กรุงเทพมหานคร—7 มีนาคม 2568 เนื่องในวันมะเร็งโลก 2568 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ มูลนิธิรักษ์ตับ จัดงาน Voice of Liver ครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิด “United by Unique Against Cancer, Better Treatment for Better Living” พร้อมผนึกภาครัฐ แพทย์ และผู้ป่วยเพื่อสร้างความตระหนักรู้ และขับเคลื่อนการเข้าถึง ยานวัตกรรมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลาม โดยมีนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวง สาธารณสุข เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์ ศ.เกียรติคุณ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รักษาการรองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร.อ.นพ.สมชาย ธนะสิทธิชัย ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.จำรัส พงษ์พิศ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดิน อาหารและตับ โรงพยาบาลหนองคาย และตัวแทนมูลนิธิรักษ์ตับ นางสาวศิรินทิพย์ ขัติยะกาญจน์ ประธาน มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง พร้อมภาคีเครือข่ายร่วมเปิดงานเพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ และร่วมขับเคลื่อน ให้คนไทยมีสิทธิ์ขั้นพื้นฐานในการรักษาโรคมะเร็งตับด้วยยานวัตกรรม
มะเร็งตับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ท้าทาย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และมูลนิธิรักษ์ตับร่วมกับภาครัฐ และเอกชนรณรงค์ลดการสูญเสียชีวิตจากมะเร็งตับระยะลุกลาม และเรียกร้องให้มีการพิจารณายานวัตกรรม เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเท่าเทียม
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “มะเร็งตับเป็นสาเหตุการเสีย ชีวิตอันดับ 1 ของไทย และมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 183,541 คน โดยกระทรวงฯ มีนโยบาย “มะเร็งครบวงจร” และ “มะเร็งรักษาทุกที่” เพื่อการดำเนินงานที่ครอบคลุม อำนวยความ สะดวกให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพทุกแห่งได้เร็วที่สุด ช่วยลดอัตราการป่วย การเสีย ชีวิต และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ป่วย”
“งาน “Voice of Liver ฟังเสียงตับ รับมือมะเร็งตับ” ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่จะช่วยเสริม สร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการให้ผู้ป่วยมะเร็งตับได้เข้าถึงการรักษาด้วยยา นวัตกรรมและการดูแลที่เท่าเทียมกัน เพราะทุกชีวิตมีคุณค่า” รมว. สาธารณสุขกล่าว
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า “การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซีเป็นสาเหตุ สำคัญของมะเร็งตับ องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้ทุกประเทศ ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีให้แก่ ทารกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ซึ่งทำให้อัตราการติดเชื้อในเด็กลดลงอย่างมาก และมีมาตรการป้องกันการติด เชื้อไวรัสตับอักเสบซี ส่งผลให้อุบัติการณ์มะเร็งตับลดลงเฉลี่ยปีละ 2-3%”
“กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการคัดกรองมะเร็งตับ และในปี พ.ศ. 2566 สำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีนโยบายให้มีการคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและซี โดยมีการคัดกรองในกลุ่ม เสี่ยงที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 และสามารถเข้ารับการคัดกรอง และรักษาได้ในโรงพยาบาล ทั่วประเทศรวม 223 แห่ง ทั้งนี้ ตั้งเป้าหมายคัดกรอง 6 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งจะช่วยป้องกัน โรคตับแข็งและมะเร็งตับ ลดค่าใช้จ่ายการรักษาในอนาคต”
