ชป.คุมเข้มอ่างฯน้ำน้อย วอนทุกฝ่ายใช้น้ำให้เป็นไปตามแผนฯที่วางไว้ มั่นใจมีน้ำกินน้ำใช้ถึงต้นฝนหน้า

กรมชลประทาน คุมเข้มการใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ย้ำทุกโครงการชลประทาน ให้เฝ้าระวังและควบคุมการใช้น้ำให้เป็นไปตามแผนที่จัดสรรไว้ พร้อมวอนขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำในอนาคต

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศว่า ปัจจุบัน(16 ม.ค. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 43,126 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุเก็บกักรวมกัน โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ 19,693 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน
เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 10,748 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุเก็บกักรวมกัน โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ 4,052 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน

สำหรับอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ปัจจุบัน (16 ม.ค. 63) มีจำนวน 15 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำภูมิพล จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำ 5,436 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 1,636 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 17 ของความจุอ่างฯ , อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,692 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 1,842 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ ,  อ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 75 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 61 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ และอ่างเก็บน้ำแม่มอก จังหวัดลำปาง มีปริมาณน้ำ 33 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 17 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ

อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มีปริมาณน้ำ 45 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 8 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 6 ของความจุอ่างฯ , อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณน้ำ 472 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ, อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 21 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 14 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 20 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ , อ่างเก็บน้ำมูลบน จังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 48 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 41 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ,  อ่างเก็บน้ำลำแซะ จังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 78 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 71 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุอ่างฯ , อ่างเก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 22 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 19 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ , อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาณน้ำ 212 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 209 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ , อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 36 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 19 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ , อ่างเก็บน้ำกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี มีปริมาณน้ำ 60 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 20 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 8 ของความจุอ่างฯ , อ่างเก็บน้ำคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา มีปริมาณน้ำ 98 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 68 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 17 ของความจุอ่างฯ และอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง มีปริมาณน้ำ 47 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 33 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ

กรมชลประทาน ขอยืนยันว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่ง แม้จะมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย และการระบายน้ำจะใช้เฉพาะเพื่อการผลิตประปา อุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปี 2563 ภายในเงื่อนไขที่ทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด โดยเฉพาะสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขอให้ใช้น้ำตามแผนหรือข้อกำหนดของทางกรมชลประทานเท่านั้น เพื่อที่จะสามารถควบคุมปริมาณน้ำให้เพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้งนี้


ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) กรมชลประทาน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์