะต้องมีความพร้อมในด้านงบประมาณและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน (Action Plan) และสามารถดำเนินการได้ทันทีในปี 62 – 63

–  สัดส่วนงบประมาณสนับสนุน คือ กรมร้อยละ 10 – 20 และแบรนด์ร้อยละ 80 – 90

(2) สร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้าไทยอย่างต่อเนื่องในจีน (ปี 62 – 63) โดยจัดกิจกรรมในลักษณะ Experiential Showcase ในงานแสดงสินค้า Lifestyle หรือ Design Festival ระดับพรีเมียมในเวทีระดับโลก  และประชาสัมพันธ์ให้เกิดเชื่อมโยงช่องทางการค้าทั้ง online – offline เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อ-ขายสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคชาวจีนมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่การส่งเสริมแบรนด์และการจับคู่ทางธุรกิจ

(3) ส่งเสริมการสร้างแบรนด์ต้นแบบ Thai Brand Heroes รุ่นต่อๆไป เพิ่มมากขึ้น เพื่อผลักดันแบรนด์ไทยที่มีศักยภาพ ให้สามารถสร้างแบรนด์เข้าสู่ตลาดต่างประเทศและมุ่งหวังให้เกิด Thai Brand Heroes สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย สะท้อนให้เกิดความเชื่อมั่นและยกระดับภาพลักษณ์สินค้าจากประเทศไทย ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและใช้ระยะเวลามากกว่า 5 ปี หรือ ควรสร้างแบรนด์รายใหม่ๆ เป็นรุ่นต่อไป (อาจจะสร้างรุ่นใหม่ 2 ปี ต่อ 1 รุ่น) ปีละ 10 – 15 แบรนด์ โดยอาจดำเนินการในตลาดอื่นๆ เช่น ตลาด Superrich หรือ ตลาดงานศิลปะ/งานฝีมือ หรือตลาดสังคมชั้นสูง/ในแวดวงดาราระดับโลก  โดยดำเนินการในตลาดที่มีศักยภาพ อาทิ จีน/CLMV และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ อาจเน้นส่งเสริมแบรนด์ในอุตสาหกรรมรายคลัสเตอร์ ตามยุทธศาสตร์ของกรม อาทิ ธุรกิจบริการ ธุรกิจอาหารฮาลาล ธุรกิจสินค้าอาหาร ธุรกิจสินค้าไลฟ์สไตล์  เพื่อให้ภายใน 5 ปี ประเทศไทยจะมีแบรนด์กว่า 30 แบรนด์เป็นที่ยอมรับเวทีการค้าโลก

    (4)  สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้มีการสร้างแบรนด์ของตนเอง โดยจัดทำรายงานความก้าวหน้าในรูปแบบ Success Story ของทั้ง 10 แบรนด์ต้นแบบในรุ่นที่ ๑ เพื่อแสดงถึงผลการดำเนินโครงการของผู้ประกอบการและเผยแพร่เป็นกรณีศึกษา เพื่อให้เป็นแรงบันดาลใจให้กับแบรนด์ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนได้

  1. ธุรกิจบริการ ขยายขอบเขตธุรกิจ เชื่อมโยงท่องเที่ยว ลงทุน บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ผลักดันขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในทุกมิติ
  2. การส่งเสริมการค้าผ่านช่องทาง E-Commerce ผ่านการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการขยายความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเร่งพัฒนาระบบการใช้งานเว็บไซต์ com ให้มีประสิทธิภาพสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับ e-Marketplace ชั้นนำอื่นๆ ในระดับสากล อาทิ Amazon (สหรัฐฯ) Redmart / ShopJJ (สิงคโปร์) Gosoko (แอฟริกา) และของหน่วยงานในภาคส่วนต่างๆ ได้อย่างเต็มรูปแบบ รวมทั้งความร่วมมือด้านอื่นๆ เช่น e-Payment ร่วมกับ Visa, AliPay, PayPal, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ธนาคารกรุงเทพ e-Logistics ร่วมกับ บริษัท ดีเอชแอล เอ็กซ์เพรส, บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, บริษัท ชิปป๊อป จำกัด Digital Marketing ร่วมกับ Google Inc, Facebook, Line ตลอดจนทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ออนไลน์ในเชิงรุกเพื่อให้เกิดการซื้อขายที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
  3. การปรับการทำงานภายในองค์กรให้คล่องตัว ลดงานที่หน่วยงานอื่นทำได้ นำเทคโนโลยีมาใช้
    มากขึ้น
    โดยกรมมีแผนในการพัฒนาระบบ Big Data /Website/ Application ต่างๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการข้อมูล และสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่ายขึ้นและตรงตามความต้องการยิ่งขึ้นต่อไป

 

———————————————————————–