อภัยภูเบศร ขอรัฐสนับสนุนรวบรวมและวิจัยสายพันธุ์สมุนไพร รับมือ CPTPP

ในปัจจุบันที่สังคมมีข้อถกเถียงกันถึงการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือ CPTPP นั้น โดยมีความคิดที่แตกเป็น 2 ฝ่าย คือ เข้าร่วมและไม่เข้าร่วม ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในฐานะผู้บุกเบิกให้สมุนไพรไทยเป็นที่ยอมรับ ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “โดยส่วนตัวคิดว่าการเข้าร่วม CPTPP ประเทศไทยคงต้องมองในภาพกว้างว่าสิ่งใดได้และสิ่งใดจะเสีย และสิ่งที่เสียนั้นคุ้มค่าแก่การเสียหรือไม่ ส่วนตัวเองก็สนับสนุนให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะด้านความมั่นคงทางสุขภาพ จากประสบการณ์โควิด-19 ทำให้เราเรียนรู้ว่า ความมั่นคงทางยาและอาหารสำคัญมาก เราไม่มีเงิน แต่เรามีข้าว อาหาร และยา เราอยู่ได้ เราหลายคนเริ่มตระหนักว่าวัตถุดิบด้านยาเราต้องมีภายในประเทศของเรา เพราะเราเกือบขาดยาโรคเรื้อรังหลายชนิดจากการไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากอินเดียได้”

ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในฐานะผู้บุกเบิกให้สมุนไพรไทยเป็นที่ยอมรับ ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าโดยส่วนตัวคิดว่าการเข้าร่วม CPTPP ประเทศไทยคงต้องมองในภาพกว้างว่าสิ่งใดได้และสิ่งใดจะเสีย และสิ่งที่เสียนั้นคุ้มค่าแก่การเสียหรือไม่ ส่วนตัวเองก็สนับสนุนให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะด้านความมั่นคงทางสุขภาพ จากประสบการณ์โควิด-19 ทำให้เราเรียนรู้ว่า ความมั่นคงทางยาและอาหารสำคัญมาก เราไม่มีเงิน แต่เรามีข้าว อาหาร และยา เราอยู่ได้ เราหลายคนเริ่มตระหนักว่าวัตถุดิบด้านยาเราต้องมีภายในประเทศของเรา เพราะเราเกือบขาดยาโรคเรื้อรังหลายชนิดจากการไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากอินเดียได้”

ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ยังได้กล่าวเสริมถึงการยกระดับความสามารถในการพึ่งตนเองของประเทศด้วยสมุนไพรไทย “ขอเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรที่เพียงพอในการสำรวจพืชพรรณสมุนไพรในประเทศ และจัดทำเป็นฐานข้อมูล ซึ่งควรจะลึกถึงระดับพันธุกรรม เพื่อที่จะสร้างให้เกิดความแตกต่างในการแข่งขัน ที่จะบอกได้ว่าพืชนี้มีเฉพาะในประเทศเรา และนำมาใช้ในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ แต่สิ่งที่มากไปกว่านั้น คือ ในอนาคตหากเราเข้าร่วม CPTPP กรอบความร่วมมือนี้จะคุ้มครองนักปรับปรุงสายพันธุ์ ซึ่งหากเราไม่มีฐานข้อมูลสมุนไพรพื้นบ้านอยู่ คงไม่สามารถทวงสิทธิความเป็นเจ้าของได้หากถูกเอาเปรียบ

ที่ผ่านมาโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมีการสำรวจพืชพรรณสมุนไพรร่วมกับเครือข่ายอยู่แล้ว ทำให้เรามีข้อมูลที่สามารถหยิบฉวยมาใช้เมื่อเกิดวิกฤต เช่น การสกัดกระชายให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อศึกษาฤทธิ์การต้าน โควิด-19  หรือวันนี้ที่นำต้นสันพร้าหอม มาแจกในงานวันครบรอบสถาปนา 79 ปี ของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งต้นนี้คนไทยในภาคเหนือใช้แก้หวัด และมีการศึกษาในเกาหลีพบว่ามีฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกัน (immunomulator) สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต่อยอดจากองค์ความรู้ของบรรพชน

ในขณะนี้โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยกำลังทำโครงการสำรวจกัญชาสายพันธุ์ไทยก็หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมไทยได้ในอนาคต การลงทุนในเรื่องนี้จำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ เพราะการระบาดของโควิด-19 ยังมีอยู่ทั่วโลก เราไม่อาจวางใจได้ และในอนาคตอาจมีโรคระบาดใหม่เกิดขึ้น เราคงไม่อาจรอคอยที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพได้อีกต่อไป”

………………………………..