ยุค 4.0 เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ดังนั้น หนึ่งในการขับเคลื่อนจึงมีกลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อเช่น เทคโนโลยีด้านการเงิน อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้กำลังคน รวมทั้งการดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกกันจนคุ้นชินว่า E-Commerceตลาดออนไลน์ถือได้ว่าเป็นตลาดแนวใหม่ที่กำลังมาแรงและแซงทางโค้งธุรกิจการค้าแบบปกติ ปัจจุบันผู้ค้าทั้งเก่าและใหม่ต่างลงแข่งขันในตลาดประเภทนี้อย่างคึกคักจากการสำรวจของ iTruemart.com ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการตลาด E-Commerce และตลาด B2C คาดการณ์ว่าภายใน 5 ปีจากนี้ สัดส่วนมูลค่า E-Commerce ในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 7-8% ของประเภทตลาดการค้าปลีก นั่นทำให้เห็นว่ายุ ตอนนี้ 1% ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท และใน 5 ปีมีโอกาสขยายเป็น2.8 แสนล้านบาท เนื่องจากเมื่อมีการเริ่มต้นใช้ E-Commerceอย่างแพร่หลายแล้ว การเติบโตจะเป็นแบบก้าวกระโดดทันทีE-Commerce มีหลายประเภท (ขอบคุณข้อมูลจากiTruemart.com)
- Business to Consumer (B2C) : ผู้ประกอบการ กับผู้บริโภค เป็นการค้าระหว่างผู้ประกอบการค้าถึงผู้บริโภคโดยตรง
- Business to Business (B2B) : ผู้ประกอบการ กับผู้ประกอบการ ลักษณะการค้าแบบนี้รวมถึงการค้าส่ง หรือการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (SupplyChain Management)
- Consumer to Consumer (C2C) : เป็นการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค อาจเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มผู้บริโภคด้วยกัน หรืออาจทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง หรือเป็นประเภทของการขายของมือสอง เป็นต้น
- Business to Government (B2G) : ผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชน กับภาครัฐ ที่ใช้กันมากคือ เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement
- Government to Consumer (G2C) : เป็นการบริการทางการค้าของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า E-Commerce มีหลายประเภท โดยแบ่งแยกตามคู่ค้าเป็นสำคัญ ซึ่งบางท่านอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับธุรกิจของตนเอง แต่แท้จริงแล้วหากเข้าใจในระบบE-Commerce จะเห็นได้ว่าวงจรของการติดต่อธุรกิจก็จะแบ่งแยกตามขนาดของธุรกิจหรือกลุ่มลูกค้านั่นเองเมื่อโลกเปลี่ยนแปลงการปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจจึงต้องปรับตัวตามไปด้วย ค่ายยักษ์ใหญ่หลายค่ายที่พยายามทำการตลาดให้หนักขึ้นเพื่อสู่วิถีการตลาดแบบ E-Commerce
เนื่องจากเดิมผู้ประกอบการส่วนใหญ่เน้นการทำตลาดโดยใช้หน้าร้านเป็นสำคัญ แต่ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปเน้นความสะดวกรวดเร็วและทำงานผ่านเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ช่องทางการทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตจึงได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นช่องทางการจำหน่ายสินค้านานาประเภทจึงควรให้ความสำคัญกับการทำตลาด E-Commerce เพื่อเพิ่มช่องทางการขายมากยิ่งขึ้นในสังคมยุคดิจิทัลหากมองย้อนกลับไปเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา พฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ยังคงเป็นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ การใช้งานอาจยังไม่สะดวกเท่าที่ควร แต่ในสังคมปัจจุบันผู้บริโภคจะใช้โทรศัพท์ประเภท Smart Phone ในการใช้งานเพื่อความคล่องตัวและรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์ที่พกติดตัวตลอดเวลาอยู่แล้ว หลายบริษัทยักษ์ใหญ่เติบโตได้ดีในการจำหน่ายสินค้าแบบ E-Commerce และอีกหลายรายถูกผลกระทบจากตลาดE-Commerce จนทำให้ประสบภาวะขาดทุนอย่างหนักกรณีศึกษาร้านของเล่น Toys “R” Us ยื่นขอล้มละลายจากปัญหาหนี้รุมเร้าจากหนี้สินและกรณีพ่ายแพ้ให้กับตลาด E-Commerce
Toys “R” Us เครือร้านของเล่นรายใหญ่ระดับโลก ประสบภาวะขาดทุน และมีหนี้สินสะสมมายาวนาน ซึ่งปัจจุบันมีสาขาทั้งหมด 1,948 แห่ง ใน 38 ประเทศทั่วโลก และในประเทศไทยมีร้านของเล่นดังกล่าวถึง 12 สาขาทั่วประเทศ (ตัวเลขจากรายงานผลประกอบการปี 2016) Toys “R” Us ต้องประสบปัญหาทางธุรกิจที่มีคู่แข่งออนไลน์มาช่วงชิงตลาดของเล่น แม้บริษัทจะผลักดันโดยเพิ่มช่องทางการขายนอกจากหน้าร้าน เป็นขายผ่านทางเว็บไซต์และส่งไปรษณีย์โดยตรง หรือการสั่งผ่านเว็บไซต์แล้วให้ลูกค้าไปรับที่หน้าร้านก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการทำการตลาดE-Commerce ของ Toys “R” Us ยังไม่แข็งแรงพอเมื่อมีคู่แข่งแบบAmazon ซึ่งถือว่าเป็นยักษ์ใหญ่สำหรับการค้าแบบ E-Commerceจากกรณีข้างต้นทำให้ผู้ประกอบการหลายรายตระหนักมากขึ้นกับการทำตลาดประเภทนี้ เนื่องจากยุคดิจิทัลเป็นยุคแห่งการช่วงชิงเม็ดเงินจากช่องทางออนไลน์ แต่อย่างไรก็ตามการที่จะประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาดแบบเดิมหรือการทำการตลาดแนวใหม่ล้วนต้องมีปัจจัยเป็นองค์ประกอบการทำตลาด E-Commerce ที่ดี ที่เหมาะ ที่ควรนั้น ควรมี 3 สิ่งในการส่งเสริม ดังนี้
- Uniqueness ผ้ปู ระกอบการจะต้องหาจุดยืนของสินค้าตนเอง และต้องเป็นจุดยืนที่โดดเด่นต้องหาเหตุผลมาสนับสนุนให้ได้ว่าทำไมลูกค้าต้องมาซื้อสินค้าออนไลน์ของตน เพราะมีสินค้ามากมายที่มีคุณลักษณะเดียวกัน
- Experience หรือจะเรียกว่าความน่าเชื่อถือก็เป็นได้ เช่น ระบบต่าง ๆ ของร้านค้า ไม่ว่าจะเป็นระบบการสั่งซื้อ การจ่ายเงิน ระบบการจัดการ รวมทั้งการออกบิลเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและการจัดส่งสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่โฆษณา เป็นต้น
- Great Customer Service ต้องมีการตอบสนองลูกค้าด้วยความรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นการรับออเดอร์สินค้า หรือแม้กระทั่งการจัดส่งก็ต้องดำเนินด้วยความรวดเร็วเช่นกันท้ายที่สุดไม่ว่าผู้ประกอบการจะดำเนินธุรกิจแบบไหน การตามกระแสโลกเป็นสิ่งสำคัญที่สุดหากธุรกิจยังตามกระแสโลกไม่ทัน ช่องทางและโอกาสย่อมหายไปเรื่อย ๆ เนื่องจากไม่เฉพาะกระแสการซื้อของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป ยังคงมีผู้ประกอบการหน้าใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะการทำธุรกิจบนตลาด E-Commerce
ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ… ไม่เฉพาะตลาดE-Commerce เท่านั้นที่ผู้ประกอบการต้องตามกระแสให้ทันที่สำคัญ…ไม่ควรละทิ้งตลาด Offline เดิมหรือช่องทางการขายเดิมที่ทำอยู่… ควรเดินหน้าควบคู่กันไปเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจ
***ข้อมูลรูปภาพจาก THAI E-COMMERCE ASSOCIATION