ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการโคก หนอง นา พช.ศรีสะเกษพื้นที่อำเภอราษีไศล ซึ่งเป็นราษีไศลโมเดลในการบริหารจัดการการ ปรับสภาพพื้นที่จากความต้องการของครัวเรือนต้นแบบฯ

วันที่ 8 เมษายน 2564 เวลา 07.30 น. นางทรงลักษณ์ วรภัย ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นายจักรพงศ์ การีชุม ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาชุมชน ลงพื้นที่ติดความความก้าวหน้า รับทราบปัญหาความต้องการ การดำเนินการงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา พช.ศรีสะเกษ

โดย นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้ นายคำพอง วรรณวัติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นางสาวธนพร ขจิตเวทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นายสะมะภู สิงห์ดง พัฒนานาการอำเภอทุ่งศรีอุดม รักษาการในตำหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงสนประสาน และสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นายอำพล เข็มแก้ว พัฒนาการอำเภอราศีไศล นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด นักวิชาการสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอราศีไศล และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) อำเภอราษีไศล ร่วมให้การต้อนรับและร่วมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการโคก หนอง นา พช.ศรีสะเกษ ณ แปลงครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 2 แปลง ดังนี้

1) นายสุพิศ แก้วใส หมู่ที่ 2 ตำบลเมืองคง

2) นางอนงค์ ทองยุทธ หมู่ที่ 3 ส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

การดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.ศรีสะเกษ” ของอำเภอราษีไศล งบฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีจำนวนแปลงที่เข้าร่วมโครงการฯทั้งหมด 35 แปลง งบประมาณ 2,346,400 บาท ดังนี้

ขนาด 1 ไร่ จำนวน 22 แปลง (ออกแบบเอง)

ขนาด 3 ไร่ จำนวน 13 แปลง (ออกแบบเอง)

– ทำสัญญาแล้ว จำนวน 6 แปลง แบ่งเป็น

ขนาด 1 ไร่ จำนวน 3 แปลง

ขนาด 3 ไร่ จำนวน 3 แปลง

– ดำเนินการขุดและตรวจรับเรียบร้อยแล้ว จำนวน 5 แปลง

– อยู่ระหว่างดำเนินการขุด จำนวน 1 แปลง

– 29 แปลงที่เหลือ คาดว่าจะดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ภายในวันที่ 20 เมษายน 2564 (อยู่ในระหว่างการปรับแบบ)

และโครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” (งบกรม) มีครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการฯทั้งหมด 35 แปลง งบประมาณ 1,934,800 บาท แยกเป็น

ขนาด 1 ไร่ จำนวน 29 แปลง (ออกแบบเอง)

ขนาด 3 ไร่ จำนวน 6 แปลง (ออกแบบเอง)

– ทำสัญญาแล้ว จำนวน 35 แปลง

– ดำเนินการขุดและตรวจรับเรียบร้อยแล้ว จำนวน 9 แปลง แยกเป็น

ขนาด 1 ไร่ จำนวน 8 แปลง

ขนาด 3 ไร่ จำนวน 1 แปลง

– อยู่ระหว่างดำเนินการขุด จำนวน 2 แปลง แยกเป็น

ขนาด 1 ไร่ จำนวน 1 แปลง

ขนาด 3 ไร่ จำนวน 1 แปลง

ทั้งนี้ นางทรงลักษณ์ วรภัย ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ได้กล่าวว่า ท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป้าหมายของการทำงานกรมการพัฒนาชุมชน คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย งานใดที่ทำแล้วส่งผลให้พี่น้องประชาชน มีความสุขสามารถยิ้มได้ กรมการพัฒนาชุมชนพร้อมที่จะดำเนินการ และได้เน้นย้ำถึงการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ โคก หนอง นา การปฏิบัติหน้าที่ของนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) เป็นการทำงานที่ต้องอยู่ภายใต้บริบทภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ โดยยึดความต้องการครัวเรือนต้นแบบฯ และการออกแบบตามหลักภูมิศาสตร์ การดำเนินงานดังกล่าว จึงต้องบูรณาการกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในการออกแบบฯให้เหมาะสม และรองรับการควบคุมงาน ให้เกิดความราบรื่น เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ในการนี้ นางทรงลักษณ์ วรภัย ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ได้ถอดบทเรียนแนวคิดและผลสัมฤทธิ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติหน้าที่ของนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ที่ผ่านมา ทำให้ได้ทราบถึงประเด็นสำคัญจากการประมวลผลการดำเนินงานดังนี้

1) การได้รับโอกาสในการทำงาน จากผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)

2) เกิดการแลกเปลี่ยนรียนรู้และประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งส่วนราชการ ครัวเรือนต้นแบบฯ และประชาชนในพื้นที่

3) เกิดองค์ความรู้

4) ได้พัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิด

5) สามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบอย่างยั่งยืน

6) สามารถพัฒนาครัวเรือน/ชุมชน ให้พี่งตนเองได้

7) สืบสาน รักษา ต่อยอด และส่งเสริมให้เยาวชน น้อมนำหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นา พช.มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19

และได้กล่าวขอบคุณทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอราษีไศล ในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา ให้มีความก้าวหน้าจนสามารถดำเนินการขุดปรับพื้นที่ทำให้ โคก หนอง นา พช.ราษีไศล คืบหน้าอย่างต่อเนื่อง สามารถเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการโครงการ โคก หนอง นา พช.ศรีสะเกษ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชน นอกจากนี้ยังให้ติดตามสนับสนุนส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบฯ ในการรับการสร้างเสริมองค์ความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงาน