ก่อนที่จะกล่าวถึงอนาคตเกษตรกรไทยจะเป็นอย่างไร? คงจะต้องมารื้อฟื้นว่า AEC คืออะไร? มีที่มาที่ไปอย่างไร?ข้อเท็จจริงผู้นำประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีมติเห็นชอบที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง โดยกำหนดแนวทางหลักในการร่วมมือของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) โดยให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงและเสถียรภาพการเมือง ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคเพื่อประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และปราศจากภัยคุกคามด้านการทหาร และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ๆ เช่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) เสาหลักที่สองนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางสังคมที่เอื้ออาทร แบ่งปัน สร้างประชาการอาเซียนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสิรมอัตลักษณ์ของอาเซียน
3.เสาหลักที่สาม คือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่เป็นเสาหลักสำคัญยิ่ง ในท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการรวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่าง ๆ อาทิ สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดยภายในปี 2558 มีความประสงค์ให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้ โดยมีแผนการดำเนินการ 4 ด้าน
3.1 มุ่งที่จะผลักดันให้อาเซียนเป็นตลาดเดียว และเป็นฐานการผลิตร่วมกัน
3.2 มุ่งจะให้เกิดการเคลื่อนย้าย เงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกอย่างเสรี
3.3 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ประกอบด้วยกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMC) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียนและช่วยให้ประเทศสมาชิกเหล่านี้เข้าร่วมในระบวนการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน ส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะเสียเปรียบ และส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
3.4 ส่งเสริมความร่วมมือ นโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยวการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือจากแนวทางทั้ง 4 ด้าน
“ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าการลงทุนภายในภูมิภาค ลดการพึ่งพาตลาดภายในประเทศที่ 3 สร้างอำนาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก เพิ่มสวัสดิการ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิก ในโอกาสนี้เราจะมาวิเคราะห์เฉพาะเสาหลักที่ 3 คือ“ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” ว่าจากแผนงานทั้ง 4 ด้าน จะทำให้เกษตรกรที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง และมีความเป็นอยู่ที่ดี ยั่งยืนจริง ๆ หรือไม่? มาพิจารณาเป็น แผน ๆ ไป
- ความตั้งใจจะพัฒนาให้อาเซียนเป็นตลาดเดียว และเป็นฐานการผลิตร่วมกัน ถ้าวิเคราะห์ความหมายของตลาดเดียว คือ ทุกประเทศร่วมกันกำหนดมาตรฐานสินค้า และกำหนดราคาขายเหมือนกันข้อเท็จจริงปัจจุบันยังเป็นระบบต่างคนต่างค้า ทุกประเทศกำหนดราคาของตนเอง ตัวอย่างราคาส่งออกข้าวของไทยยังสูงกว่าราคาข้าวของพม่าและเวียดนาม ทำให้การค้าเหมือนตัดราคากันเองในประเทศผู้ผลิตในอาเซียน ส่วนการเป็นฐานการผลิตร่วมกัน ก็ยังไม่มีการกำหนดปริมาณการผลิตของแต่ละประเทศ เพราะเกษตรกรในประเทศต่าง ๆ ก็ยังปลูกพืชคล้าย ๆ กัน เนื่องจากสภาพดินฟ้า อากาศ มีลักษณะคล้าย ๆ กัน การผลิตพืชเศรษฐกิจจึงคล้ายกับการผลิตก็ผลิตไปตามความต้องการของประเทศนั้น โดยมิได้คำนึงถึงเสถียรภาพราคา
