ทำไมต้อง Thailand 4.0 โดย สายธาร อุทกนิมิตร

20 กว่าปีที่แล้วเราถูกปลูกฝังเสมอว่า ประเทศไทยเป็นประเทศ ก?ำลังพัฒนา ไม่ว่าจะออกนโยบายเศรษฐกิจมากี่ฉบับประเทศไทยยังเป็นประเทศกำลังพัฒนาอยู่เสมอมาณ วันนี้เหมือนแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ได้สาดส่องเข้ามาแล้วประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วจริงๆ สักทีThailand 4.0 หลายท่านคงได้ยินมาบ้างแต่มันคืออะไรแล้วทำไมต้อง Thailand 4.0

ในช่วงปีที่ผ่านมาหลายท่านคงเคยได้ยินคำนี้มาบ้าง ไม่ว่าจากสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ นักวิชาการ หรือแม้กระทั่งท่านนายกรัฐมนตรีของเราก็จะพูดออกสื่อบ่อยๆ ว่า Thailand 4.0 แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ แล้วก่อนจะมี 4.0 มันมี 1.0 ,2.0 หรือ 3.0 มาก่อนหรือเปล่า

Thailand 4.0 หรือ ประเทศไทย 4.0 คือวิสัยทัศน์ในเชิงนโยบายการเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจแบบที่ขับเคลื่อนไปด้วยนวัตกรรมและนำพาประชาชนทั้งประเทศไปสู่โมเดลประเทศไทย 4.0 แต่กว่าจะมาเป็น 4.0 หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าประเทศของเรามี Thailand 1.0 Thailand 2.0 และ Thailand 3.0 กันมาแล้ว

Thailand 1.0 เป็นยุคเริ่มแรก ที่รัฐเน้นการลงทุนทางด้านเกษตรกรรม ปลูกข้าว ทำนา ทำไร่ ทำสวน เพื่อส่งไปขาย หากเป็นเรื่องการส่งออกในยุคนั้นจะมีเพียง ไม้สัก หรือดีบุกเท่านั้นเอง Thailand 2.0 เป็นยุคของอุสาหากรรมขนาดเบา โดยใช้แรงงานจำนวนมากแทน แต่เป็น แรงงานที่อัตราถูก มีการใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยในการผลิตต่างๆ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องประดับ Thailand 3.0 เป็นยุคของอุสาหกรรมหนักและการส่งออก มีการลงทุนต่างๆ จากต่างประเทศมากขึ้น มีการปรับใช้เทคโนโลยีกับสายการผลิต รวมทั้งมีการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นในระยะแรก Thailand 3.0 เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ดีมาก ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา ช่วง ปี พ.ศ.2500-2526เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างมากถึงระดับ 7-8% ต่อปี แต่พอมาถึงปัจจุบันอัตราเติบโตหยุดอยู่ที่ 3+4% เท่านั้น ซึ่งทำให้รายได้ของคนไทยอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้นในขณะที่ทั่วโลกมีการแข่งขันที่สูงขึ้นดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนสู่ยุค Thailand4.0 เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง สมดัง คำกล่าวที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

 

Thailand 4.0 ถือได้ว่าเป็นวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจให้ก้าวไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนจากที่เราทำมากแต่ได้ผลตอบแทนน้อย โดยปรับเป็นทำน้อยแต่ได้ลตอบแทนมาก หรือใช้คำว่ามหาศาลเลยทีเดียววิธีการที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0คือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับนวัตกรรม และต้องทำให้เกิดความสมดุลในการผลิต โดยความต้องการของการซื้อและการขายต้องพอดีกัน หรือจะทำอย่างไร ให้สินค้านั้น ๆ เป็นที่ต้องการของตลาดให้เพิ่มมากขึ้น โดยนำเอานวัตกรรมเข้ามาเพื่อเพิ่มจุดแข็งให้กับธุรกิจของตน การขับเคลื่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติ สำคัญคือ

  1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์”ไปสู่สินค้าเชิง“นวัตกรรม”
  2. เปลี่ยนแปลงจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี่ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
  3. เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

Thailand 4.0 จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญคือ

  1. เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming)ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องรํ่ารวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
  2. เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และStartups ที่มีศักยภาพสูง
  3. เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างตํ่า ไปสู่ High Value Services
  4. เปลี่ยนจากแรงงานทักษะตํ่า ไปสู่แรงงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

จากคำกล่าวในการเสวนา “สร้างประเทศไทย 4.0”  ให้เป็นจริงได้อย่างไร ของนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) ได้กล่าวไว้ว่าอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศ จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค 4.0 โดยใช้ทฤษฎี 3 สูง1 ตํ่า คือ ลงทุนสูง คุณภาพสูง ประสิทธิภาพสูง แต่ต้นทุนตํ่าเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ พร้อมทั้งเสนอให้รัฐบาลปรับแก้กฎหมายผังเมือง เพราะการดำเนินธุรกิจเกษตรไม่สามารถกำหนดพื้นที่ตั้งโรงงานจากการแบ่งเขตผังเมืองได้ แต่ควรให้โรงงานตั้งอยู่ใกล้แหล่งผลผลิตทางการเกษตรมากที่สุด เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง “หากประเทศไทยเดินตามยุทธศาสตร์ 20 ปี และพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้ คนไทยจะรวยขึ้น และอาจจะส่งผลให้คนไทยมีรายได้ต่อคนต่อปีแซงหน้าสิงคโปร์ในอีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเปลี่ยนโฉมใหม่ คนจะใช้เวลาทำงานน้อยลง เพราะจะมีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาทำงานแทนคน คนก็จะมีเวลาไปเที่ยวและใช้จ่ายมากขึ้น”  นายธนินทร์ กล่าว

 

ขณะเดียวกันหากเข้ายุค 4.0 ภาคอุตสาหกรรมจะผลิตสินค้าได้มากขึ้นจนล้นเหลือ เศรษฐกิจจะดีขึ้น เงินเฟ้อจะหายไป แต่ต้องระมัดระวังว่าอาจจะเกิดเป็นภาวะเงินฝืดแทน รัฐบาลจึงต้องเตรียมรับมือ เพราะการเปลี่ยนแปลงของโลก 4.0 มีทั้งวิกฤติและโอกาสที่ต้องก้าวให้ทัน หากยังไม่มีการปรับตัวก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้แนวคิดและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยตามโมเดล Thailand 4.0 หากทำได้จริงตามที่กล่าวมาก็น่าจะเป็นหนทางที่จะนำพาให้คนไทยได้หลุดพ้นจากความยากจน เพียงแต่สถานการณ์การเมืองจำเป็นต้องนิ่งต่อไปอีก 1-2 ปี เพื่อที่ประเทศไทยจะได้สามารถขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างภาคภูมิและรํ่ารวยเสียที

ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยรัฐ / ไทยโพสต์