ซีพีเอฟ เสริมสภาพคล่องคู่ค้า SMEs ผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้า ฝ่าโควิด19

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าช่วยเหลือคู่ค้า โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ผ่านโครงการ Faster Payment ลดระยะเวลาเครดิตเทอมลงเหลือไม่เกิน  30 วัน เพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการรายย่อย ผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าอย่างไม่สะดุด ก้าวข้ามวิกฤติโควิด19 ได้อย่างมั่นคง 

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดย่อม หรือ SMEs ด้วยการปรับระบบการชำระหนี้ให้มีระยะเวลาสั้นลง สามารถจ่ายค่าสินค้าและบริการให้แก่คู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ภายในระยะเวลา 30 วัน นับจากวันที่ได้ตรวจรับสินค้าหรือบริการ  เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากโควิด19 

ซีพีเอฟมีคู่ค้าที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และเป็นรายบุคคล ประมาณ 6,000 ราย ครอบคลุมกิจการของบริษัท บริษัทลูก ร้านค้า และแบรนด์สินค้า ไม่ว่าจะเป็น ซีพีซีพี เฟรชมาร์ทห้าดาวเชสเตอร์ดัค กาลบี้ และ CP–HiLai โดยทั้งหมดให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการดำเนินโครงการนี้ มีประโยชน์อย่างมาก ในด้านการสร้างสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจ สามารถนำเงินไปลงทุนต่อและชำระค่าปัจจัยต่างๆ ช่วยพัฒนาขีดความสามารถให้กับคู่ค้าของบริษัทเติบโตไปด้วยกัน อีกทั้งยังสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทย และช่วยลดการเลิกจ้างงาน จากปัญหานายจ้างขาดสภาพคล่อง

นางนฤมล แสงมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอ็มพี ยูนิฟอร์ม จำกัด (DMP Uniform Co.,Ltd.)  จังหวัดสระบุรี ผู้ผลิตชุดยูนิฟอร์มให้กับอุตสาหกรรมอาหารทั่วประเทศ และมีซีพีเอฟเป็นลูกค้าหลักในช่วงโควิด-19 กล่าวว่า โดยปกติ ซีพีเอฟมีเครดิตเทอมที่แน่นอนอยู่แล้ว ยิ่งมีโครงการ Faster Payment ยิ่งช่วยให้สภาพคล่องดีขึ้น SMEs วางแผนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น มีเงินไปจ่ายให้กับซัพพลายเออร์ในห่วงโซ่อุปทาน 

ซีพีเอฟ เข้ามาช่วยแก้ปัญหา โดยไม่ต้องร้องขอ เป็นความประทับใจอย่างมาก” นาง นฤมล กล่าว พร้อมเสริมว่า บริษัทได้รับผลกระทบยอดสั่งซื้อลดลง 40% ในช่วงของการระบาด แม้ยอดสั่งซื้อในเดือนพฤศจิกายนจะเริ่มกลับมาแล้ว แต่ยอดขายก็ยังน้อยกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด19 อยู่ 10-20% เพราะลูกค้าหลายรายพยายามลดต้นทุนการผลิตโดยไม่สั่งซื้อใหม่ แต่จะส่งมาให้ซ่อมแซมแทน 

นายนิวัติ มีงาม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ภูรินทร์ กรีนฟูดส์ โปรดักส์ จากเชียงราย ซึ่งจัดส่งกระเทียมแกะกลีบให้กับซีพีเอฟ เล่าว่า บริษัทมียอดสั่งซื้อสินค้าลดลง 50% จากสถานการณ์โควิด-19  โครงการ Faster Payment ของซีพีเอฟ ช่วยเสริมสภาพคล่องในการจัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร ช่วยให้มั่นใจว่ามีเงินหมุนเวียนสำหรับเตรียมความพร้อมขยายธุรกิจได้ต่อไป ขณะเดียวกันเกษตรกรยังได้รับประโยชน์จากการมี SMEs มารับซื้อผลผลิตโดยตรงอย่างต่อเนื่อง 

ด้านนาย เสกภณ บุญเตชะธนาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขอบคุณ 2562 ผู้จัดจำหน่ายสินค้าสำหรับห้องปฏิบัติการ จากสระบุรี กล่าวว่า โครงการ Faster Payment ของซีพีเอฟ ช่วยให้บริษัทของตนสามารถวางแผนการนำเข้าสินค้า เช่น สารเคมี ได้คล่องตัวขึ้น และสามารถจ่ายค่าสินค้าเป็นเงินสด สร้างอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น ช่วยให้ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าต่ำลง นอกจากนี้ สภาพคล่องที่ดียังสร้างความมั่นใจให้กับบริษัทที่จะวางแผนในการขยายธุรกิจต่อไปได้

………………………………………………………………