วันที่ 19 เมษายน 2564 เวลา 09.30 น. นายจำเริญ แหวนเพ็ชร พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นายประดิษฐ์ นัดทะยาย ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และนายเมธาสิทธิ์ สิริจันทร์ชื่น นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ) นำทีมพัฒนาการอำเภอบ้านแฮด เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.)และนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร.) ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ระดับครัวเรือน (House hold Lab Model for quality of life : HLM) ในพื้นที่อำเภอบ้านแฮด เพื่อพบปะช่างผู้ควบคุมงาน และครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างการรับรู้และทำความเข้าใจ รวมถึงสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้กับทุกฝ่าย เพื่อให้เข้าใจแนวทางการดำเนินงานอย่างชัดเจน พร้อมตอบปัญหาข้อซักถามแก่ช่างผู้ควบคุมงาน และครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ จากนั้นได้ลงพื้นที่เพื่อดูแปลงต้นแบบจำนวน 2 แปลง ดังนี้
1. แปลง HLM นางบุญเพ็ง ศรีบุดดา พื้นที่ดำเนินการ 1 ไร่ ใช้แบบมาตรฐาน 1:1 ดินร่วนปนทราย การดำเนินงานยังคงเหลือการขุดคลองไส้ไก่ การปรับแต่งคันนาทองคำ และการปรับตกแต่งให้ได้ตามมาตรฐาน
2. แปลง HLM นางหนูรัตน์ กิจเชาว์ พื้นที่ดำเนินการ 3 ไร่ ใช้แบบมาตรฐาน 1:1 ดินร่วนปนทราย ดำเนินการขุดวันที่ 2
จากนั้นเวลา 13.30 น. พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น ได้มอบหมายให้ นายเมธาสิทธิ์ สิริจันทร์ชื่น นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯ) พร้อมด้วยวิศวกรจิตอาสา จากชมรมศิษย์เก่าวิศวกรรม มข. อาจารย์ รักษ์เผ่า พลรัตน์ ลงพื้นที่สนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯโคก หนอง นา พช. พื้นที่อำเภอเปือยน้อย แปลง HLM ของ นางดารา คงเจริญ พื้นที่ 1ไร่ ใช้แบบมาตรฐาน 1:1 ดินร่วนปนทราย โดยมีพัฒนาการอำเภอเปือยน้อย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต.)ร่วมให้ข้อมูล
ในการนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์รักษ์เผ่า พลรัตน์ ศิษย์เก่าวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดตาม สนับสนุน ให้กำลังใจ และแนะนำ การจัดการที่ดิน พืชกันดินพังทะลาย และการเก็บกักน้ำ ในแปลงตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ ซึ่งเป็นลักษณะดินร่วนปนทราย ที่ขุดปรับปรุงแปลงใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของแปลง เจ้าหน้าที่ พช. นพต. และภาคีเครือข่าย และได้แนะนำเทคนิคทางวิศวกรรม ร่วมกับช่างโยธาจากองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในเรื่องการวัดและคำนวนปริมาณคิวดิน การทำตะพัก แนะนำวิธีการปลูกหญ้าแฝก ปลูกกล้วย แก่ครัวเรือนต้นแบบ แนะนำวิธีการวางช่องกริด และปักหมุดขอบเขตพื้นที่บ่อ แก่นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ
ทั้งนี้ ในการติดตามงานครั้งนี้ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค covid -19 อย่างเคร่งครัด อาทิ การสวมหน้ากากอนามัยตามมาตรการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย
—-ขอนแก่น : เมืองหัตกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่—-
ภาพ (:) กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน
ข่าว (:) กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สพจ.ขอนแก่น