สวัสดียามเช้าวันนี้พี่หนุ่ม-สุทนจะพาเดินทางไปรู้จักวัดเขาคอก ตั้งในเขตเชิงเขาบริเวณเส้นทางเข้าโรงเรียนนายร้อยจปร อ.บ้านนา จ.นครนายก วัดเขาคอก ต้องย้อนกลับไปในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณวัดเป็นป่าหนาทึบไม่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ ต่อมามีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินธุดงค์มาปักกรดเพื่อนั่งกรรมฐานชายป่าเชิงเขานั้นคือหลวงปู่สันธ์. หลวงปู่สันธ์นั่งกรรมฐานอยู่มีเสือโคร่งตัวใหญ่มากเดินเข้ามาหาหลวงปู่สันธ์แต่หลวงปู่มีสมาธิดีนั่งแผ่เมตตาไปเสือตัวนั้นก็กลับเข้าป่าไป และต่อมาชาวบ้านเข้ามาหาของป่าพบเห็นพระภิกษุนั่งกรรมฐานอยู่ในป่าก็เลยนิมนต์ให้ท่านออกบิณฑบาตจากชาวบ้าน ต่อมาได้สร้างวัดขึ้นมาที่เชิงเขาแห่งนี้ปัจจุบันคือวัดเขาคอก.
เรื่องราวของหลวงสันธ์มีอีกมากขอเล่าย่อๆให้ฟังหลวงปู่สันธ์ได้พบกับงูเห่าตัวใหญ่มากเลื้อยเข้ามาภายในวัดซึ่งมีญาติโยมมาทำบุญวัดเขาคอกปรากฎว่าทุกคนตกใจกันมากจะหนีก็ยังคิดอยู่แต่หลวงปู่สันธ์ตั้งจิตแผ่เมตตาบอกงูเห่าไม่ให้ทำร้ายญาติโยมแล้วงูเห่าก็กลับเข้าป่าไปแล้วต่อมาในปี 2547 หลวงปู่สันธ์มรณะภาพจากชาวบ้านในเขตจ.นครนายกไปด้วยอายุ 97 ปี แต่สังขารไม่เน่าทางวัดได้อัญเชิญประดิษฐานในโรงแก้าและสังขารของหลวงสันธ์จะกลายเป็นหินเนื่องจากท่านเป็นพระสายป่าเดินธุดงค์ไปตามป่าดงดิบโดยเฉพาะภาคอีสาน. วัดเขาคอกปัจจุบันเป็นวัดที่พระอาจารย์ณรงค์ชัยเป็นเจ้าอาวาสและท่านได้เดินทางไปประเทศอินเดียเมื่อไปแสวงบุญได้พบสถูปของพระพุทธเจ้าจึงได้จำแบบมาแล้วมาจัดสร้างเป็นพระอุโบสถในรูปแบบของสถูปเจดีย์โดยมีสัญลักษณ์คล้ายดอกบัวครอบเป็นหลังคาและสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งคือสิงห์โตสัตว์ผู้มีอำนาจในป่าเพราะว่ารูปปั้นสิงห์โตเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งประเทศอินเดียผู้เผยแพร่พระพุทธศาสนามายังแคว้นสุวรรณภูมิดังนั้นวัดเขาคอกน่าเดินทางไปเที่ยวชมและศึกษาความเป็นมาของพระอุโบสถและได้กราบพระเกจิอาจารย์สายป่ากรรมฐานหลวงปู่สันธ์อีกด้วย
การเดินทางไปสี่แยกไปโรงเรียนนายร้อย จปร.แล้วตรงไปถึงตู้ยามทหารเลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 2 ก.ม วัดเขาคอกอยู่ขวามือ. นครนายก ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบยั่งยืนหรือจะเรียกว่าวิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนหอยทากก็ได้เพราะทางบริษัท เอเดนอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดได้จัดตั้งเป็นศูนย์เกษตรยั่งยืนที่จังหวัดนครนายกเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงหอยทากยักษ์เนื่องจากเขตจังหวัดนครนายกพื้นที่เป็นเทือกเขามีป่าชุ่มชื่นและพื้นที่ราบทำนา ทำสวน ทำไร่ก็เลยทำให้หอยทากยักษ์จะออกมาในยามค่ำคืนแล้วกินพืชผักและต้นข้าวตามนาข้าว พอชาวบ้านพบเห็นหอยทากยักษ์ก็รังเกียจ เอาไปทำลายให้มันตายไป แต่ปัจจุบันเมื่อมีโครงการเกษตรยั่งยืนเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนให้เลี้ยงหอยทากยักษ์ในเขตจังหวัดนครนายกเกษตรเห็นคุณค่าของหอยทากยักษ์ทำเป็นฟาร์มเลี้ยงหอยทากยักษ์และมีผู้เลี้ยงฟาร์มเล็กหรือฟาร์มใหญ่ 70 รายจะมีการส่งให้มีผู้เลี้ยงหอยทากยักษ์ 100 รายในเขตจังหวัดนครนายก ถ้ามีโอกาสได้เดินทางไปเที่ยวนครนายกไปพักที่ศูนย์โครงการเกษตรยั่งยืนนครนายกช่วงเวลา 09.00 น.ทุกวันจะมีเกษตรนำเมือกหอยทากยักษ์ที่เก็บเมือกหอยทากยักษ์แล้วมาส่งภายในศูนย์นักท่องเที่ยวสามารถชมการตรวจสอบความเข้มข้นของเมือกหอยทากยักษ์ได้ เมือกหอยทากยักษ์จะนำไปผลิตเป็นเครื่องสำอางมีคุณภาพสูงช่วยชะลอวัยของเซรั่มและช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ไฟโบบลาสผิวหนังมนุษย์เมื่อได้รับผลิตภัณฑ์เซรั่มและช่วยบำรุงผิวหน้าให้ขาวใสขึ้น. หอยทากเป็นสัตว์ดั้งเดิมของแอฟริกาและหอยทากขยายพันธ์ได้ดีในเขตร้อนชื้น เช่น ไทย อินเดีย และอินโดนีเซีย หอยทากยักษ์มันสามารถกินใบไม้ได้มากถึง100ชนิด
ถ้านักท่องเที่ยวสนใจจะเดินทางไปเที่ยวชมหรือพักแรมภายในศูนย์โครงการเกษตรยั่งยืน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณวรนัน ภัทรธุวานัน โทรศัพท์ 081-7336430