MEA แจ้งประชาชนลดเสี่ยง COVID-19 เลี่ยงการติดต่อทุกที่ทำการไฟฟ้า แนะใช้วิธีลงทะเบียนออนไลน์ คืนเงินประกันได้ทุกกรณี

MEA เลี่ยงการติดต่อทุกที่ทำการไฟฟ้า แนะใช้วิธีลงทะเบียนออนไลน์ คืนเงินประกันได้ทุกกรณี

MEA แจ้งประชาชนลดเสี่ยง COVID-19 เลี่ยงการติดต่อทุกที่ทำการไฟฟ้า แนะใช้วิธีลงทะเบียนออนไลน์ คืนเงินประกันได้ทุกกรณีวันนี้ (6 พฤษภาคม 2563) นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ในฐานะ โฆษก MEA กล่าวว่า ตามที่ MEA ได้เปิดให้ลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าผ่านช่องทางออนไลน์ และหมายเลขโทรศัพท์ 0 2256 3333 ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา จนถึง ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 2563 มีผู้ได้รับเงินแล้วทั้งสิ้นประมาณ 1.6 ล้านราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นกว่า 4,500 ล้านบาท โดยล่าสุด พบว่ามีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากเดินทางมาติดต่อ ณ สถานที่ทำการต่างๆ ของ MEA เพื่อขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และเจ้าหน้าที่ MEA จึงขอเชิญชวนให้เจ้าของหลักประกันที่ติดปัญหาเรื่องการยื่นเอกสารในทุกกรณี ใช้วิธียื่นเอกสารเพิ่มเติมผ่านระบบออนไลน์ M easy ซึ่งสามารถอัปโหลดเอกสารหลักฐานตามที่ MEA กำหนดได้สะดวก ไม่ต้องเดินทางมายังที่ทำการการไฟฟ้านครหลวงเขตต่างๆ สำหรับช่องทางการลงทะเบียนเพิ่มเติม ผ่านระบบออนไลน์ http://measy.mea.or.th ผู้ลงทะเบียนจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานตามที่ MEA กำหนดดังต่อไปนี้-ประเภทบุคคลธรรมดากรณีเปลี่ยนชื่อ-สกุล1. ใบเปลี่ยนชื่อตัว2. ใบเปลี่ยนชื่อนามสกุล3. ทะเบียนสมรส (เปลี่ยนนามสกุล)4. ใบสำคัญการหย่า (เปลี่ยนนามสกุล)กรณีผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ทุพพลภาพ1. สำเนาใบรับรองแพทย์ หรือสำเนาใบเสร็จโรงพยาบาล (หากไม่มี ใช้รูปถ่ายผู้ป่วย)2. หนังสือมอบอำนาจ โดยที่ผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจลงนามรับรองในหนังสือมอบอำนาจ โดยระบุว่า "ดำเนินการขอคืนเงินประกันฯ และขอรับคืนเงินประกัน โดยโอนเข้าบัญชี ……………. เข้าธนาคาร ……………. เลขที่ ……………. "3. สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบ และผู้รับมอบ (ลงนามรับรอง)4. สำเนาสมุดเงินฝาก (ลงนามรับรอง)5. ใบเสร็จเงินประกัน (ถ้ามี) หรือหนังสือรับรองใบเสร็จสูญหาย หรือใบแจ้งความกรณีบุคคลต่างด้าว1. หนังสือเดินทาง : Passport2. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว : Certificate of Alienกรณีเสียชีวิต1. ใบมรณบัตร (ถ้ามี)2. หนังสือให้ความยินยอม (ดาวน์โหลดจากขั้นตอนการแนบเอกสารออนไลน์) และเอกสารประกอบหนังสือให้ความยินยอม 2.1 สำเนาบัตรประชาชนของทายาททุกคน 2.2 สำเนาทะเบียนบ้านของทายาททุกคน 2.3 สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีเป็นคู่สมรสของผู้เสียชีวิต)3 สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้จัดการมรดก (ถ้ามี)4. สำเนาคดีถึงที่สุด (ถ้ามี)-ประเภทนิติบุคคลกรณีที่ยังดำเนินการอยู่1. หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจ (ไม่เกิน 1 เดือน)2. สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจลงนามทุกคน3. ใบเสร็จเงินประกัน (ถ้ามี)4. หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของนิติบุคคล (ธ.