1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 7 พ.ค. 63)
- สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 34,855 ล้าน ลบ.ม. (46% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 11,181 ล้าน ลบ.ม. (22% ของความจุน้ำใช้การ)
- อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จำนวน 27 แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่กวงอุดมธารา กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน แม่มอก ห้วยหลวง น้ำพุง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินธร ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว วชิราลงกรณ์ ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล ประแสร์และนฤบดินทรจินดา
2. สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) (ข้อมูล ณ วันที่ 7 พ.ค. 63)
ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 8,497 ล้าน ลบ.ม. (34% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 1,801 ล้าน ลบ.ม. (10% ของความจุน้ำใช้การ)
3. ผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนปี 2562/63 (ข้อมูล ณ วันที่ 7 พ.ค. 63)
- ทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 11,975 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 628 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 5
- เจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ำ 3,250 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 211 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 7
4. แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2562/63 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 6 พ.ค.63)
- ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 4.21 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 182.27 ของแผนฯ เก็บเกี่ยวแล้ว 3.11 ล้านไร่
- ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง – ล้านไร่ (รณรงค์งดทำนาต่อเนื่องฤดูแล้ง ปี 2562/63) เพาะปลูกแล้ว 1.98 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.87 ล้านไร่ โดยพื้นที่ทุ่งบางระกำ แผนเพาะปลูก 265,000 ไร่ เพาะปลูกแล้ว 133,090 ไร่ คิดเป็นเป็นร้อยละ 50.22 ของแผนฯ
5. คุณภาพน้ำ วันที่ 8 พ.ค.63 เวลา 05.00 น. : แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี (ปกติ) ท่าน้ำนนทบุรี จ.นนทบุรี (ปกติ) ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยทำการผันน้ำบางส่วนจากแม่น้ำแม่กลองมายังแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง สถานีปราจีนบุรี (ปกติ) แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และแม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดำเนินสะดวก (ปกติ)
6. จังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 จำนวน 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ชลบุรี และสงขลา
รวมทั้งสิ้น 158 อำเภอ 836 ตำบล 7,262 หมู่บ้าน/ชุมชน 5 เทศบาล (ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 7 พ.ค. 63)
7. กิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งฯ
- สำนักงานชลประทานที่ 6 ลงพื้นที่ติดตามงานบริเวณศุนย์ส่งเสริมสุขภาพจิตบ้านโนนทัน จ.ขอนแก่น โดยสนับสนุนรถแบคโฮบูมยาว 1 คัน เพื่อใช้กำจัดวัชพืชบริเวณสระน้ำ และเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง เพื่อสูบน้ำเข้าไปเก็บไว้ภายในสระน้ำ โครงการมีกิจกรรมปลูกพืชผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
- โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปลายมาศ สำนักงานชลประทานที่ 8 ลงพื้นที่นำรถน้ำบรรทุกน้ำ ออกแจกจ่ายน้ำในการอุปโภค-บริโภค จำนวน 18,000 ลิตร เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ในพื้นที่ บ้านใหม่ทานตะวัน หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านราษฎร์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
- สำนักงานชลประทานที่ 9 นำเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ไปติดตั้งที่ท่าสูบ หมู่ 3 ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น โดยทำการสูบน้ำจากคลองท่าลาดเข้าสู่คลองย่อย ให้ความช่วยเหลือปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และพื้นที่การเกษตร ในเขตโครงการชลประทานฉะเชิงเทรา
- โครงการชลประทานประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานชลประทานที่ 14 นำรถบรรทุกน้ำเข้าช่วยเหลือชาวบ้านชาวบ้าน หมู่ 8 บ้านคลองลอย ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และใช้ในการอุปโภค-บริโภค จำนวน 10 เที่ยว เป็นปริมาณน้ำจำนวน 60,000 ลิตร
- ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 สำนักเครื่องจักรกล เข้าติดตามการปฏิบัติการเปิดทางน้ำโดยใช้เครื่องจักรกลประเภท รถแบ็คโฮลงโป๊ะ จำนวน 1 คัน
เข้ากำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำบริเวณคลอง 2 ในเขตพื้นที่ ตำบลทรายมูล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เพื่อเปิดทางน้ำให้ไหลผ่านได้สะดวกและทำให้ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการใช้น้ำของเกษตรกรในพื้นที่
- โครงการจ้างแรงงานชลประทาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2563 แผนจำนวน 88,838 คน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ปัจจุบัน ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 จ้างแรงงานไปแล้ว 33,754 คน คิดเป็นร้อยละ 37.99