ผู้หญิงกับจิตสำนึกสาธารณะ

เมื่อเอ่ยถึง “การเมือง” ความรู้สึกแรกของคนทั่วไปก็คือ “เราไม่ควรไปยุ่งกับการเมือง”“อย่าไปยุ่งกับการเมืองนะ” “เบื่อการเมือง-การเมืองน่าเบื่อ” “การเมืองเป็นเรื่องสกปรก” “การเมืองไม่ใช่เรื่องของเรา-เป็นเรื่องของนักการเมือง”และอื่น ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่หมายถึงการเมืองเป็นเรื่องยุ่งยากและเป็นเรื่องที่จะนำความวุ่นวายมาสู่ตัวเรา เพราะมองเห็นว่าการเมืองเป็น เรื่องสกปรก ไม่มีความจริงใจ มีแต่ทะเลาะวิวาทเพื่อปกป้องประโยชน์ของตนเอง อาจเป็นเพราะได้ยินบ่อย ๆเกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง ฉะนั้น จึงไม่ควรยุ่งเรื่องการเมืองเลยยิ่งไปกว่านั้น ก่อนหน้านี้ หากผู้ใดจะรวมตัวกันตั้งเป็นสมาคม หรือมูลนิธิ ที่เป็นนิติบุคคลดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณกุศลก็ตาม จะต้องมีวัตถุประสงค์ข้อหนึ่ง ระบุว่า ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” ปัจจุบัน สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่รับจดทะเบียนสมาคมหรือมูลนิธิ ได้ประกาศยกเลิกวัตถุประสงค์ข้อนี้ไปแล้วดังนั้น การจะให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า การเมือง คืออะไร? การเมืองมีความสัมพันธ์กับชีวิตเราอย่างไร? จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนและละเอียดอ่อนแต่ถ้าเราเริ่มตั้งคำถามว่า กิจวัตรประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน เราทำอะไรบ้าง? และไล่ถามแต่ละกิจกรรมที่ เช่น ล้างหน้า ถามว่าเกี่ยวข้องกับการเมืองไหม เพราะอะไร และถามว่า มีกิจวัตรใดบ้างที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง คำตอบเกือบจะร้อยทั้งร้อย ก็มักจะตอบว่า แทบไม่มีกิจวัตรใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองการล้างหน้า มีทั้งการใช้น้ำ ใช้วัสดุอื่น ก็เป็นการใช้ทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งโยงไปสู่ปัญหาว่าจะจัดสรรน้ำอย่างไร ใครเป็นผู้กำหนดราคาน้ำ แบ่งสรรกันอย่างไร การแบ่งสรรการจัดการน้ำ คือ การเมืองนั่นเอง หรือจะพูดถึงการหายใจ หากอากาศที่หายใจเข้าไปไม่บริสุทธิ์หรืออากาศไม่ดี ก็เป็นการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็ย่อมหนีไม่พ้นการเมืองแน่นอนและหากไม่ล้างหน้า ก็จะเกิดปัญหาผด ผื่น คัน ไปลงเอยที่ต้องไปรักษาพยาบาล เกี่ยวพันกับนโยบายด้านสุขภาพ ซึ่ง คือ การเมืองนั่นเอง เมื่อกิจวัตรประจำวันของคนเรา เกี่ยวกับการเมืองทุกกิจกรรม

ฉะนั้น ก็คงจะพอสรุปได้ว่าการเมืองเกี่ยวพันกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราอย่างแนบแน่น ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน แม้กระทั่งเวลาหลับ และเกี่ยวพันกับคนเราตั้งแต่เกิดจนตายเมื่อการเมืองเกี่ยวข้องกับทุกคน การเมืองจึงเป็นเรื่องของคนเราทุกคน เราอยากให้การเมืองเป็นเช่นไร เราทุกคนก็ต้องสนใจการเมือง และเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อช่วยกัน ทำให้การเมืองดี ต้องลงแรงร่วมกัน สร้างสรรค์ให้ได้การเมืองดี จึงจะส่งผลให้ชีวิตเราดีไปด้วย และย่อมส่งผลดีต่อประชาชนทั่วประเทศ เพราะถ้าคนส่วนใหญ่ไม่สนใจการเมือง ปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของคนบางกลุ่ม เช่น นักการเมือง พ่อค้า นักธุรกิจ ฯลฯ หรือคนที่เป็นมือ เป็นไม้ ให้คนเหล่านั้น คนกลุ่มนั้นก็จะใช้อำนาจไปตามความต้องการของตน ส่งผลให้การเมืองแย่ ซึ่งจะทำให้ชีวิตเราแย่ตามไปด้วย ดังนั้นในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย คนในสังคมจึงต้องเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองและทำให้การเมืองดีขึ้นด้วยตัวของตัวเองอันจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของตนรวมทั้งประเทศชาติบ้านเมืองดีขึ้น เราเรียกผู้ที่สนใจมีส่วนร่วมนี้ว่าเป็นผู้ที่มีจิตอาสา หรือบางครั้งก็เรียกว่าผู้มี  จิตสำนึกสาธารณะ” ซึ่งคำสองคำนี้มีความเข้มข้นในเชิงพฤติกรรมที่แตกต่างกัน

พระไพศาล วิสาโล ได้กล่าวถึงความหมายของคำว่า จิตอาสาว่า เนื้อแท้ของความเป็นอาสาสมัครนั้นอยู่ที่จิตใจ คือมี ‘จิตอาสา’ ที่ต้องการช่ว ยเหลือ ผู้อื่น หรือนึกถึงส่วนรวม จะเป็นชาวบ้า นน ครู พ่อค้า แม่ค้า นักธุรกิจ ข้าราชการ ก็สามารถเ ป็นอาสาสมัครได้ตลอดเวลา หากมีจิตใจที่คำนึงถึงส่วนรวมอยู่เสมอ เราจำเป็นต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ‘อาสาสมัคร’ นั้นไม่ใช่เป็นอาชีพ หากคือ สำนึกที่สมควรมีอยู่ คู่กับความเป็นมนุษย์ของเราจนกว่าชีวิตจะหาไม่”

ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกันสำหรับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายจิตสำนึกสาธารณะไว้ว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติกล่าวโดยสรุป จิตอาสา หมายถึง การสมัครใจเสียสละในการช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมส่วนรวม เช่น เด็กคนหนึ่งเห็นคนอื่นทิ้งขยะไม่เป็นที่ ก็เดินไปหยิบเศษขยะนั้นมาทิ้งในถังขยะส่วนจิตสำนึกสาธารณะ นั้นหมายถึง สำนึกของประชาชนในการดูแลคุ้มครองประโยชน์และความเป็นธรรมของสังคม จากตัวอย่างข้างต้น เด็กคนนั้นเมื่อเห็นคนอื่นทิ้งขยะไม่เป็นที่ แรก ๆ ก็เก็บขยะไปทิ้งให้ แต่ก็ยังมีคนทิ้งขยะไม่เป็นที่อีก ที่ปัญหายังไม่หมดไปเพราะพฤติกรรมการทิ้งขยะของคนในสังคมยังไม่เปลี่ยน น่าคิดว่าถ้าเด็กคนนั้นแสดงความกล้าเดินไปบอกคนทิ้งขยะไม่เป็นที่นั้นด้วยท่าทีที่สุภาพเพื่อให้เขานำขยะไปทิ้งเสียให้ถูกที่ เพราะหากเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเทศกิจ มาเห็นเข้าจะเดือดร้อนอาจถูกจับปรับได้ ผลจะเป็นอย่างไร

ซึ่งจะเห็นว่า ในกรณีเดียวกันแต่มีพฤติกรรมแสดงออกแตกต่างกันจะส่งผลต่อการแก้ปัญหาและการพัฒนาบ้านเมืองที่แตกต่างกันด้วยเปรียบเทียบในสังคมทั่วไป ทุกวันนี้ ผู้คนคุ้นเคยกับคำว่า“จิตอาสา” ซึ่งมีทั้ง “จิตอาสา” ที่สมัครอย่างเป็นทางการและ”จิตอาสา” โดยธรรมชาติ ขณะเดียวกัน ในชีวิตประจำวันของเราเราจะพบสารพัดป้าย และมีป้ายประเภท โปรดลุกขึ้นให้ เด็ก สตรีคนชรานั่ง” ป้าย “โปรดรักษาความสะอาด”, “โปรดทำความสะอาดก่อนออกจากห้องน้ำ”, “ปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดแอร์ ก่อนออกจากห้อง”,“โปรดทิ้งขยะลงในถัง”, “ห้ามสูบบุหรี่”, “ขึ้นลงชั้นเดียวโปรดใช้บันได” ฯลฯ เราคุ้นชินกับป้ายเหล่านี้ เพราะพบเห็นกันบ่อย ๆ แทบทุกแห่งที่เราผ่านไป แท้ที่จริง ป้ายเหล่านี้ บอกให้รู้ว่า คนส่วนใหญ่ยังขาด “ จิตสำนึกสาธารณะ” ขาดความรับผิดชอ ต่อสังคมโดยรวมจึงต้องเขียนป้ายเตือน ซึ่งอาจจะได้ผลบ้างสำหรับคนที่ยังมีจิตสำนึกสาธารณะ และอาจไม่ได้ผลเลยสำหรับคนที่ขาดจิตสำนึกสาธารณะน้ำท่วมกรุงเทพในเดือนตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา สิ่งที่สะท้อนว่า คนส่วนหนึ่งยังขาดจิตสำนึกสาธารณะ คือภาพขยะนานาชนิด ที่ไปอุดปากทางระบายน้ำในอุโมงค์แต่ละแห่งของกรุงเทพมหานคร ทั้งขยะเล็ก ขยะใหญ่ นานาสารพัด คนที่มีพฤติกรรมแบบนี้ คือ ขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ขาดจิตสำนึกสาธารณะนั่นเองดังนั้น การมี จิตสำนึกสาธารณะ” ของประชาชน จึงสามารถแสดงออกได้หลายวิธี เช่น