กรุงไทย / ธ.กรุงเทพ / ธ.กสิกรไทย / ธ.ไทยพาณิชย์)5. หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมที่ดิน (ไม่เกิน 1 เดือน) กรณีนิติบุคคลอาคารชุด/หมู่บ้านจัดสรร6. รายงานการประชุมใหญ่ฯ กรณีนิติบุคคลอาคารชุด/หมู่บ้านจัดสรร (ถ้ามี)กรณีอยู่ระหว่างชำระบัญชี1. หนังสือรับรองบริษัทฯ อายุไม่เกิน 1 เดือน2. สำเนาบัตรประชาชนผู้ชำระบัญชี3. หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของนิติบุคคล (ธ.กรุงไทย / ธ.กรุงเทพ / ธ.กสิกรไทย / ธ.ไทยพาณิชย์)*กรณีบริษัทฯ ร้าง จะต้องไปยื่นคำร้องที่ศาลแขวงเพื่อขอให้นิติบุคคลฯ กลับมามีสถานะเป็นบุคคล แล้วไปยื่นเรื่องที่สำนักพัฒนาธุรกิจเพื่อออกหนังสือรับรองบริษัทฯ ได้กรณีเลิกกิจการเสร็จสิ้นการชำระบัญชี1. หนังสือบริคณห์สนธิ (แผ่นที่มีรายชื่อหุ้นส่วนทุกคน)2. สำเนาบัตรประชาชนหุ้นส่วนทุกคนรับรองสำเนาถูกต้อง หากมีผู้เสียชีวิตต้องแนบใบมรณบัตร3. หนังสือมอบอำนาจที่ระบุชื่อผู้รับเงินว่าเป็นใคร โดยหุ้นส่วนทุกคนตามข้อ 1. ลงนาม4. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับเงิน5. หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของนิติบุคคล (ธ.กรุงไทย / ธ.กรุงเทพ / ธ.กสิกรไทย / ธ.ไทยพาณิชย์*กรณีบริษัทฯ ร้าง จะต้องไปยื่นคำร้องที่ศาลแขวงเพื่อขอให้นิติบุคคลฯ กลับมามีสถานะเป็นบุคคล แล้วไปยื่นเรื่องที่สำนักพัฒนาธุรกิจเพื่อออกหนังสือรับรองบริษัทฯ ได้สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ต้องการแนบเอกสารเพิ่มเติม สามารถยื่นเอกสารผ่านได้ผ่านการคลิกฟังก์ชัน “ตรวจสอบเรื่อง” เพื่อแนบเอกสาร แต่สำหรับผู้ที่ต้องการลงทะเบียนใหม่ สามารถคลิกได้ที่ฟังก์ชัน “ขอเพิ่มบัญชีแสดงสัญญา” ซึ่งจะสามารถแนบเอกสารได้หลังจากดำเนินการคลิกลงทะเบียนเสร็จสิ้น ซึ่งผู้ลงทะเบียนที่ MEA ตรวจสอบสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะมีกรอบระยะเวลาสำหรับการรับคืนเงินผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้1.พร้อมเพย์ ประมาณ 3 วันทำการ2.โอนบัญชีธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ ประมาณ 7 วันทำการ 3.โอนบัญชีธนาคารกสิกรไทย ประมาณ 10 วันทำการ4.เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขา ประมาณ 3 วันทำการทั้งนี้ MEA ยังคงดำเนินการเปิดให้ผู้ลงทะเบียนสามารถยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ ในการลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ต่อเนื่องโดยไม่มีกำหนดปิดรับ เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการรับบริการ พร้อมทั้งยังช่วยให้เกิดความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อีกด้วย📌 คู่มือลงทะเบียนคืนเงินหลักประกันการใช้ไฟฟ้า แบบแนบไฟล์เอกสาร คลิก https://www.mea.or.th/content/detail/87/5353

โพสต์โดย การไฟฟ้านครหลวง MEA เมื่อ วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2020

วันที่ 6 พฤษภาคม 2563 นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ในฐานะ โฆษก MEA กล่าวว่า ตามที่ MEA ได้เปิดให้ลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าผ่านช่องทางออนไลน์ และหมายเลขโทรศัพท์ 0 2256 3333 ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา จนถึง ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 2563 มีผู้ได้รับเงินแล้วทั้งสิ้นประมาณ 1.6 ล้านราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นกว่า 4,500 ล้านบาท โดยล่าสุด พบว่ามีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากเดินทางมาติดต่อ ณ สถานที่ทำการต่างๆ ของ MEA เพื่อขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และเจ้าหน้าที่ MEA จึงขอเชิญชวนให้เจ้าของหลักประกันที่ติดปัญหาเรื่องการยื่นเอกสารในทุกกรณี ใช้วิธียื่นเอกสารเพิ่มเติมผ่านระบบออนไลน์ M easy ซึ่งสามารถอัปโหลดเอกสารหลักฐานตามที่ MEA กำหนดได้สะดวก ไม่ต้องเดินทางมายังที่ทำการการไฟฟ้านครหลวงเขตต่างๆ

สำหรับช่องทางการลงทะเบียนเพิ่มเติม ผ่านระบบออนไลน์ http://measy.mea.or.th ผู้ลงทะเบียนจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานตามที่ MEA กำหนดดังต่อไปนี้

-ประเภทบุคคลธรรมดา
กรณีเปลี่ยนชื่อ-สกุล
1. ใบเปลี่ยนชื่อตัว
2. ใบเปลี่ยนชื่อนามสกุล
3. ทะเบียนสมรส (เปลี่ยนนามสกุล)
4. ใบสำคัญการหย่า (เปลี่ยนนามสกุล)

กรณีผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ทุพพลภาพ
1. สำเนาใบรับรองแพทย์ หรือสำเนาใบเสร็จโรงพยาบาล (หากไม่มี ใช้รูปถ่ายผู้ป่วย)
2. หนังสือมอบอำนาจ โดยที่ผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจลงนามรับรองในหนังสือมอบอำนาจ โดยระบุว่า “ดำเนินการขอคืนเงินประกันฯ และขอรับคืนเงินประกัน โดยโอนเข้าบัญชี ……………. เข้าธนาคาร ……………. เลขที่ ……………. ”
3. สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบ และผู้รับมอบ (ลงนามรับรอง)
4. สำเนาสมุดเงินฝาก (ลงนามรับรอง)
5. ใบเสร็จเงินประกัน (ถ้ามี) หรือหนังสือรับรองใบเสร็จสูญหาย หรือใบแจ้งความ

กรณีบุคคลต่างด้าว
1. หนังสือเดินทาง : Passport
2. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว : Certificate of Alien

กรณีเสียชีวิต
1. ใบมรณบัตร (ถ้ามี)
2. หนังสือให้ความยินยอม (ดาวน์โหลดจากขั้นตอนการแนบเอกสารออนไลน์) และเอกสารประกอบหนังสือให้ความยินยอม
2.1 สำเนาบัตรประชาชนของทายาททุกคน
2.2 สำเนาทะเบียนบ้านของทายาททุกคน
2.3 สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีเป็นคู่สมรสของผู้เสียชีวิต)
3 สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้จัดการมรดก (ถ้ามี)
4. สำเนาคดีถึงที่สุด (ถ้ามี)

