กองบัญชาการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภั ย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมป้องกั นและแก้ไขปัญหาภัยในช่วงฤดูหนาว โดยสำรวจและปรับปรุงบัญชีผู้ ประสบภัยหนาวกลุ่มเปราะบาง ควบคู่กับการวางจัดสรรเครื่องกันหนาวอย่ างทั่วถึง พร้อมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันภัยในช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะวิธีดูแลสุขภาพในช่วงที่ สภาพอากาศหนาวเย็น รวมถึงวางมาตรการเชิงรุกป้องกั นภัยในช่วงฤดูหนาวอย่างเข้มข้น ทั้งอัคคีภัย ไฟป่าจากสภาพอากาศแห้ง อุบัติเหตุทางถนนในช่วงหมอกลงจัด และการดูแลรักษาสุขภาพในช่ วงอากาศหนาว เพื่อให้ประชาชนได้รับการดู แลอย่างครอบคลุมทุกมิติ
นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามการคาดหมายลั กษณะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ฤดูหนาวปีนี้ประเทศไทยจะมี อากาศหนาวเย็นใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยจะมีอากาศหนาวเย็นและหนาวจั ดในบางช่วงต่อเนื่องจนสิ้นสุดฤดูหนาวในเดื อนกุมภาพันธ์ 2564 ประกอบกับช่วงฤดูหนาวมีสภาพอากาศแห้งลมพั ดแรง และหมอกปกคลุม จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการอุบัติภั ยหลากหลายรูปแบบ ทั้งอัคคีภัย ไฟป่า หมอกควัน และอุบัติเหตุทางถนน เพื่ อลดผลกระทบจากสภาพอากาศหนาวเย็ นและภัยในช่วงฤดูหนาว กองบัญชาการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภั ย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย จึงได้บูรณาการกองอำนวยการป้ องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวั ดเตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปั ญหาภัยในช่วงฤดูหนาวอย่างเข้มข้ น ดังนี้
1. เตรียมพร้อมรับมือภัยหนาวเชิ งรุก โดยจัดตั้งคณะทำงานติ ดตามสถานการณ์ประกอบด้วย หน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยา หน่วยงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบสภาพอากาศ และคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภั ยหนาว รวมถึงเฝ้าระวังสถานการณ์ภั ยในช่วงฤดูหนาว เพื่อเตรียมพร้อมรับมื อและวางมาตรการแก้ไขปัญหาได้อย่ างมีประสิทธิภาพ จัดประชุมกองอำนวยการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อซักซ้อมแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย กำหนดแนวทางการจัดเตรียมเครื่ องกันหนาวและชี้แจงระเบียบหลั กเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ สำรวจและปรับปรุงบัญชีผู้ ประสบภัยหนาวกลุ่มเปราะบาง ทั้งผู้สูงอายุ เด็กไร้ผู้อุปการะ คนพิการทุพลภาพ สตรีมีครรภ์ และผู้มีรายได้น้อย โดยระบุจำนวนผู้ประสบภัย แยกรายครัวเรือนตามอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เพื่อวางแผนแจกจ่ายเครื่องกั นหนาวอย่าง
ทั่วถึง สร้างการรับรู้เกี่ยวกับการป้ องกันภัยในช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะวิธีดูแลสุขภาพในช่วงที่ สภาพอากาศหนาวเย็น เช่น ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อคลายหนาว เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิ ดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่ าปกติ (Hypothermia) ไม่ผิงไฟในที่อับอากาศหรืออากาศไม่ถ่ายเท เพราะจะทำให้หมดสติ และขาดอากาศหายใจ พร้อมประสานหน่วยงานสาธารณสุ ขเพิ่มความเข้มข้นในการเฝ้าระวั งและเตรียมความพร้อมป้องกั นโรคติดต่อในช่วงฤดูหนาว
2. วางมาตรการป้องกันภัยที่มั กเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว ครอบคลุมทั้งการป้องกันอัคคีภัย โดยจัดเจ้าหน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ และรถดับเพลิงให้พร้อมปฏิบัติ การเผชิญเหตุได้ทันที รวมถึงสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และประชาชนจิตอาสาเฝ้าระวั งการเกิดอัคคีภัยในพื้นที่ชุ มชนและสถานที่ท่องเที่ยว อีกทั้งประสานขอความร่วมมือกั บเกษตรกรใช้วิธีไถกลบแทนการเผาตอซังข้าว วัชพืช และวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยและมลพิ ษทางอากาศ การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยประสานกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นติดตั้งป้ายเตื อนและไฟส่องสว่างบริเวณจุดเสี่ ยงอุบัติเหตุ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุ บัติเหตุทางถนนจากทัศนวิสัยไม่ ดี หมอกปกคลุมเส้นทาง และถนนเปียกลื่น พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภั ยและอำนวยความสะดวกแก่นักท่ องเที่ยว
3. การเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ ประสบภัย โดยจัดสรรเครื่องกันหนาวอย่างทั่วถึง ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ กำหนดอย่างเคร่งครัด พร้อมคำนึงถึงความเดือดร้ อนของประชาชนเป็นหลักและความคุ้ มค่าต่อการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ รวมถึงแบ่งมอบพื้นที่และหน่ วยงานรับผิดชอบการดำเนินงานอย่างชัดเจน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภั ยหนาวทั่วถึงและไม่ซ้ำซ้อน อีกทั้งประสานทุกภาคส่วนช่ วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว อาทิ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่ดำเนิ นกิจกรรมช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะการแจกจ่ายเครื่องกันหนาวให้ ครอบคลุมทุกพื้นที่
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสบภัยหนาวได้รั บการดูแลอย่างทั่วถึง และประชาชนดำเนินชีวิตได้อย่ างปลอดภัย
…………………………………………………………………………………