ไข้หวัด มักจะมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ที่มีมากกว่า 200 ชนิด จากกลุ่มไวรัส 8 กลุ่มด้วยกัน ที่สำคัญก็ได้แก่ กลุ่มไวรัสไรโน(Rhinovirus) ซึ่งมีมากกว่า 100 ชนิด นอกจากั้นก็ กลุ่มไวรัสสอะดิโน(Adenovirus) กลุ่มโคโรน่าไวรัส (Coronavirus) เช่น โรคซาร์ส หรือ COVID-19
ซึ่งการเกิดโรคแต่ละครั้งมักจะเกิดจากเชื้อไวรัสเพียงชนิดเดียว เมื่อเป็นแล้วร่างกายก็มักจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหวัดนั้นๆ แล้วก็เวียนไปเป็นหวัดจากเชื้อชนิดอื่นๆเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การติดเชื้อมักเกิดจากการสัมผัสรับเชื้อมา ดังนั้น ยุทธวิธีในการสู้หวัด ไม่ว่าจะสายพันธุ์ใดก็ตาม มักใช้วิธีการเดียวกัน ดังนี้
- การลดจำนวนศัตรู : ศัตรูในที่นี้คือ หมายถึงเชื้อไวรัสการลดการรับเชื้อก็จะช่วยได้ ดังนั้นการรณรงค์ตามมาตรการความปลอดภัยในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ควรทำ ได้แก่ กินร้อน ช้อนฉัน หมั่นล้างมือ งดสังสรรค์ ห่างกัน 2 เมตร เป็นคำแนะนำที่ดูจะเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่สุด
หากต้องมีการเดินทาง หรือต้องไปในที่ชุมชนแออัด มีการรวมกันของผู้คนจำนวนมาก ควรสมหน้ากาก เพื่อป้องกันละอองฝอยที่มีเชื้อไวรัสมาติดเราได้ ทั้งนี้ควรเลือกใช้หน้ากากตามความเหมาะสม
การล้างมือ ควรล้างมือให้ครบขั้นตอน ทั่วทั้งมือ ก่อนและหลังสัมผัสสิ่งของสาธารณะหรือก่อนหลังรับประทานอาหาร และงดการใช้นิ้วมือสัมผัสจมูก ปาก ตา ลดการรับเชื้อ
- สร้างป้อมปราการและสร้างทหารให้แข็งแกร่ง : คือการทำให้ร่างกายแข็งแรง โดยการออกกำลังกาย พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานพืชผักสมุนไพร เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ได้แก่
สมุนไพรที่มีสรรพคุณเพิ่มภูมิคุ้มกัน เช่น ฟ้าทะลายโจร หอมใหญ่ หอมแดง กระเทียม ขิง ข่า กะเพรา ตะไคร้ มะตูม มะขามป้อม กระเจี๊ยบ
ผักที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝักเพกา(484) ดอกขี้เหล็ก(398) ยอดมะยม(302) พริกกะเหรี่ยง(233) ผลยอ(208) มะระขี้นก(190) ฝักมะรุม(159) ผักเชียงดา(153) ยอดฟักข้าว(147) ผักโขม(120) ทองหลาง(100) ยอดน้ำเต้า(95) คะน้า(93) ยอดมะม่วงหิมพานต์(89) ผักชี(78) ใบยอ(76) ดอกบร็อคโคลี(75) ดอกกะหล่ำ(72) ดอกสะเดา(73) ผักปลัง(73) กวางตุ้ง(53) ใบมะรุม(53) ดอกแค(52) ดอกขจร(45) แคร์รอต(41)
ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น มะขามป้อม(600) ฝรั่ง(187) สตรอเบอรี่(77) มะละกอ(60) ส้มเขียวหวาน(42) มะม่วง(36) น้ำมะนาว(34) สับปะรด(22) มะเขือเทศ(21.3)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ คือ ปริมาณมิลลิกรัมของวิตามินซีต่อ 100 กรัมของผัก หรือผลไม้
อาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น น้ำมันดอกคำฝอย เมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเปลือกแข้งประเภทอัลมอนด์ จมูกข้าวสาลี กะหล่ำปลี มันเทศ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ อะโวคาโด(เฉพสะเนื้อ) มะพร้าว ปวยเล้ง
เพิ่มวิตามินดี 3 โดย เดินรับแสงแดดช่วงก่อน 10 โมงเช้า นักระบาดวิทยาชาวอังกฤษ คือ ดร.เอ็ดกา ซิมสัน ต้นพบว่าคนทั่วโลกจะเป็นหวัดมากในช่วงที่มีแสงแดดน้อย แสงแดดเป็นตัวกระตุ้นการสร้างวิตามินดี วิตามินดี3 จะกระตุ้นการสร้างกรดอะมิโนที่ต่อสู้กับสารไซโตไคน์ ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ร่างกายเราควรได้รับแสงแดดไม่แรงมาก รังสียูวีมี 2 ชนิด คือ UVA UVB ในแสงแดดยามเช้าจะมี UVB ที่กระตุ้นการสร้างวิตามินดี แต่หากเลย 10 โมงไปแล้วแดดจะแรงและมี UVA มากขึ้นและเป็นต้นเหตุของมะเร็งผิวหนัง
อาหารต้านอนุมูลอิสระ ส่วนใหญ่ผักผลไม้ส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ผักที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น ใบชะพลู ยอดผักเชียงดา ฝักเพกา หอม กระเทียม มะขามป้อม
- ลดความเสียหาย : เมื่อร่างกายได้ติดเชื้ออาจก่อความเสียหายให้กับร่างกาย ซึ่งจะต้องรักษาตามอาการ เช่นเดียวกับ การรักษาแผนปัจจุบัน โดยใช้สมุนไพที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ เช่น ฟ้าทะลายโจร ขิง ข่า ขมิ้นชัน กระชาย หอม กระเทียม ตะไคร้ กะเพรา หรือช่วยละลายเสมหะ อย่างมะขาม มะขามป้อม
- หาพันธมิตรช่วยรบ : รับประทานสมุนไพรที่มีผลต่อเชื้อไวรัสโดยตรง เช่น ฟ้าทะลายโจร ฝาง ขิง ชะเอม สมุนไพรที่มีสารแอนโธไซยานิน เช่น กระเจี๊ยบแดง ลูกหว้า มะเม่า หรือสมุนไพรที่มีโพลีฟีนอล เช่น มะขามป้อม
“ สมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน และมีน้ำมันหอมระเหย เช่น พริกไทย ดีปลี ขิง ข่า ขมิ้นชัน จะมีสรรพคุณในการลดการอักเสบ ช่วยลดอาการที่เกิดจากหวัด สมุนไพรที่มีสี เช่น กระเจี๊ยบแดง มะเม่า ลูกหว้า ลูกไข่เน่า จะมีสารแอนโธไซยานิน ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน และสมุนไพรที่มีรสฝาด เช่น มะขามป้อม มะขามเทศ มังคุด จะมีสารโพลีฟีนอล นอกจากนี้สมุนไพรที่มีรสขม เช่น มะนะขี้นก ขี้เหล็ก จะมีสารพวกไดเทอร์ปีน สารเหล่านี้จะออกฤทธิ์ต้านไวรัสและเพิ่มภูมิคุ้มกัน ดังนั้นเราควรรับประทานอาหารให้เป็นยา ด้วยการกินพืชผักสมุนไพรที่หลากหลาย ประยุกต์ใช้ในเมนูอาหาร”
[ภาพ สมุนไพรต้านหวัด]