1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พ.ค. 63)
- สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 33,434 ล้าน ลบ.ม. (44% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 9,773 ล้าน ลบ.ม. (19% ของความจุน้ำใช้การ)
- อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จำนวน 32 แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่กวงอุดมธารา กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน แม่มอก ห้วยหลวง น้ำอูน น้ำพุง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำปาว ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินธร ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว ศรีนครินทร์ วชิราลงกรณ์ ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล ประแสร์ นฤบดินทรจินดา แก่งกระจานและปราณบุรี
2. สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พ.ค. 63)
ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 8,101 ล้าน ลบ.ม. (33% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 1,405 ล้าน ลบ.ม. (8% ของความจุน้ำใช้การ)
3. ผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนปี 2562/63 (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พ.ค. 63)
- ทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 11,975 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 2,232 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 19
- เจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ำ 3,250 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 738 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 23
4. แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2562/63 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 พ.ค.63)
- ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 16.79 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 1.07 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.39 ของแผน
- ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 8.1 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.67 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.23 ของแผน โดยพื้นที่ทุ่งบางระกำ แผนเพาะปลูก 265,000 ไร่ เพาะปลูกแล้ว 253,605 ไร่ คิดเป็นเป็นร้อยละ 96 ของแผน
5. คุณภาพน้ำ วันที่ 27 พ.ค.63 เวลา 05.00 น. : แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี (สูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวัง) ท่าน้ำนนทบุรี จ.นนทบุรี (สูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวัง) ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยทำการผันน้ำบางส่วนจากแม่น้ำแม่กลองมายังแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง สถานีปราจีนบุรี (ปกติ) แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และแม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดำเนินสะดวก (ปกติ)
6. จังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 จำนวน 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน สุโขทัย เพชรบูรณ์ ตาก พิษณุโลก หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ชลบุรี และสงขลา
รวมทั้งสิ้น 160 อำเภอ 862 ตำบล 7,444 หมู่บ้าน/ชุมชน 5 เทศบาล (ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 26 พ.ค. 63)
7. กิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งฯ
- โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล สำนักงานชลประทานที่ 11 ลงพื้นที่สำรวจจุดวัชพืชในคลองทวีวัฒนา ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม คลองนราภิรมย์ ตำบลนราภิรมย์ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และคลองบางภาษี ตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดเตรียมนำรถแบคโฮลงโป๊ะ เพื่อกำจัดวัชพืชในทางน้ำชลประทานในคลองดังกล่าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำช่วงฤดูฝน
- โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบรมธาตุ สำนักงานชลประทานที่ 12 ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานกำจัดผักตบชวาในแม่น้ำน้อย เขตตำบลแพรกศรีราชา ตำบลดงคอน ตำบลดอนกำ ตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เพื่อให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี สำนักงานชลประทานที่ 12 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง ที่ หมู่ 4 ตำบลจำปาหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง เพื่อสูบน้ำช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค
- โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าโบสถ์ สำนักงานชลประทานที่ 12 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ในพื้นที่หมู่ 5 ตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อสูบน้ำช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค
- โครงการชลประทานประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานชลประทานที่ 14 นำรถบรรทุกน้ำ จำนวน 2 เที่ยว เป็นปริมาณน้ำจำนวน 12,000 ลิตร เข้าช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และใช้ในการอุปโภค-บริโภค
- ส่วนเครื่องจักรกลสูบน้ำ สำนักเครื่องจักรกล ดำเนินการเดินเครื่องสูบน้ำแบบจุ่มขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Submersible pump) ขนาด 3.0 ลบ.ม/วินาที จำนวน 6 เครื่อง บริเวณสถานีสูบน้ำบางบัวทอง ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยจะทำการสูบน้ำจากคลองบางบัวทองเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเพิ่มปริมาณของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีจำนวนมากขึ้น และมีประสิทธิภาพในการผลักดันน้ำเค็ม และรักษาคุณภาพน้ำดิบ ให้มีระดับมาตรฐานอยู่ในกณฑ์ปกติ
- โครงการจ้างแรงงานชลประทาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2563 แผนจำนวน 88,838 คน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ปัจจุบัน ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2563 จ้างแรงงานไปแล้ว 49,961 คน คิดเป็นร้อยละ 56
- สำหรับการบริหารจัดการน้ำและการเตรียมการรับมือฤดูฝนปี 63 นั้น กรมชลประทาน ได้สั่งการให้โครงการชลประทานทั่วประเทศ ตรวจสอบอาคารชลประทานทุกแห่ง ให้สามารถใช้งานได้เต็มศักยภาพ รวมทั้งสำรวจสิ่งกีดขวางทาง และการกำจัดวัชพืชในแม่น้ำสายหลัก คู คลองต่าง ๆ การติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เป็นไปตามเกณฑ์การเก็บกักที่วางไว้ ที่สำคัญได้เน้นย้ำให้มีการแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม หรือน้ำล้นตลิ่ง อีกทั้ง ยังได้จัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ ประจำไว้ในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว หากต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทร.สายด่วนกรมชลประทาน 1460 ชลประทานบริการประชาชน