ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
- วันที่ 6 มิ.ย. 63 ที่ประชุม OPEC+ บรรลุข้อตกลงในการลดปริมาณการผลิตน้ำมันในเดือน ก.ค. 63 ที่ระดับ 9.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน จากข้อตกลงในเดือน พ.ค. – มิ.ย. 63 ที่ระดับ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เป้าหมายเดิมเดือน ก.ค. 63 จะลดเพียง 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน)
- EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 29 พ.ค. 63 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 2.1 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 532.3 ล้านบาร์เรล ด้านปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 200,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 11.20 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- Reuters คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งทะเลเหนือ (North Sea) ในยุโรป เดือน ก.ค. 63 ลดลงจากเดือนก่อน 0.04 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 1.76 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- Baker Hughes Co. รายงานจำนวนแท่นขุดน้ำมัน (Oil Rig) ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 มิ.ย. 63 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 16 แท่น อยู่ที่ 206 แท่น ลดลงต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ อยู่ที่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ มิ.ย. 52
- CFTC รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดนิวยอร์ก และตลาดลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มิ.ย. 63 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับสถานะถือครองสุทธิ (Net Long Position) เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 7,225 สัญญา มาอยู่ที่ 401,018 สัญญา
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- Bank of America Merrill Lynch คาดการณ์ว่าการหยุดดำเนินการผลิตน้ำมันดิบในทวีปอเมริกาเหนือจะเกิดขึ้นมากที่สุดในเดือน พ.ค. 63 แต่หลังจากระดับราคาน้ำมันสูงขึ้น ผู้ผลิตจะกลับมาดำเนินการอีกครั้งอย่างรวดเร็ว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี (Federal Statistic Office) รายงานยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Orders) ในเดือน เม.ย. 63 ลดลงจากเดือนก่อน 25.8% ลดลงรายเดือนมากที่สุดตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลในปี พ.ศ.2534
- ICE รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ Brent ในตลาดลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มิ.ย. 63 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับ Net Long Position ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1,714 สัญญา มาอยู่ที่ 171,482 สัญญา
แนวโน้มราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 เดือน ขานรับข่าวการประชุมของ OPEC+ ที่ประเทศสมาชิก ยืนยันความร่วมมือในการลดปริมาณการผลิตน้ำมัน ในเดือน พ.ค. – มิ.ย. 63 ที่ระดับ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากเม็กซิโกไม่ยินยอมเข้าร่วมขยายเวลาลดกำลังการผลิต ดังนั้นในเดือน ก.ค. 63 เป้าหมายจะอยู่ที่ 9.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ลดลงจากข้อตกลงเดิม 100,000 บาร์เรลต่อวัน) ทั้งนี้ประเทศสมาชิกที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงขั้นที่ 1 ในเดือน พ.ค. – มิ.ย. 63 จะต้องลดการผลิตน้ำมันชดเชยในเดือน ก.ค. – ก.ย. 63 เพื่อให้มีระดับความร่วมมือที่ 100% และเพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างใกล้ชิด คณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิต (Joint Ministerial Monitoring Committee : JMMC) จะจัดการประชุมทุกเดือนจนถึงเดือน ธ.ค. 63 โดย JMMC จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 18 มิ.ย. 63 ทั้งนี้ รมว. กระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย เจ้าชาย Abdulaziz bin Salman ให้สัมภาษณ์ว่าหลังจากที่ทั่วโลกผ่อนคลายมาตรการปิดประเทศ ในเดือน ก.ค. 63 อุปสงค์น้ำมันโลกจะเริ่มเพิ่มขึ้นและสูงกว่าอุปทาน ให้จับตามองลิเบียซึ่งกลับมาผลิตน้ำมันดิบหลังถูกกองกำลังของนายพล Khalifa Haftar ปิดล้อมมากกว่า 4 เดือน ทั้งนี้ National Oil Corp. (NOC) รายงานแหล่งผลิตน้ำมัน Sharara (กำลังการผลิต 300,000 บาร์เรลต่อวัน) และ El Feel (กำลังการผลิต 70,000 บาร์เรลต่อวัน) กลับมาดำเนินการผลิตน้ำมันดิบได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 63 โดยแหล่ง Sharara จะเริ่มผลิตน้ำมันดิบ 30,000 บาร์เรลต่อวัน และคาดว่าจะกลับมาผลิตเต็มกำลังภายใน 90 วัน (ก่อนหน้าที่แหล่งผลิตน้ำมันดิบทั้งสองจะกลับมาดำเนินการ ลิเบียผลิตน้ำมันดิบประมาณ 90,000 บาร์เรลต่อวัน) ด้านเทคนิคสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 40-45 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล น้ำมันดิบ NYMEX WTI อยู่ในกรอบ 37-42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบ Dubai จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 39.5-44.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นเนื่องจาก Ministry of Economy, Trade and Industry (METI) ของญี่ปุ่นรายงานปริมาณส่งออกน้ำมันเบนซิน เดือน เม.ย. 63 ลดลงจากเดือนก่อน 50.7% อยู่ที่ 45, 000 บาร์เรลต่อวัน และ โรงกลั่น Bharat Oman Refineries Ltd ของอินเดียปิดซ่อมบำรุงหน่วย Continuous Catalyitc Reformer (CCR: กำลังการกลั่น 837,000 ตันต่อปี) ตั้งแต่ 1-22 มิ.ย. 63 และ โรงกลั่น Hokkaido (กำลังการกลั่น 150,000 บาร์เรลต่อวัน) ของ Idemitsu Kosan ในญี่ปุ่นปิดซ่อมบำรุงหน่วย Crude Distillation (กำลังการกลั่น 150,000 บาร์เรลต่อวัน) ตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. 63-ก.ย. 63 อย่างไรก็ตาม EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 พ.ค. 63 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2.8 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 257.8 ล้านบาร์เรลสูงสุดในรอบ 1 เดือน และ International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 มิ.ย. 63 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.62 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 15.81 ล้านบาร์เรลสูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ ด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 42-47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นเนื่องจาก METI ของญี่ปุ่นรายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดีเซลเดือน เม.ย. 63 ลดลง 32.6% อยู่ที่ 80,000 บาร์เรล ด้านปริมาณสำรอง IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 มิ.ย. 63 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 290,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 14.63 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม Naraya Energy ของอินเดียออกประมูลขายน้ำมันดีเซลปริมาณ 490,000-525,000 บาร์เรล ส่งมอบ 26-30 มิ.ย. 63 และ Platts รายงาน Arbitrage น้ำมันดีเซลจากเอเชียไปยัง Persian Gulf และยุโรปปิด ด้านปริมาณสำรอง EIA รายงานปริมาณสำรอง Distillates เชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 พ.ค. 63 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 9.9 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 174 ล้านบาร์เรล ทางเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซล จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 43-48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ฝ่ายแผนและบริหารบริษัทในเครือ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ปตท.
โทรศัพท์ 0-2537-3197,02-537-3365
9 มิถุนายน 2563