 

  1. การแสดงความคิดเห็นประชาชนต้องกล้าแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน ให้ทุกคนตระหนักในปัญหาของชุมชนส่วนรวมและกระตุ้นให้คนในชุมชนตื่นตัวลุกขึ้นมาแก้ปัญหาด้วยตนเอง และด้วยพลังของชุมชนเองก่อน โดยไม่รอความช่วยเหลือจากภายนอกหรือจากรัฐแต่เพียงอย่างเดียว
  2. การวิเคราะห์ วิจัยการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาสาธารณะ เมื่อได้ผลการศึกษา สำรวจ เห็นว่ามีผลกระทบและเป็นประโยชน์ต่อสังคมแล้วก็จะนำมาเสนอเพื่อให้สังคมได้รับรู้และตระหนัก ก็ถือว่าเป็นผู้มีจิตสำนึกสาธารณะด้วยเช่นกัน
  3. การติดตาม ตรวจสอบ การทำงานของภาครัฐและนักการเมือง ทุกระดับในฐานะที่ผู้นำสตรีเป็นผู้มีจิตสำนึกสาธารณะ เป็นผู้นำทางความคิดและกระตือรือร้นสนใจกิจกรรมของส่วนรวม รวมทั้งหวงแหนในสิทธิประโยชน์ของส่วนรวม จึงทำหน้าที่ติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐและนักการเมืองทุกระดับ รวมทั้งเข้าร่วมการต่อสู้เรียกร้องความถูกต้องเป็นธรรมจากรัฐเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
  4. การคัดค้าน สนับสนุน เสนอแนะหากมีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้น เช่น มีการทุจริตคอร์รัปชั่น มีการสร้างความเสียหายเดือดร้อนแก่ประชาชน หรือประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม ผู้นำสตรีต้องกล้าที่จะแจ้งเจ้าหน้าที่บ้านเมือ งหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือผู้บริหารท้องถิ่นทราบเพื่อดำเนินการกับผู้กระทำความผิด หรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ รวมทั้งกล้าคัดค้านหรือเสนอแนะ หรือเข้ามีส่วนร่วมดำเนินการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงแก้ไข ในขณะเดียวกันก็ต้องกล้าสนับสนุนนโยบาย หรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มิใช่นิ่งดูดายปล่อยให้ดำเนินการตามลำพังโดยไม่ให้ความช่วยเหลือใด ๆ จิตสำนึกสาธารณะ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ แต่เกิดจากการเอาชนะใจตนเองมีชีวิตเหนือความโลภ ความหลง และต้องฝึกฝน ประพฤติ ปฏิบัติเป็นประจำ จากเรื่องเล็ก ๆ ไปสู่เรื่องใหญ่จนเป็นนิสัยประจำตัว ความเป็นพลเมืองผู้มี “จิตสำนึกสาธารณะ” จึงไม่ได้เป็นมาตั้งแต่เกิด ไม่ได้อยู่ที่ฐานะ ชาติตระกูล หรือการศึกษา หากแต่อยู่ที่การฝึกฝนบ่มเพาะความประพฤติ พฤติกรรมให้เป็นผู้สมัครใจ เสียสละทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ

ดังนั้น จึงควรมีการปลูกฝัง “จิตสำนึกสาธารณะ” ให้แก่คนในสังคมตั้งแต่เด็ก โดยบุคคลในครอบครัวและครู ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการอบรมสั่งสอนและเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าในจำนวนคนที่ทำหน้าที่จิตอาสา ไม่ว่าจะเป็นการสมัครอย่างเป็นทางการหรือโดยธรรมชาติ มากกว่า 60 % จะเป็นผู้หญิง ทั้งนี้ เพราะโดยปกติส่วนใหญ่ผู้หญิงก็ทำงานเพื่อคนอื่นมากกว่าเพื่อตนเองอยู่แล้ว ผู้หญิงจึงมีบทบาทสำคัญ ทั้งในด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี และการปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะแก่บุคคลอื่น โดยตนเองต้องเป็นแบบอย่างก่อน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว