กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เร่งดําเนินการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรอาศัยน้ำฝน ที่ยังขาดแคลนน้ำเพื่อทําการเกษตร โดยมีการร้องขอฝนอีกจํานวนมากในบริเวณพื้นที่การเกษตรภาคกลางและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่ 20 สิงหาคม 2561 เวลา 12.30 น. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและ การบินเกษตร เปิดเผยว่า แม้ในขณะนี้ประเทศไทยมีฝนตกกระจายตัวและตกหนักในหลายพื้นที่ และมีบางพื้นที่ ประสบเหตุน้ำท่วมนั้น แต่ยังมีพื้นที่บางส่วนของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรอาศัยน้ำฝนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่กําลังได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำเพื่อทําการเพาะปลูก เนื่องจากประสบภาวะฝนทิ้งช่วง โดยระหว่างวันที่ 16 – 19 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยมีเกษตรกรและ อาสาสมัครฝนหลวง จํานวน 41 ราย ขอรับบริการฝนหลวงให้กับพื้นที่การเกษตรบางส่วน ในจํานวน 46 อําเภอ 13 จังหวัด ได้แก่ บริเวณพื้นที่ อ.เมืองตาก จ.ตาก อ.บ้านโฮ่ง จ.ลําพูน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ อ.หันคาและเนินขาม จ.ชัยนาท อ.ตาคลี ท่าตะโก พยุหะคีรี ลาดยาว แม่วงก์ โกรกพระ และไพศาลี จ.นครสวรรค์ อ.ด่านช้าง หนองหญ้าไซ อู่ทอง และเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรีอ.ทัพทัน บ้านไร่ ลานสัก และสว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี อ.พล และเปือยน้อย จ.ขอนแก่น อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ อ.จักราช ด่านขุนทด ปากช่อง ลําทะเมนชัย วังน้ำเขียว สีคิ้ว สูงเนิน เทพารักษ์ เมืองยาง และโนนไทย จ.นครราชสีมา อ.นางรอง ลําปลายมาศ หนองหงส์และโนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์ อ.กุดรัง นาดูน นาเชือก บรบือ พยัคฆภูมิพิสัย ยางสีสุราช วาปีปทุม และโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม จึงได้สั่งการให้หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่รับผิดชอบบริเวณพื้นที่ข้างต้น ดําเนินการ
ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งผลการปฏิบัติการในช่วงเวลาดังกล่าว โดยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ลพบุรี และกาญจนบุรี ได้ขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่ การเกษตรตามที่มีการร้องขอฝน ทําให้มีฝนตกเล็กน้อยและตกเล็กน้อยถึงปานกลางในหลายพื้นที่ของ จ.ลําพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรีชัยนาท กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี ศรีสะเกษ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และสุรินทร์ รวมพื้นที่ดําเนินการได้ทั้งสิ้น 40 อําเภอ และยังอยู่ระหว่างการดําเนินการช่วยเหลืออีกจํานวน 4 อําเภอ ได้แก่ อ.เมืองตาก จ.ตาก อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ อ.ตาคลี และไพศาลี จ.นครสวรรค์ และ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
นายสุรสีห์ กล่าวเพิ่มว่า อย่างไรก็ตามสําหรับพื้นที่การเกษตรที่ได้ดําเนินการช่วยเหลือไปแล้ว นั้น ยังมีพื้นที่การเกษตรอีก 30 อําเภอ ที่ต้องการฝนอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ในการเพาะปลูกและการเจริญเติบโต ของพืชผลต่อไป จึงขอให้เกษตรกรและประชาชน มั่นใจว่ากรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะดําเนินการ ช่วยเหลือพื้นที่ร้องขออย่างทั่วถึง ทั้งนี้ สามารถแจ้งขอรับการบริการฝนหลวงได้ที่ตัวแทนอาสาสมัครฝนหลวง ในแต่ละพื้นที่ หรือแจ้งกับเจ้าหน้าที่ประจําหน่วย/ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั้ง 5 ภูมิภาค และทางเพจเฟซบุ้ก กรมฝนหลวงและการบินเกษตร !!