กรดไหลย้อน เป็นโรคในระบบทางเดินหารหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคนสูงวัย และวัยทำงานที่มีความเครียดเป็นเหตุ
การที่น้ำย่อย ซึ่งประกอบด้วยกรดเกลือในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไประคายต่อหลอดอาหาร และบริเวณลำคอ ทำให้มีอาการแสบลิ้นปี่ คล้ายเป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง โรคนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูดที่อยู่ตรงส่วนล่างของหลอดอาหาร ซึ่งกล้ามเนื้อหูรูดนี้จะคลายตัวเมื่อมีอาหารไหลผ่านลงไปในกระเพาะอาหาร
เมื่ออาหารผ่านลงกระเพาะอาหารจนหมดแล้ว หูรูดนี้จะหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้กรดที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนนั้น กล้ามเนื้อหูรูดตรงส่วนล่างของหลอดอาหารนี้จะหย่อนสมรรถภาพ ทำให้มีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารมากกว่าปกติ โดยคนปกติไหลย้อนได้ 1-4 ครั้ง แต่ไม่ทำให้เกิดอาการแต่อย่างใด
สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากความเสื่อมตามอายุ และมีความสัมพันธ์กับความอ้วน ภาวะตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน และโรคไส้เลื่อนกะบังลม โดยปัจจัยเสริมนั้นมาจากการที่มีแรงดันภายในกระเพาะอาหาร และลำไส้ เช่น รัดเข็มขัดแน่นเกินไป มีแก๊สมากจากอาหารที่ไม่ย่อย หรืออาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สหรือการหลั่งของกรดมากขึ้น เช่น น้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง แอลกอฮอล์ *บุหรี่ กินน้ำผลไม้เปรี้ยว หรืออาหารเผ็ดจัด รวมถึง อาหารย่อยยากๆ เช่น อาหารทอด อาหารมัน และยาบางชนิด ซึ่งจะทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนที่ช้าลง โอกาสเกิดกรดไหลย้อนก็มากขึ้น รวมทั้งการนอนราบการรับประทานอาหารที่อิ่มเกินไป ควรเอนตัวหลังจากทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง และความเครียด ก็มีผลเช่นกัน การดูแลตัวเองเบื้องต้น ควรลดละปัจจัยส่งเสริมทั้งหมดที่กล่าวไว้ เพื่อลดการกำเริบของโรค
ลูกยอ รักษากรดไหลย้อน
ลูกยอเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน มีรสเผ็ดร้อน ช่วยบำรุงเลือดลม ปรับสมดุลฮอร์โมน ช่วยประจำเดือนมาดีขึ้น และลดอาการวัยทองได้ เนื่องจากมีไฟโตเอสโตรเจนธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านมะเร็ง
สำหรับประโยชน์ในการบรรเทากรดไหลย้อน มีข้อมูลพบว่า
- ลูกยอ ช่วยเพิ่มการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้หูรูดหลอดอาหารแข็งแรงขึ้น และทำให้อาหารเคลื่อน
จากกระเพาะไปสู่ลำไส้เล็กได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน
- ช่วยย่อยอาหาร ขับลม ทำให้อาหารไม่ตกค้าง ไม่เกิดลมในกระเพาะอาหาร ลดการเกิดแรงดันที่ทำให้กรดไหลย้อน
- ช่วยเร่งการสมานแผลของกระเพาะอาหาร
- ลดการอักเสบของกะเพราะอาหารเฉียบพลันจากแอลกอฮอล์
- ปัจจุบันได้มีงานวิจัยสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว อาทิ การศึกษาวิจัยในหนู พบว่า “ยอ” ซึ่งมีสารสำคัญ คือสโคโปเลติน (scopoletin) เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยนั้น สามารถลดการอักเสบของหลอดอาหารจากการ
ไหลย้อนของกรดได้ผลดี พอๆ กับยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษากรดไหลย้อน คือ รานิติดีน (ranitidine) และแลนโสพราโซล (lansoprazole)
- มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการหลั่งของกรด ต้านการเกิดแผล และทำให้การบีบตัวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น โดยมีผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวข้องโดยตรง
- ลดการหลั่งกรดได้ดีเทียบเท่ากับยา รานิทิดีน (ranitidine) และแลนโสพราโซล (lansoprazole)
ขนาดรับประทาน
น้ำลูกยอ 1-2 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหาร 15-30 นาที เช้า กลางวัน เย็น
ลูกยอแคปซูล 1-2 แคปซูล ก่อนอาหาร 15-30 นาที เช้า กลางวัน เย็น
ข้อห้ามใช้
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้ป่วยโรคไต หรือผู้ที่ต้องคุมระดับโพแทสเซียม
- หญิงตั้งครรภ์
สมุนไพรที่แนะนำให้ใช้ร่วมกันได้ คือ ขมิ้นชัน เนื่องจากขมิ้นชันมี สรรพคุณในการรักษาอาการท้องอืด และช่วยขับน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ทำให้อาหารไม่ตกค้างในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กนานเกินไป ทั้งช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย สามารถรับประทานร่วมกันได้ในคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
สูตรน้ำลูกยอ ทำเอง
ส่วนประกอบ
ลูกยอสุก 3 กิโลกรัม
น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีทำ
- ผลยอล้างสะอาด หั่นเป็นชิ้นใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ (แนะนำเป็นโหลแก้ว)
- เติมน้ำตาลทรายแดง และน้ำสะอาด(อาจใช้น้ำที่ผ่านการต้มสุกทิ้งให้เย็นแล้ว)
- ปิดภาชนะเก็บไว้ 6 เดือน จึงสามารถนำมาใช้ได้
วิธีการใช้
น้ำยอหมัก 500 มล. ผสมกับ น้ำต้มสุก 500 มล. เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มครั้งละ 75 มล. หรือถ้วยชา
ข้อมูลอ้างอิง