นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เปิดเผยว่า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์น้ำมันชีวภาพ โดยมีปริมาณการผลิตไบโอดีเซล ณ สิ้นเดือน มี.ค. อยู่ที่ 4.83 ล้านลิตร/วัน และปริมาณการใช้ไบโอดีเซลอยู่ที่ 5.32 ล้านลิตร/วัน สต๊อกน้ำมันปาล์มดิบรวม ณ สิ้นเดือน เม.ย. ประมาณ 251,369 ตัน ส่วนการใช้เอทานอลภาคเชื้อเพลิงในเดือนเมษายนอยู่ที่ 2.80 ล้านลิตรต่อวัน ลดลงจากเดือนก่อนประมาณ 1.17 ล้านลิตรต่อวัน สำหรับการใช้เอทานอลภาคเชื้อเพลิงในเดือนเมษายนอยู่ที่ 2.80 ล้านลิตรต่อวัน ลดลงจากเดือนก่อนประมาณ 1.17 ล้านลิตรต่อวัน
สถานการณ์ราคาน้ำมันชีวภาพ
สถานการณ์ราคาไบโอดีเซล (B100): วันที่ 18 – 24 พ.ค. 63 อยู่ที่ 25.01 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.14 บาทต่อลิตร
- จากสถานการณ์ราคาผลปาล์มน้ำมัน ณ วันที่ 11 – 15 พฤษภาคม 2563 ราคาผลปาล์มเฉลี่ยอยู่ที่ 2.90 – 10 บาทต่อ กก. โดยราคาน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 20 – 21 บาทต่อ กก. ทั้งนี้ คณะทำงานตรวจสอบสต๊อกน้ำมันปาล์มคงเหลือทั้งระบบ แจ้งปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบรวม ณ สิ้นเดือน เม.ย. ประมาณ 251,369 ตัน
- ในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันตามฤดูกาลมาก แต่ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดลงจากสถานการณ์โรคระบาดโควิดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ประมาณการผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน จะอยู่ที่ระดับประมาณ 1.67 และ 1.56 ล้านตัน ตามลำดับ ลดลงร้อยละ 10.83 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภคหลังจากได้รับผลกระทบ Covid-19 ไตรมาสที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย.63) จากการประมาณการของกรมการค้าภายใน อยู่ที่ประมาณ 70,000-85,000 ตัน/เดือน สาเหตุจากความต้องการน้ำมันบรรจุขวดในธุรกิจร้านอาหารที่มีแนวโน้มจะลดลง จากมาตรการปิดพื้นที่ (lockdown)
- ปริมาณการผลิตไบโอดีเซล ณ สิ้นเดือน มี.ค. อยู่ที่ 4.83 ลล./วัน และปริมาณการใช้ไบโอดีเซลอยู่ที่ 5.32 ลล./วัน โดยปริมาณการใช้อยู่ในช่วงการดำเนินการตามนโยบายของภาครัฐที่กำหนดให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 เป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐานของประเทศ
- ราคาวัตถุดิบ CPO ที่ตลาดมาเลเซียอยู่ที่ 15.45 บาทต่อกก. โดยในเดือนแรกที่มาเลเซียประกาศล็อคดาวน์ ปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์มลดลง 47% FGV Holdings ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบที่ใหญ่ที่สุดของโลกคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตของปี 2563 จะลดลงอย่างมาก เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 กระทบการทำงานของแรงงานและโรงงานผลิต
สถานการณ์ราคาเอทานอล
ราคาเอทานอล ราคาเอทานอลอ้างอิง ในเดือนพฤษภาคม 2563 อยู่ที่ 23.28 บาทต่อลิตร
- ราคาเอทานอลยังคงอยู่ในระดับ 23.28 บาทต่อลิตร โดยไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน เนื่องจากเป็นราคาซื้อขายแบบระยะยาวของผู้ค้า
- จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ยังคงทำให้การใช้รถยนต์ในการเดินทางลดลง ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ลดลง และทำให้การใช้เอทานอลลดลงตามไปด้วย
- โดยปริมาณการใช้เอทานอลภาคเชื้อเพลิงในเดือนเมษายนอยู่ที่ 2.80 ล้านลิตรต่อวัน ลดลงจากเดือนก่อนประมาณ 1.17 ล้านลิตรต่อวัน แต่ปริมาณการใช้เอทานอลเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือในเดือนเมษายนอยู่ที่ 0.52 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.15 ล้านลิตรต่อวัน
- โรงงานเอทานอลที่ผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวน 26 โรง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 6.10 ล้านลิตรต่อวัน ปริมาณการผลิตจริงในเดือนมีนาคม อยู่ที่ 4.49 ล้านลิตรต่อวัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 0.65 ล้านลิตรต่อวัน
………………………………………………………………………………..