ยกระดับความน่าเชื่อถือ กรมที่ดินกับชีวิตวิถีใหม่ ภายใต้ โควิด-19 ด้วยระบบติดตามงาน STS

นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน ได้เปิดเผยว่า สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา ได้รังสรรค์นวัตกรรมเพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่ ภายใต้สถานการณ์ระบาด COVID -19 ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยการนำระบบติดตามสถานะงานได้ทุกที่ทุกเวลา STS (Sriracha Tracking Systems) ซึ่งสามารถติดตามสถานะงานบริการได้ทันที หลังจากขอรับบริการที่สำนักงานที่ดินแล้ว ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ แบบ online

โดย นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวว่าท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid – 19 ) ในวันเข้าตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ว่ากรมที่ดินได้พัฒนาโปรแกรม STS ซึ่งเป็นระบบการจัดการติดตามและตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน โดยชาวดินศรีราชา ได้ทำการออกแบบระบบ Tracking System ขึ้นมา เพื่อลดปัญหาด้านความยุ่งยากในการตรวจสอบ ลดปัญหาการติดต่อสื่อสารที่คลาดเคลื่อน ประหยัดระยะเวลาการทำงาน โปร่งใส สะดวก รวดเร็วและเข้าใจง่าย และช่วยให้มีการติดตามงานในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ภายใต้ Concept “กดปุ๊ป รู้ปั๊ป” เสมือนกรมที่ดินให้บริการถึงบ้านท่าน Delivery Services

STS สามารถสอบถามสถานะงาน ได้ทุกเวลาและสถานที่ โดยต้องการตอบสนองความต้องการผู้รับบริการโดยไม่ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ ผ่านระบบ ที่เข้าถึงง่าย ด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

– ติดตามงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งงานบริการแล้วเสร็จวันเดียว และงานไม่เสร็จวันเดียว

– ระบบแสดงระยะเวลาการทำงานในแต่ละกระบวนงานที่ชัดเจน และกำหนดเวลาเสร็จได้ล่วงหน้า

– ผู้มาติดต่อขอรับบริการสามารถรู้วัน เวลาแล้วเสร็จ จากการติดตามในระบบ STS

ด้านผู้รับบริการ

ประชาชนผู้รับบริการสามารถติดตามงานได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากระบบทำงานผ่านทางอินเตอร์เน็ต (Web Application) ผู้รับบริการสามารถทราบกระบวนการทำงานทั้งหมดและตรวจสอบสถานะงานในแต่ละขั้นตอนได้ ได้ฉับไว แบบ Real time ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้รับบริการที่สามารถนำข้อมูลที่ได้รับจากระบบ ไปใช้ในการงานแผนงานต่อเนื่องได้อย่างแม่นยำ

ด้านผู้ปฏิบัติงาน

STS เป็นระบบที่ออกแบบขึ้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถ แจ้งผลความคืบหน้าของงานได้ทันทีและทราบได้ว่าเกิดปัญหาใดเกิดขึ้นบ้าง เมื่อรับทราบปัญหาได้เร็ว การแก้ไขงานก็สามารถทำได้ทันท่วงที สามารถประหยัดเวลาการประสานงานกับลูกค้า ไม่ต้องรอการติดต่อกลับจากผู้รับบริการ ซึ่งเป็นการสูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ หลีกเลี่ยงความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการสื่อสาร ส่งผลให้งานมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ได้

ด้านผู้บริหาร

สามารถใช้ระบบ STS ในการติดตามและตรวจสอบงานของเจ้าหน้าที่ ที่อยู่ในระบบพร้อมทราบทุกรายละเอียดข้อมูล นำไปใช้ในการตัดสินกำหนดนโยบายการให้บริการและติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายได้

นายนิสิต จันทร์สมวงศ์กล่าวทิ้งท้ายว่าขณะนี้ระบบ STS อยู่ระหว่างการปรับปรุงทดลองใช้ที่สำนักงานที่ดินศรีราชา ซึ่งหากดำเนินการแล้วได้รับการประเมินความพึงพอใจจากประชาชนดี จะได้นำมาใช้ทั่วประเทศต่อไป

…………………………………………………….