สรุปจากการดำเนินการในปัจจุบันยังเป็นลักษณะที่ทุกประเทศผลิตและค้าเองอย่างเสรี และแข่งขันกันเองในอาเซียนเพื่อประโยชน์ของตนเองมากกว่าของเกษตรกรทั้งอาเซียน ในกรณีเกษตรกรไทยก็ต้องวิเคราะห์ปัญหาเป็นรายสินค้าว่าสินค้าใดมีปัญหาด้านการผลิต เช่น ข้าว มีการส่งออกน้อยกว่าปริมาณที่ผลิตได้ในกลุ่มประเทศอาเซียน ทำให้มีข้าวค้างสต็อกอยู่ในบางประเทศ อีกประการทำให้ผู้ซื้อกดราคาให้ต่ำกว่าปกติหรือไม่เป็นธรรมกับเกษตรกรส่วนด้านการผลิตเกษตรกรไทยก็มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าประเทศอื่น ดังนั้นเกษตรกรไทยต้องปรับโครงสร้างการผลิตให้สมดุล และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้
- มุ่งจะให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการการลงทุน และแรงงานมีฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกอย่างเสรีจากการเปิดเสรีตามข้อตกลง AEC ด้านการเคลื่อนย้ายเงินการลงทุนได้เสรี ภาคเกษตรกรเองไม่ได้อะไร เพราะเกษตรกรจริง ๆยากที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ มีแต่ภาคอุตสาหกรรม การบริการที่ผู้ประกอบการมีศักยภาพที่จะเคลื่อนย้ายไปลงทุนในประเทศที่มีวัตถุดิบทางการเกษตรที่ถูกกว่าประเทศไทย ตัวอย่างที่เห็นชัดโรงงานอาหารสัตว์ของไทยไปตั้งในกลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) ผลที่ตามมาโรงงานของบริษัทนี้ในไทยลดการผลิตลง ทำให้ราคาผลผลิตเกษตรที่ใช้ในโรงงานมีปัญหา สำหรับกรณีเปิดเสรีการค้าของประเทศใน AEC ทำให้มีการนำเข้าสินค้าเกษตรจากกลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) ที่มีต้นทุนถูกกว่า เนื่องจากแรงงานถูกกว่าไทยทำให้สินค้าเกษตรของไทยถูกกดราคาให้เท่ากับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า สินค้าเกษตรจะได้รับผลกระทบจากข้อตกลงของ AEC ซึ่งต่างจากภาคอุตสาหกรรม และการบริการที่มีโอกาส หรือจะสามารถลดต้นทุนจากวัตถุดิบที่มีต้นทุนหรือราคาถูก
กล่าวโดยสรุปจากข้อตกลง AEC ในข้อที่ 2 จะทำให้สินค้าเกษตรไทยได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านทำให้สินค้าไทยต้องลดราคาเพื่อแข่งขันกับสินค้านำเข้ามากกว่าที่จะเกิดผลดีกับสินค้าเกษตรไทย
- ให้ความช่วยเหลือกับประเทศสมาชิกใหม่ CLMV เพื่อลดช่องว่างการพัฒนา ข้อตกลงก็ไม่มีผลดีต่อเกษตรกร เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่เกษตรกรเป็นเกษตรกรรายย่อย ที่ต้องได้รับการพัฒนาเช่นเดียวกับ CLMV เช่น การพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าเกษตรจากไร่นา สู่ตลาดที่เกษตรกรไทยยังขาดอีกมาก4. ส่งเสริมความร่วมมือนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ก็เป็นข้อกำหนดในกลุ่มประเทศ ที่รัฐบาลไทยตกลงไว้ ก็ไม่เกิดประโยชน์กับเกษตรกร แต่มีประโยชน์เชิงพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม AEC เพราะมีโรงงานน้ำตาลไทยและต่างประเทศไปตั้งโรงงานน้ำตาลในกลุ่มประเทศ CLMV มากขึ้น ทำให้การขยายตัวด้านอ้อยในประเทศจะน้อยลง ซึ่งเกษตรกรจะต้องพยายามปรับตัวในเรื่องของต้นทุนให้มากขึ้น
สรุปข้อตกลงใน AEC 4 แนวทาง สามารถสรุปได้ว่า ข้อตกลงไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยในทางบวก แต่จะเกิดผลกระทบเชิงลบมากกว่า ดังนั้นเกษตรกรคงต้องพิจารณาปรับตัวในการผลิต และต้องยอมรับความจริงว่า เพื่อความอยู่รอดของเกษตรกร ๆ จะต้องปรับตัว ข้อพิจารณาจะต้องปรับตัวอย่างไร ในอนาคตเพื่อความยั่งยืนของอาชีพ
การพิจารณาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดทิศทางในอนาคตของเกษตรกรไทยต้องวิเคราะห์เป็นรายสินค้า ประกอบด้วยข้าว ทั้งอาเซียนประเทศที่ปลูกข้าว ประกอบด้วย 9 ประเทศ ขาดเฉพาะประเทศสิงคโปร์ ประเทศบรูไน มีการปลูกข้าวเล็กน้อย 8 ประเทศที่เหลือมีพื้นที่ปลูก 297,122,000 ไร่ ผลิตข้าว ได้ 209,348,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 695 กิโลกรัม โดยประเทศที่มีการส่งข้าวออกที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม ไทย พม่า กัมพูชา และลาว ส่วนประเทศต้องมีการนำเข้าเพื่อบริโภคได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซียอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน เรียกว่าส่งออก 5 ประเทศ นำเข้า 5 ประเทศ การปรับตัวของเกษตรกรไทยคงต้องพิจารณาศักยภาพของการผลิตผู้ส่งออก จากข้อมูลของสารสนเทศเพื่อความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยมศักยภาพการผลิตต่ำสุด ที่460 กิโลกรัม ต่ำกว่าศักยภาพเฉลี่ยของภูมิภาคมากกว่า 200 กิโลกรัมปัญหาด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของชาวนาไทย คือต้องเพิ่ม ประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันกันกับกลุ่มประเทศเพื่อส่งออกให้ได้ ควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิตสำหรับการรองรับปัญหาด้านตลาดนั้น ทางราชการจะต้องวิเคราะห์และกำหนดปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดรวมทั้งต้องกำหนดชนิดข้าวที่จะผลิต อาทิ ข้าวสำหรับคนที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง ที่ต้องการข้าวคุณภาพ (ข้าวหอมมะลิ) ข้าวที่ผลิตเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวอินทรีย์ ข้าว GAP ข้าวที่ผลิตเพื่อส่งออกทางประเทศอาหรับที่ไม่ต้องการข้าวหอม แต่ต้องการข้าวที่สามารถทานด้วยมือ ไม่เหนียวมาก ข้าวที่มีคาร์โบไอเดรตต่ำ หรือข้าวเพื่อผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ เป็นต้นถ้าหากสามารถปรับโครงสร้างการผลิตข้าว ตามความต้องการของตลาด และการเพิ่มประสิทธิภาพแล้ว ทางราชการจะต้องคำนึงถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ของชาวนากับโรงสี โรงงานน้ำมันรำ และโรงงานแปรรูปข้าวต่าง ๆ เช่นเดียวกับอ้อยที่มีกองทุนน้ำตาล เพื่อใช้พัฒนาการผลิตอ้อย และผลิตสินค้าทั้งระบบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในกลุ่มประเทศอาเซียน จำนวน 7 ประเทศ จำนวน 60,176,000 ไร่ไทยมีเนื้อที่ปลูกเพียง 6,964,000 ไร่ หรือร้อยละ 11 ของอาเซียนไทยเกือบไม่มีการส่งออกเลยเพราะความต้องการในประเทศมาก แต่อนาคตพื้นที่ปลูกน่าจะลดลง เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมได้ย้ายไปตั้งโรงงานในกลุ่มประเทศ CLMV ทำให้ความต้องการในประเทศมีแนวโน้มลดลง แต่เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพการผลิตของไทยที่สูงกว่าไร่ละ670 กิโลกรัม สูงกว่ากัมพูชา พม่า (เมียนมา) และฟิลิปปินส์ ที่ให้ผลผลิต 614 กิโลกรัม 596 กิโลกรัม และ 461 กิโลกรัม ตามลำดับ
กล่าวได้ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังมีปัญหาไม่หนักหนาเท่ากับข้าวในด้านศักยภาพ แต่เรื่องต้นทุนกล่าวได้ว่าจะต้องเร่งรีบพัฒนาเพื่อลดต้นทุน และที่สำคัญต้องพิจารณาการปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับตลาดเป็นหลักอ้อยโรงงาน ทั้งอาเซียนมีพื้นที่ปลูก 17,204,000 ไร่ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด 8,908,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ51 ของพื้นที่ทั้งหมด ศักยภาพการปลูกอ้อยของไทยอยู่อันดับ 2 ได้ไร่ละ 10,568 กิโลกรัม รองจากเวียดนามประเทศเดียวที่ได้ผลผลิต11,345 กิโลกรัม ศักยภาพการผลิตเฉลี่ยของ 7 ประเทศในอาเซียน9,520 กิโลกรัม กล่าวได้ว่าอ้อยโรงงานมีปัญหาน้อยที่สุดเพราะเป็นการผลิตใช้ในประเทศ อีกประการหนึ่งภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลมีความเข้มแข็ง เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมด้านราคา และผลประโยชน์ โดยเกษตรกรได้รับผลจากการแปรรูปเป็นน้ำตาลที่บริโภคภายในประเทศและส่งออก ในรูปกองทุนอ้อยและน้ำตาล ที่มี พ.ร.บ.ค้มุ ครอง ทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลได้รับการดูแลและพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำและปลายน้ำ ที่สำคัญเกษตรกรชาวไร่อ้อยมีโอกาสดีกว่าพืชอื่น ๆ ที่ทราบราคาที่จะได้รับล่วงหน้าก่อนปลูก ทำให้เกษตรกรสามารถเลือกระดับการลงทุนได้ตามราคาตลาดและสถานะภาพเกษตรกรเอง หากไม่พอใจในราคาที่จะได้ก็อาจเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น ๆ ได้
