วันที่ 8 สิงหาคม 2563 นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) รศ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และนายสุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพื่อค้นหาเด็กเรียนดี แต่ยากจน ให้ได้ศึกษาต่อในสายอาชีพ ซึ่งภายในงานมีการประชุม “สร้างโอกาสทางการศึกษาผ่านทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง”และมีการบรรยายพิเศษโดย นางปัทมา วีระวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายวณิชย์ อ่วมศรี ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งมีผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และบุคลากร สอศ. อว. กสศ. เข้าร่วมประชุม
นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2563 เป็นโครงการที่มุ่งสร้างโอกาสทางการศึกษาสายอาชีพ ให้แก่นักเรียนที่ยากจนหรือด้อยโอกาส แต่มีศักยภาพเป็นนักเรียนช้างเผือก ให้ได้รับ โอกาสศึกษาต่อในสายอาชีพชั้นสูง และทำงานเป็นพันธมิตรกับสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอน ที่มุ่งสร้างสมรรถนะและคุณภาพชีวิตของเยาวชน และโครงการนี้จะมีส่วนในการผลิตบุคลากรสายอาชีพ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพของบุคลากรสายอาชีพเพื่อรองรับแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ด้วย
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อว่า เยาวชนอาชีวศึกษา มีความโชคดี ที่มีหน่วยงานมองเห็น และให้ความช่วยเหลือ ให้มีการพัฒนา เติบโต เป็นคนที่อยู่ในสังคมได้อย่าง สง่างาม มีศักดิ์ศรี เป็นคนดี การรับทุนนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ซึ่งครู อาจารย์ จะต้องสานต่อ ให้เด็กเหล่านี้ เรียนจบอย่างมีคุณภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาแล้ว 2 รุ่น สำหรับในปีนี้มีสถานศึกษาอาชีวศึกษา ที่ร่วมโครงการทั้งสิ้น 66 แห่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 53 แห่ง และสังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 13 แห่ง
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อว่า เยาวชนอาชีวศึกษา มีความโชคดี ที่มีหน่วยงานมองเห็น และให้ความช่วยเหลือ ให้มีการพัฒนา เติบโต เป็นคนที่อยู่ในสังคมได้อย่าง สง่างาม มีศักดิ์ศรี เป็นคนดี การรับทุนนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ซึ่งครู อาจารย์ จะต้องสานต่อ ให้เด็กเหล่านี้ เรียนจบอย่างมีคุณภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาแล้ว 1 รุ่น สำหรับในปีนี้มีสถานศึกษาอาชีวศึกษา ที่ร่วมโครงการทั้งสิ้น 66 แห่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 53 แห่ง และสังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 13 แห่ง โดยแบ่งเป็นประเภททุน 5 ปี (ปวช. ต่อเนื่อง ปวส./อนุปริญญา) และประเภททุน 2 ปี (ปวส./อนุปริญญา) เพื่อตอบโจทย์การเรียน 10 สาขา อุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก ในการพัฒนาประเทศ และความต้องการของตลาดแรงงานระดับประเทศ และสาขาที่ขาดแคลนในท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สถานประกอบการ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาในลักษณะระบบบูรณาการร่วมกัน ซึ่งจัดการประชุมขึ้น ระหว่างวันที่ 8 – 9 สิงหาคม 2563 ณ อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
………………………………………………