มะเร็งต่อมลูกหมาก นับว่าเป็นมะเร็งอันดับต้นๆของผู้ชาย มีแนวโน้มในการเกิดเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยทั่วไปมักไม่แสดงอาการชัดเจน แต่อาจมีอาการคล้ายต่อมลูกหมากโต หน้าที่ของต่อมลูกหมากโดยปกติทำหน้าที่สร้างน้ำเมือกนการมีเพศสัมพันธ์ช่วยหล่อเลี้ยงอสุจิ และปกป้องสารพันธุกรรมของอสุจิ มีขนาดโตขึ้นตามวัย กระทั่งอายุมากขึ้นต่อมลูกหมากอาจโตจนเริ่มอุดตันท่อปัสสาวะทำให้ปัสสาวะลำบาก ส่วนการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก เกิดจากเซลล์ที่มีความผิดปกติ มีการเจริญเติบโต และการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วหรือมีการทำลายเซลล์ปกติของต่อมลูกหมาก อาการที่สังเกตได้ คือ ปัสสาวะไม่สุด ไม่พุ่ง ปัสสาวะบ่อยกลางคืน ปวดเมื่อปัสสาวะ หรือหลั่งน้ำอสุจิ มีเลือดปนในปัสสาวะ ส่วนการยืนยันผลต้องทำการตรวจเฉพาะทางเท่านั้น หากเริ่มมีอาการผิดปกติ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
การรักษาปัจจุบัน ของมะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์จะพิจารณาทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสม ได้แก่ ขนาด ตำแหน่ง ระยะของเซลล์มะเร็ง สภาพร่างกายความพร้อมของผู้ป่วย รวมถึงคุณภาพชีวิตหลังการรักษา โดยอาจใช้วิธีการ ผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด ร่วมกับการให้ยาหรือการรักษาด้วยฮอร์โมน(เพื่อลดฮอร์โมนเพศชาย หรือกำจัดออก)
สมุนไพรทางเลือก ขมิ้นชัน สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก
ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ในการบรรเทาและรักษาโรค เช่น รักษาโรคระบบทางเดินอาหาร ท้องอืด ช่วยย่อย โรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านอักเสบ ต้านมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผล กลากเกลื้อน รวมถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องกับผิว เช่น ฤทธิ์ต้านการเกิดสิว ฤทธิ์ปกป้องผิวและลดริ้วรอย ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสเพื่อลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน เป็นต้น
จากการศึกษา มีงานวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่าขมิ้นชันมีฤทธิ์ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยมีผลยับยั้งกระบวนการอักเสบ ซึ่งการอักเสบที่เกิดขึ้นเรื้อรังของเซลล์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง1
การศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นพบว่า เมื่อให้สารเคอร์คูมินจากขมิ้นชัน 100 มิลลิกรัม ร่วมกับสารสกัดไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง 40 มิลลิกรัม เป็นเวลา 6 เดือน มีผลลดค่า PSA ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก ในกลุ่มที่มีค่า PSA สูงกว่าหรือเท่ากับ 10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยมีผลยับยั้งกระบวนการอักเสบและต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน2
สำหรับการประยุกต์ใช้สมุนไพร “ขมิ้นชัน” ในผู้ที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือตรวจพบค่า PSA สูงกว่าปกติ สามารถเลือกใช้ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรทางเลือกควบคู่กับการรักษามาตรฐาน และควรพิจารณาค่าสาระสำคัญของตัวยาขมิ้นชันนั้นๆ โดยหากเป็นขมิ้นชันของอภัยภูเบศร ซึ่งมีสารสำคัญ curcuminoids ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก (w/w) สามารถรับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง และอาจเสริมด้วยนมถั่วเหลือง(ซึ่งมีสารไอโซฟลาโวน) วันละ 1 แก้ว โดยเลือกสูตรหวานน้อย เพื่อสุขภาพที่ดีโดยรวม
ข้อห้ามและข้อควรระวัง ในการใช้ขมิ้นชัน
- ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน
- ระวังการใช้ในผู้ป่วยนิ่วนุงน้ำดี หากตัดถุงน้ำดีทิ้งแล้วสามารถกินขมิ้นชันได้
- ผู้มีประวัติแพ้ขมิ้นชัน หรือพืชตระกูลเดียวกับขมิ้นชัน
- ผู้ใช้ยาวาร์ฟาริน ไม่ควรรับประทานเพราะอาจมีผลต่อระดับยา
ทั้งนี้ ผู้ป่วย หรือผู้ที่เริ่มมีอาการของภาวะต่อมลูกหมากแล้วยังไม่แน่ใจควรพบแพทย์ตรวจเพื่อทำการวินิจฉัยและสางแผนการรักษา หรือผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากต้องการใช้สมุนไพรทางเลือกเสริมการรักษา สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มรับประทานยาสมุนไพรเองเพื่อความปลอดภัย รวมถึง การดูแลสุขภาพโดยรวม ทั้งการเลี่ยงสารเคมี มลพิษมลภาวะที่อาจเป็นปัจจัยส่งเสริมโรค เน้นรับประทานผักผลไม้ อาหารปลอดสารเคมี ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด นอนหลับให้สนิท และออกกำลังกายเบาๆเพื่อช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันทำงาน และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
ปรึกษาหมอกับคลินิกออนไลน์ : @abhthaimed หรือ ลิงค์ https://lin.ee/47PRVjiFz
แหล่งอ้างอิง
- Killian PH, et al. Curcumin inhibits prostate cancer metastasis in vivo by targeting the inflammatory cytokines CXCL1 and -2 [internet]. 2012 [cited 2020 Oct 19]; 33 : 2507–2519.
Available from: https://academic.oup.com/carcin/article/33/12/2507/2464323
- Ide H, et al. Combined inhibitory effects of soy isoflavones and curcumin on the production of prostate‐specific antigen [internet]. 2010 [cited 2020 Oct 19]; 70 : 1127-1233.
Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/pros.21147