…อนาคตเกษตรกรไทยใน AEC ยังหนักหนาสาหัสที่เกษตรกรจะต้องยอมรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต โดยยึดการตลาดนำ พร้อมกับต้องเร่งรัดพัฒนาตนเองให้สามารถ เพิ่มศักยภาพลดต้นทุน สามารถแข่งขันกับผู้อื่นอย่างยั่งยืน ในเวลาเดียวกันภาคราชการก็จะต้องสามารถกำหนดแผนการผลิตพืชผลในระยะยาว…
อย่างไรก็ดีเกษตรกรชาวไร่อ้อยก็อาจได้รับผลกระทบจากข้อตกลง AEC เพราะมีโรงงานน้ำตาลไทย และต่างประเทศ ไปตั้งโรงงานน้ำตาลในกลุ่มประเทศ CLMV มากขึ้น ทำให้การขยายตัวด้านอ้อยในประเทศจะน้อยลง ซึ่งเกษตรกรต้องพยายามปรับตัวในเรื่องของต้นทุนให้มากขึ้นถั่วเหลือง เป็นพืชอาหารที่มีการปลูกในกลุ่มประเทศอาเซียนพอประมาณในปี 2559 มีพื้นที่ปลูกประมาณ6,150,000 ไร่ โดยประเทศไทยมีความต้องการถั่วเหลือง เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และน้ำมันมาก แต่มีพื้นที่ปลูกประมาณ216,000 ไร่ จึงมีการนำเข้าถั่วเหลืองจำนวนมาก ถั่วเหลืองจึงเป็นพืชที่มีโอกาสในประเทศไทย เพราะผลิตใช้ในประเทศและไทยมีศักยภาพการผลิตสูงสุดในอาเซียน ผลผลิตต่อไร่ 269 กิโลกรัม ในขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของ 8 ประเทศอาเซียน 246 กิโลกรัมเท่านั้นอย่างไรก็ดีการนำเข้าถั่วเหลืองซึ่งส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกาถั่วเหลืองจึงเป็นพืชที่ทางราชการควรพิจารณาถึงในการปลูกแทนในพื้นที่ปลูกพืชอื่น ๆ การผลิตเพื่อใช้ในประเทศจะช่วยลดปัญหาขัดแย้งกับ WTO ได้มันสำปะหลัง เป็นพืชไร่ที่มีพื้นที่ปลูกในกลุ่มประเทศอาเซียนค่อนข้างมาก ประมาณ 25,146,000 ไร่ ประเทศไทยปลูกมากที่สุด 9,464,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 39 แต่มีศักยภาพการผลิตเป็นอันดับ 4 ของอาเซียน ผลผลิตต่อไร่ 3,426 กิโลกรัม โดยศักยภาพเฉลี่ยของ 8 ประเทศอาเซียน 3,497 กิโลกรัม สูงกว่าศักยภาพของไทย มันสำปะหลังจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีปัญหา เพราะโอกาสที่ผู้ใช้ในประเทศจะนำเข้าจากกัมพูชา และลาว ที่มีศักยภาพสูงและต้นทุนต่ำกว่า อีกประการหนึ่งการไปตั้งโรงงานอาหารสัตว์ในกลุ่มประเทศCLMV ก็จะทำให้อุปทานในประเทศเหลือมาก ซึ่งจำเป็นจะต้องส่งออกไปจีนที่เป็นตลาดหลัก เกษตรกรชาวไร่มันจึงจำเป็นต้องเร่งรัดพัฒนาศักยภาพการผลิต ลดต้นทุน และพัฒนาคุณภาพมันเส้นให้สะอาดได้มาตรฐาน ที่สำคัญเกษตรกรจะต้องซื่อสัตย์ในเรื่องการปลอมปน
สรุปแล้วอนาคตเกษตรกรไทยใน AEC ยังหนักหนาสาหัสที่เกษตรกรจะต้องยอมรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต โดยยึดการตลาดนำ พร้อมกับต้องเร่งรัดพัฒนาตนเองให้สามารถ เพิ่มศักยภาพ ลดต้นทุน สามารถแข่งขันกับผู้อื่นอย่างยั่งยืน ในเวลาเดียวกันภาคราชการก็จะต้องสามารถกำหนดแผนการผลิตพืชผลในระยะยาว 5 ปี 10 ปี 20 ปี อย่างชัดเจนว่าจะผลิตแต่ละพืชปริมาณเท่าใด ที่ใด ให้สอดคล้องกับการตลาด สำหรับพื้นที่ ๆ เหลือก็ควรส่งเสริมการปลูกพืชที่ภาคอุตสาหกรรมในประเทศต้องการเพื่อลดปัญหาด้านการตลาดและทางราชการสามารถเข้าช่วยเหลือเกษตรกรในการพัฒนาพืชใหม่ได้อย่างเต็มที่และไม่ขัดแย้งกับข้อตกลง WTOจากการกำหนดแผนระยะยาวจะสามารถสร้างเกษตรกรที่ มั่งคั่งมั่นคง และยั่งยืน ไม่เป็นภาระกับทางราชการได้