รมช.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำ ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 22 ธันวาคม 2562  ร้อยเอก ธรรมนัส  พรหมเผ่า  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ  ได้เดินทางมาตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ติดตามการบริหารจัดการน้ำประตูระบายน้ำชะอวด-แพรกเมือง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหัวไทร โดยมี นายยรรยง โกศลกาญจน์  ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปากพนังบน กล่าวรายงานการบริหารจัดการน้ำ และให้การต้อนรับ และพบปะประชาชนในพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาเรื่องที่ดินทำกินและปัญหาพรุควนเครง

จากนั้นเดินทางไปยังประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ เพื่อรับฟังและติดตามการบริหารจัดการน้ำ ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ อำเภอปากพนัง โดยมีนายธีระเทพ เทพสุยะ  ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปากพนังล่าง และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ รับฟังรายงานการบริหารจัดการน้ำประตูระบายน้ำฯ และลงเรือชมวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำปากพนัง

สำหรับปตร.อุทกวิภาชประสิทธิก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2539แล้วเสร็จปี พ.ศ.2542 เป็นพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่๙ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดสำหรับใช้ในการเกษตร การอุปโภคฤดูแล้งปัญหาน้ำทะเลบุกรุกในฤดูแล้ง และปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทำกินของราษฎรเป็นบริเวณกว้างในฤดูฝน จุดที่ตั้งโครงการตั้งอยู่ทีหมู่ที่5 ต.หูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรืฯ ลักษณะอาคารเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีช่องระบายน้ำรวม 10 ช่อง ประกอบด้วยบานประตูเดี่ยวสูง 9.0 เมตร กว้าง 20.0 เมตร จำนวน 6 ช่อง บานระบายคู่ ความสูงบานบน 3.5 เมตร ความสูงบานล่าง 5.50 เมตร กว้าง 20.0 เมตร จำนวน 4 บาน การใช้งาน ในฤดูแล้งจะปิดบานทั้ง10บาน เพื่อเก็บกักน้ำจืดไว้ใช้ในการอุปโภคบริดภค และการเกษตร ในฤดูฝนจะยกบานพ้นน้ำคืนธรรมชาติให้แก่แม่น้ำปากพนัง แต่ก่อนจะยกบานพ้นน้ำต้องมีการปรับสภาพน้ำด้านท้ายประตูก่อนใช้เวลาประมาณ 3-4สัปดาห์ โดยการปรับสภาพน้ำด้านท้ายประตูจะใช้ ค่าความเค็มเป็นเกณฑ์โดยการค่อยๆปล่อยน้ำจืดลงไปผสมกับน้ำเค็มด้านท้าย เพื่อลดค่าความเค็ม โดยต้องให้ค่าความเค็มค่อยๆลดเพื่อไม่ให้ส่งผลกับสัตว์น้ำ

ปตร.อุทกฯ เป็นประตูระบายน้ำที่ส่งผลกระทบกับคนหลายกลุ่ม ทาง กรมชลประทานจึงได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการชลประทาน ปตร.อุทกวิภาชประสิทธิขึ้น โดยมีนายอำเภอปากพนังเป็นประธาน และมีผู้นำท้องถิ่นและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นกรรมการ เพื่อลดผลกระทบและเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและทำความเข้าใจร่วมกันในการบริหารจัดการประตูระบายน้ำ

……………………………………..