ศ.เกียรติคุณ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รักษาการรองเลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวเสริมว่า “การรักษามะเร็งตับมีความก้าวหน้าโดยใช้ยารักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งจะช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดจาก การรักษาแบบดั้งเดิม และยังช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลามมีอัตรารอดชีวิตยาวนานขึ้น แต่ปัจจุบันยังมี ผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยากลุ่มดังกล่าวได้ โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มุ่งมั่นที่ จะค้นหาแนวทางการควบคุม และป้องกันโรคมะเร็งตับอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะหากสามารถตรวจพบ ได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก็จะช่วยทำให้การรักษาได้ผลดี เพิ่มระยะเวลา การรอดชีวิตโดยเฉลี่ยได้สูงขึ้น ขณะนี้กำลังศึกษาเพื่อพัฒนาการคัดกรองมะเร็งตับและท่อน้ำดีด้วยปัญญา ประดิษฐ์ร่วมกับการประมวลผล ภาพอัลตราซาวด์ เพื่อสนองพระปณิธานองค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในการดูแลสุขภาพ ประชาชน ในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งมุ่งส่งเสริมการทำวิจัยของบุคลากรในประเด็น ที่มุ่งแก้ไขปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เพื่อสร้าง องค์ความรู้ และนวัตกรรมเชิงสุขภาพที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ จริงเพื่อพัฒนาประเทศและสังคมอย่างยั่งยืน”
“งาน Voice of Liver ครั้งที่ 4 เป็นการสะท้อนความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว พร้อมขับ เคลื่อนให้มียานวัตกรรมการรักษาใหม่ๆ เข้าสู่สิทธิประโยชน์ของรัฐ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ป่วยมะเร็งตับ ทุกคนจะมีโอกาสได้รับการรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม” ศ.เกียรติคุณ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน กล่าว
ด้านนายแพทย์จำรัส พงษ์พิศ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลหนองคาย และตัวแทนมูลนิธิรักษ์ตับ กล่าวว่า “ปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งตับในไทยได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ซึ่งมี ชีวิตรอดได้เพียง 3-6 เดือน ในขณะที่ยามุ่งเป้าช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลามมีอัตรารอดชีวิตราว 10-13 เดือน ในขณะที่การใช้ยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัดร่วมกับยาต้านการสร้างหลอดเลือดช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะ ลุกลามมีอัตรารอดชีวิตราว 19.2 เดือนจากการศึกษาในผู้ป่วยทั่วโลก และ 24 เดือนในผู้ป่วยในประเทศจีน ซึ่งยาดังกล่าวยังไม่ได้รับการบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ทางยาของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ ภาครัฐเป็นที่พึ่งของ ผู้ป่วยมะเร็งตับในการผลักดันการบรรจุยานวัตกรรมเข้าสู่สิทธิการรักษา ของคนไทยทุกคนได้อย่างเท่าเทียม”
งานนี้ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “การเข้าถึงยานวัตกรรมมะเร็งตับ กับอีกก้าวที่ใกล้ความจริงมากขึ้น” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช., รศ. นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ กรรมาธิการสาธารณสุข, นพ.จำรัส พงษ์พิศ อายุรแพทย์โรงพยาบาลหนองคาย, ตัวแทนมูลนิธิรักษ์ตับ, พญ.จอมธนา ศิริไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์, พญ.ธนิตา ลิ้มศิริ อาจารย์แพทย์คณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน, นพ.จตุพร ผู้พัฒน์ แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ตับ, และ ดร.ลักษณ์วรรณ พิมพ์สวัสดิ์ ประธานกลุ่ม ร่วมด้วยช่วยตับ โดยในเสวนานี้ จะมีการถ่ายทอด เรื่องราว และประสบการณ์การรักษามะเร็งตับจากทั้งผู้ป่วยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงมุมมองจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการจุดประกายความหวังและสะท้อนข้อเรียกร้องของผู้ป่วย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาข้อ เสนอแนะ และแสวงหาแนวทางยกระดับคุณภาพชีวิตและมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย รวมทั้งการผลักดันให้ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลามได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียม
แพทย์หญิงจอมธนา ศิริไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวในการ เสวนาว่า “มะเร็งตับสามารถรักษาได้หากตรวจพบในระยะเริ่มต้น แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักตรวจพบเมื่อโรค ลุกลามในระยะ 3 หรือ 4 ซึ่งทำให้การรักษายากขึ้น โดยผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และประคับประคอง มีอายุขัยเฉลี่ย 3-6 เดือน”
“นอกจากการตรวจคัดกรองแล้วการรักษาก็มีความสำคัญเช่นกัน ปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งตับระยะ ลุกลามสามารถใช้ยานวัตกรรมที่ช่วยชะลอโรคและเพิ่มคุณภาพชีวิต แต่การเข้าถึงการรักษายังมีข้อจำกัด การบรรจุยานวัตกรรมในบัญชียาหลักแห่งชาติจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้เท่าเทียม และยกระดับ คุณภาพระบบสาธารณสุขไทย”
“การจัดตั้งกองทุนยามะเร็งเป็นแนวคิดที่กำลังศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยเข้าถึงยานวัตกรรมเร็วขึ้น โดยเรียนรู้จากโมเดลในประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ และไต้หวัน แม้ว่าจะยังไม่สามารถจัดตั้งกองทุนได้ แต่ได้แสดงให้เห็นความพยายามหาทางเลือกใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา การศึกษาจัดตั้งกองทุนยามะเร็ง และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นก้าวสำคัญ เพราะหากไม่เริ่มตั้งแต่วันนี้ ผู้ป่วยมะเร็งตับก็จะยังอยู่กับ การรักษาแบบเดิม ๆ ไม่มีโอกาสเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพและยานวัตกรรม อัตราการเสียชีวิต ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” แพทย์หญิงจอมธนา ศิริไพบูลย์ กล่าวเสริม
ดร.ลักษณ์วรรณ พิมพ์สวัสดิ์ ประธานกลุ่ม ร่วมด้วยช่วยตับ และอดีตผู้ป่วยมะเร็งตับระยะ 4 กล่าวว่า “หลังจากได้รับการวินิจฉัยและรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายแสง พบว่ามีผลข้างเคียงจากการรักษามาก จนเครียดและไม่ต้องการรักษาต่อ แต่เมื่อได้รับการผ่าตัดจนตับเหลือ 35% อาการดีขึ้น หากมีนวัตกรรม หรือยาที่ช่วยลดผลข้างเคียงและเพิ่มคุณภาพชีวิต ตนจะเลือกใช้ทันที เพราะเชื่อว่าผู้ป่วยทุกคน จะประสบปัญหานี้”
“ปัญหาหลักของผู้ป่วยคือค่ารักษาและค่ายา หากผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยานวัตกรรมที่มีผลดี และผลข้างเคียงน้อย ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตให้มีผลกระทบน้อยที่สุดได้ ซึ่งมีงานวิจัยที่ศึกษาในผู้ป่วย พบว่ากว่า 60% ของผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือในด้านค่ายา ซึ่งเป็น 1 ในปัญหาหลัก”
“ช่องว่างในการเข้าถึงการรักษา ต้องร่วมกันผลักดันให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น โดยไม่ควรมอง แค่เรื่องราคา แต่ควรมองที่ความคุ้มค่าและด้านมนุษยธรรม คนไข้ควรจะมีชีวิตอยู่ต่อ ซึ่งอาจเป็นสิ่งล้ำค่า ของเขาและคนในครอบครัว และสามารถทำประโยชน์ให้สังคมต่อไปได้อีกมาก” ดร.ลักษณ์วรรณ กล่าวปิดท้าย
โครงการ Voice of Liver “ฟังเสียงตับ รับมือมะเร็ง” ครั้งที่ 4 จึงถือเป็นอีกหนึ่งแนวทาง ที่จะช่วยสะท้อนความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว เป็นเวทีที่จะช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยเงียบ จากโรคมะเร็งตับ และเป็นการรวมพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจการผลักดันให้ยานวัตกรรมเข้าสู่สิทธิ ประโยชน์ของรัฐ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