-ประเภทนิติบุคคล
กรณีที่ยังดำเนินการอยู่
1. หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจ (ไม่เกิน 1 เดือน)
2. สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจลงนามทุกคน
3. ใบเสร็จเงินประกัน (ถ้ามี)
4. หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของนิติบุคคล (ธ.กรุงไทย / ธ.กรุงเทพ / ธ.กสิกรไทย / ธ.ไทยพาณิชย์)
5. หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมที่ดิน (ไม่เกิน 1 เดือน) กรณีนิติบุคคลอาคารชุด/หมู่บ้านจัดสรร
6. รายงานการประชุมใหญ่ฯ กรณีนิติบุคคลอาคารชุด/หมู่บ้านจัดสรร (ถ้ามี)

กรณีอยู่ระหว่างชำระบัญชี
1. หนังสือรับรองบริษัทฯ อายุไม่เกิน 1 เดือน
2. สำเนาบัตรประชาชนผู้ชำระบัญชี
3. หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของนิติบุคคล (ธ.กรุงไทย / ธ.กรุงเทพ / ธ.กสิกรไทย / ธ.ไทยพาณิชย์)
*กรณีบริษัทฯ ร้าง จะต้องไปยื่นคำร้องที่ศาลแขวงเพื่อขอให้นิติบุคคลฯ กลับมามีสถานะเป็นบุคคล แล้วไปยื่นเรื่องที่สำนักพัฒนาธุรกิจเพื่อออกหนังสือรับรองบริษัทฯ ได้

กรณีเลิกกิจการเสร็จสิ้นการชำระบัญชี
1. หนังสือบริคณห์สนธิ (แผ่นที่มีรายชื่อหุ้นส่วนทุกคน)
2. สำเนาบัตรประชาชนหุ้นส่วนทุกคนรับรองสำเนาถูกต้อง หากมีผู้เสียชีวิตต้องแนบใบมรณบัตร
3. หนังสือมอบอำนาจที่ระบุชื่อผู้รับเงินว่าเป็นใคร โดยหุ้นส่วนทุกคนตามข้อ 1. ลงนาม
4. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับเงิน
5. หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของนิติบุคคล (ธ.กรุงไทย / ธ.กรุงเทพ / ธ.กสิกรไทย / ธ.ไทยพาณิชย์
*กรณีบริษัทฯ ร้าง จะต้องไปยื่นคำร้องที่ศาลแขวงเพื่อขอให้นิติบุคคลฯ กลับมามีสถานะเป็นบุคคล แล้วไปยื่นเรื่องที่สำนักพัฒนาธุรกิจเพื่อออกหนังสือรับรองบริษัทฯ ได้

สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ต้องการแนบเอกสารเพิ่มเติม สามารถยื่นเอกสารผ่านได้ผ่านการคลิกฟังก์ชัน “ตรวจสอบเรื่อง” เพื่อแนบเอกสาร แต่สำหรับผู้ที่ต้องการลงทะเบียนใหม่ สามารถคลิกได้ที่ฟังก์ชัน “ขอเพิ่มบัญชีแสดงสัญญา” ซึ่งจะสามารถแนบเอกสารได้หลังจากดำเนินการคลิกลงทะเบียนเสร็จสิ้น ซึ่งผู้ลงทะเบียนที่ MEA ตรวจสอบสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะมีกรอบระยะเวลาสำหรับการรับคืนเงินผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

1.พร้อมเพย์ ประมาณ 3 วันทำการ
2.โอนบัญชีธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ ประมาณ 7 วันทำการ
3.โอนบัญชีธนาคารกสิกรไทย ประมาณ 10 วันทำการ
4.เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขา ประมาณ 3 วันทำการ

ทั้งนี้ MEA ยังคงดำเนินการเปิดให้ผู้ลงทะเบียนสามารถยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ ในการลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ต่อเนื่องโดยไม่มีกำหนดปิดรับ เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการรับบริการ พร้อมทั้งยังช่วยให้เกิดความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อีกด้วย

📌 คู่มือลงทะเบียนคืนเงินหลักประกันการใช้ไฟฟ้า แบบแนบไฟล์เอกสาร คลิก https://www.mea.or.th/content/detail/87/5353