10 เทคนิค พิชิตความดันโลหิตสูง โดยสถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร

ความดันโลหิตสูง ในมุมมองการแพทย์แผนไทย เกิดจากภาวะของธาตุมีความระคนกัน ส่งผลให้ ปิตตะ(ความร้อน ธาตุไฟ) และ วาตะ (ธาตุลม) กำเริบขึ้นเบื้องสูง ต้องปรับให้ธาตุทั้งสามสมดุล จึงจะทำให้อาการสงบ โดยอาจใช้การปรับโดยกำหนดลมหายใจ อาหาร และยาสมุนไพร โดยมากนิยมที่มีรสสุขุม เย็น จืด ในทางการแพทย์ปัจจุบัน ระบุว่า โรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่สูงขึ้น โดยระดับความดันที่จะถือว่ามีความผิดปกติ เกินมาตรฐานคือ 140/90 มิลลิเมตรปรอท หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในระดับนี้นานๆ อาจทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อม เช่น มีโอกาสเป็นโรคหัวใจตีบตัน 3-4เท่า และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน 7 เท่าของผู้ที่มีความดันปกติ และถ้าปล่อยทิ้งไว้ความดันจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มิลลิเมตรปรอทต่อปี นับเป็นความเสี่ยงที่สำคัญหนึ่งของปัญหาสุขภาพ  แต่เราสามารถดูแลระดับความดันโลหิต ให้ปกติได้ โดยไม่จำเป็นต้องกินยาต่อเนื่อง ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้

ปัจจัยที่ช่วยควบคุมความดันโลหิตสูง

  1. จำกัดปริมาณเกลือที่รับประทาน โซเดียมคลอไรด์ ควรน้อยกว่า 6 กรัมต่อวัน โดยการหลีกเลี่ยง

อาหารที่เค็มจัดหรือมีปริมาณโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูปต่างๆ ไส้กรอก กุนเชียง แฮม หมูแผ่น หมูหยอง อาหารหมักดอง ผักดองต่างๆ เต้าหู้ยี้ ปลาเค็ม ไข่เค็ม เครื่องปรุงรสต่างๆ น้ำปลา ซอส ซีอิ้ว ควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะหลีกเลี่ยงการใช้ผงชูรส เนื่องจากสารปรุงแต่งรสเหล่านี้มีส่วนประกอบของโซเดียมซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง อาจทำให้มีการสะสมน้ำในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ หัวใจและไต ทำงานหนักมากขึ้นได้

  1. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะไปเพิ่มระดับความดันโลหิตได้ โดยการกระตุ้นให้หัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้น
  2. เลี่ยงการเครื่องดื่มคาเฟอีน ชา กาแฟ มีการศึกษาวิจัยได้ค้นพบว่า การดื่มกาแฟจะทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นนานถึง 12 ชั่วโมง
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ปาท่องโก๋ ไก่ทอด มันฝรั่งทอด หรืออาหารที่ใช้น้ำมันปริมาณมากโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ
  4. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันจากสัตว์ในการปรุงอาหาร และควรเลือกใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารแทน เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
  5. ดื่มนมพร่องมันเนย หรือผลิตภัณฑ์จากนมพร่องมันเนย เช่น โยเกิร์ตไขมันต่ำ หรือรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น เต้าหู้ ผักใบเขียว เป็นต้น พบว่า แคลเซียมจากนมจะช่วยในการควบคุมความดันโลหิตได้
  6. เลี่ยงของหวาน ขนมหวาน หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง ยังไม่มีการศึกษากลไกที่แน่ชัดว่าน้ำตาลทำให้เกิดภาวะความดัน ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงเกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำปริมาณน้ำตาลที่ควรได้รับต่อวันอยู่ที่ปริมาณ 6 ช้อนชา สำหรับผู้หญิง และ 9 ช้อนชาสำหรับผู้ชาย
  7. งดบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงมากขึ้น

ตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะ การตรวจวัดความดันโลหิตเป็นขั้นตอนที่สะดวก รวดเร็ว และไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ซึ่งสามารถตรวจวัดความดันได้ตามสถานพยาบาลทั่วไป โดยแพทย์หรือพยาบาลจะเป็นผู้ใช้เครื่องมือวัดความดันบริเวณต้นแขน หรือใช้เครื่องวัดความดันที่ได้มาตรฐานวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน บุคคลทั่วไปควรตรวจวัดระดับความดันโลหิตของตนอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำหรือภาวะความดันโลหิตสูง เพื่อให้สามารถรับมือและดูแลอาการได้แต่เนิ่น ๆ ป้องกันการเกิดภาวะเจ็บป่วยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ควรตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี ส่วนผู้สูงวัย ผู้ที่มีความเสี่ยงมีภาวะความดันโลหิตสูง หรือผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกายและตรวจวัดระดับความดันโลหิตเป็นประจำ

  1. 9. กินอาหารที่ช่วยคุมความดันโลหิต เช่น เนื้อปลา ไข่ ผักผลไม้ อาหารแคลเซียมสูง รวมถึงสมุนไพรบางชนิดที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น กระเจี๊ยบแดง หฯหนวดแมว บัวบก ใบเตย ตะไคร้

หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง ควรบริโภคอาหารที่มีวิตามิน ดี และโพแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

  1. 10. ปรับพฤติกรรม ที่สำคัญ ต้องดูแลสุขภาพร่างกาย และหมั่นสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณของการป่วย รู้จักบริหารจัดการและผ่อนคลายความเครียด ออกกำลังกายแบบกำหนดลมหายใจ เช่น การทำ ชี่กง ฤาษีดัดตน โยคะ ปรับการนอนหลับให้สามารถนอนหลับสนิท และมีคุณภาพ

หากสามารถปฏิบัติตัวและทำตามคำแนะนำดังกล่าวได้ จะช่วยให้เราสามารถห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างยั่งยืน และลดโอกาสเสี่ยงที่เกิดผลกระทบต่อตับและไต จากการกินยาต่อเนื่องระยะยาวได้อีกทางหนึ่ง

ติดตามสาระสุขภาพกับแพทย์แผนไทยได้ที่

Facebook : สถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร

คลินิกออนไลน์ : https://lin.ee/47PRVjiFz

ติดตามชมคลิปเพิ่มเติม โรคความกันโลหิตสูง

https://youtu.be/zQzxlfBaI08

https://youtu.be/w7zsaDEvT14