เวลา 10.30 น.วันที่25 กันยายน 2561 ณ บริเวณห้องโถง อาคาร 1 ชั้น 1นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร ได้แถลงข่าวสรุปผลการดำเนินการตั้งแต่มารับตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากร (วันที่ 1 ตุลาคม 2558 จนถึง วันที่ 30 กันยายน 2561) รวมระยะเวลา 3 ปีเต็ม
นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล Thailand 4.0 และระบบราชการ 4.0 โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ในกระบวนการทำงาน ในปัจจุบันกรมศุลกากรได้ดำเนินการปฏิรูปกระบวนการทำงานด้านศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมระบบโลจิสติกของประเทศ ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วยมาตการทางศุลกากรและข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ ปกป้องสังคมให้ปลอดภัยด้วยระบบควบคุมทางศุลกากร และจัดเก็บภาษีอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานศุลกากรโลก อันเป็นการก้าวเข้าสู่ Customs 4.0
กรมศุลกากรจึงได้จัดทำแผนงานโครงการ ให้สอดรับกับพันธกิจในมิติต่างๆ ทั้งในด้านกระบวนการทำงาน พัฒนาบุคลากร พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มีการการจัดทำพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 เพื่อกฎหมายศุลกากรระเบียบปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจุบันเข้ากับยุคสมัย การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ในกระบวนการทำงาน เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ประกอบการและนำไปสู่การยกระดับตัวชี้วัดความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ได้แก่ กระบวนการยื่นใบขนสินค้าและชำระค่าภาษีอากรล่วงหน้าก่อนที่เรือ/อากาศยานจะเข้ามาถึง (Pre-Arrival Processing) การให้บริการระบบสืบค้นพิกัดล่วงหน้า (HS Check) ในรูปแบบ Mobile Application ระบบฐานข้อมูลสืบค้นผลคำวินิจฉัยประเภทพิกัดศุลกากร (Tariff e-Service) ระบบเชื่อมโยงใบกำกับการขนย้ายสินค้าและแบบขอนำตู้สินค้าขาออกผ่านเข้าเขตศุลกากรการ (e-Matching) พิธีการศุลกากรว่าด้วยการถ่ายลำทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transition) การคืนอากรตาม ม.29 ทวิ (e- Refund) โครงการศึกษาพิธีการศุลกากรแบบเรียบง่ายสำหรับ e-Commerce (Simplified e-Commerce Customs Procedure : SeCCP. การจัดทำโครงการ “พันธมิตรศุลกากร (Customs Alliances : CA)” เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารระหว่างภาคเอกชนกับกรมศุลกากร ในการให้คำแนะนำติดต่อประสานงาน แก้ไขปัญหาและสร้างความชัดเจน ลดข้อโต้แย้งที่จะเกิดขึ้นในด้านต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาและให้คำปรึกษาอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินพิธีการทางศุลกากร อีกทั้งยังเป็นการสร้างความโปร่งใส และความเป็นธรรมให้แก่ผู้ประกอบการสุจริต และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกรมศุลกากรให้เป็นไปตามมาตรฐานศุลกากรโลก มีสมาชิก รวมทั้งสิ้น จำนวน 454 บริษัท และกรมศุลกากรได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2561 “ภาครัฐเพื่อประชาชน : Good Governance for Better Life” สาขาบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทเปิดใจใกล้ชิดประชาชน (Open Governance) ระดับดีเด่น
นอกจากนี้ กรมศุลกากรได้ลงนามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับ Alibaba Group ในความร่วมมือด้าน Smart Digital Hub and Digital Tranformation Strategic Partnership ในพื้นที่ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ระหว่างสำนักงานอีอีซี กรมศุลกากร และบริษัท Cainiao Smart Logistics Network และได้นำระบบ National Single Window (NSW) ยกระดับขั้นตอนการนำเข้า – ส่งออกอย่างเบ็ดเสร็จ ณ หน้าต่างเดียวด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ระบบ NSW โดยตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ถึง 31 ส.ค. 2561 มีจำนวนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงผ่านระบบ NSW จำนวน 52,150,792 ฉบับ และกรมฯ ได้เร่งรัดผลักดันเพื่อดำเนินการเชื่อม แชร์ และใช้ข้อมูลร่วมกันทั้งในระดับ G2G และ B2G โดยมีความก้าวหน้าการดำเนินการ
สำหรับด้านการควบคุมทางศุลกากรและปกป้องสังคม กรมศุลกากรใช้ Big Data วิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่ออำนวยความสะดวกและปกป้องสังคมซึ่งกรมศุลกากรได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการข่าว Customs Intelligence Center เพื่อเฝ้าระวังผู้ประกอบการที่ไม่สุจริต โดยใช้ระบบ CCTV 2204 การนำระบบ e-Lock มาใช้กับสินค้าผ่านแดน และการ X-ray คร่อมสายพาน ตลอดจนได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและข้อมูลระหว่างกรมศุลกากรกับธนาคารแห่งประเทศไทย และร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยการรับและนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เสียภาษีอากรที่เป็นผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออก หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร ตามกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรระหว่าง กรมสรรพากรและกรมศุลกากร
และในวันนี้กรมศุลกากรโดยนายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร รับมอบเครื่องมือจากองค์การศุลกากรโลกเพื่อนำไปใช้ในราชการตามโครงการ WCO Security Project for Asia Pacific โดยมี MR. Juan Manuel Mancilla Lopez Assistant Project Maneger Security Project in South East and Pacific Islands Compliance and Facilitation Directorate เป็นผู้แทนจาก WCO และ MR. Tetsuro Higuchi Customs Attache เป็นผู้แทน Japan Customs มอบเครื่องมือได้แก่ Field Test Kit จำนวน 1,300 ชุด Raman Spectrometers จำนวน 6 เครื่อง Portable x-ray Backscatters จำนวน 1 เครื่อง Portable x-ray Fluorescence จำนวน 1 เครื่อง นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการปฏิบัติการร่วมและการติดตามรายงานผลการดำเนินโครงการจากองค์การศุลกากรโลกเพื่อนำไปใช้ในราชการตามโครงการ WCO Security Project for Asia Pacific ซึ่งเป็นโครงการที่องค์การศุลกากรโลก หรือ WCO และ กรมศุลกากร ได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อยกระดับความสามารถของเจ้าหน้าหน้าที่ศุลกากรในการปฏิบัติงานศุลกากรเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย ด้วยการดำเนินโครงการภายใต้ WCO Security Project จำนวน 3 โครงการได้แก่
(1). โครงการ Program Global Shield ดำเนินโครงการโดยสำนักสืบสวนและปราบปราม
(2). โครงการ Small Arms and Light Weapons ดำเนินโครงการโดย สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(3) โครงการ Advance Passenger Information/Passenger Name Record ดำเนินโครงการโดย สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ 3 โครงการดังกล่าวมีกิจกรรมย่อยรองรับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ศุลกากรไทยและศุลกากรในเขตภูมิภาค
กรมศุลกากร ขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกแขนงที่ให้การสนับสนุนกรมศุลกากรมาโดยตลอด และกรมศุลกากรก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการให้บริการทางศุลกากรอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมทางศุลกากรให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกรมศุลกากรที่ถูกต้องตรงประเด็นได้ 4 ช่องทาง ดังนี้
1. website : https://www.Customs.go.th
2. Facebook : https://www.facebook.com/customsdepartment.thai/
3. Youtube : https://www.youtube.com/theprcustoms
4. Line Official Account :Thaicustoms!!