“ศึกษา” ลงนาม MOU กับ การท่องเที่ยวและกีฬา ดันลูกเสือเป็นมัคคุเทศก์ส่งเสริมการท่องเที่ยว!!

เมื่อวันที่​ 17 กันยายน 2562​ เวลา​ 15.30​ น. ณ หอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร : “สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ” จับมือ “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” ลงนาม MOU เพื่อร่วมมือตั้งกองลูกเสือมัคคุเทศก์ โดยมุ่งหวังให้ลูกเสือมีบทบาทในการเป็นมัคคุเทศก์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้ง ยังเป็นการปลูกฝังให้ลูกเสือเกิดความรัก ความภาคภูมิใจในคุณค่าของท้องถิ่นของตน มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว มั่นใจ เยาวชนที่จะมาร่วมโครงการมัคคุเทศก์ในครั้งนี้ สามารถเป็นผู้นำ และเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ในอนาคต

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดย นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา​ ซึ่งต่อไปในบันทึกความร่วมมือนี้ เรียกว่า “สป.ก.” สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายประเสริฐ บุญเรืองเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติซึ่งต่อไปในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ เรียกว่า “สลช.” โดยมี​ นายพิพัฒน์​ รัชกิจประการ​ รัฐมนตรี​ว่าการ​ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา​ และ​ ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ​ ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน

ทั้งสองฝ่ายข้างต้นได้มีความประสงค์ที่จะร่วมมือกันเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการส่งเสริมศักยภาพของเด็กและเยาวชนผู้เป็นลูกเสือโดยถือเป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.เพื่อปลูกฝังให้ลูกเสือในท้องถิ่นให้เกิดความรักความภาคภูมิใจในคุณค่าของท้องถิ่นตนเอง มีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว
2.เพื่อพัฒนาลูกเสือให้เกิดการเรียนรู้มีทักษะในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรมและประเพณีของท้องถิ่นตนเองให้กับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือนให้เกิดความประทับใจ
3.เพื่อสร้างศักยภาพให้กับลูกเสือให้มีระเบียบวินัยมีจิตบริการที่ดีการเป็นเจ้าบ้านที่ดี การเป็นจิตอาสาหรือเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้มาเยือนท้องถิ่นของตนเอง
4.เพื่อสร้างบุคลกรที่มีคุณภาพให้กับท้องถิ่นสร้างแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ในอนาคต ก่อให้เกิดประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

ข้อ 1.ขอบเขตความร่วมมือของ “สป.กก.”
1.1 สนับสนุนข้อมูลองค์ความรู้ในการร่วมจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ลูกเสือมัคคุเทศก์​ (Guide Scout” และการประเมินผลการฝึกอบรมทั้งนี้ภายใต้ขอบเขตอำนาจกฎหมายของ กระทรวงการท่องเที่ยว​และ​กีฬา​

1.2 สนับสนุนการเชื่อมโยงเครือข่ายสนอแนะวิทยกรหรือผู้เขียวชาญในการให้องค์ความรู้แก่ลูกเสือ​ ที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติให้การสนับสนุนและพัฒนาและประสานงานหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว รวมถึงองค์ความรู้ด้านการท่องเทียวอาทิการเป็นเจ้บนที่ดีการบริการด้านการท่องเที่ยว ทักษะการเป็นผู้สื่อความหมายด้านการท่องเที่ยวที่ดี เป็นต้น

1.3 สนับสนุนการประมินผลการฝึกปฏิบัติงานของลูกเสือผู้ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักสูตร​ ที่กำหนดไว้

1.4 ประชาสัมพันธ์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการ และร่วมประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์

ข้อ 2. ขอบเขตความร่วมมือของ “สลช.”
2.1 พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ลูกเสือมัคคุเทศก์ (Guide Scout” และการประเมินผลการฝึกอบรม

2.2 ส่งเสริมสนับสนุนและจัดการฝึกอบมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “ลูกเสือมัคคุเทศก์ (Gide Scout” ให้กับลูกเสือผู้มีความประสงค์เป็นจิตอาสาหรืออาสาสมัครด้านการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ

2.3 ออกแบบและจัดทำเครื่องหมายเครื่องแบบหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่เกี่ยวกับโครงการดังกล่าวเพื่อมอบให้กับลูกเสือกลุ่มเป้าหมาย ไว้ใช้ในการปฏิบัติงาน

2.4 จัดทำฐานข้อมูลลูกเสือผู้ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว

2.5 ประชาสัมพันธ์กิจกรมใดๆที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ลูกเสือมัคคุเทศก์ (Gide Scout” หรือที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของ”ลูกเสือมัคคุเทศก์ (Guide Scout” และร่วมประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์

ข้อ 3.อื่นๆ
3.1 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ไม่จำกัดสิทธิทุกฝายที่จะทำความร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่น เพื่อความสำเร็จของโครงการ

3.2 กรณีมีค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันให้ทุกฝายร่วมพิจารณาและตกลงเป็นกรณีไป

3.3 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อกำหนดและงื่อนไขใดๆในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้​ ทั้งสองฝ่ายจะได้เจรจาและทำความตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร

3.4 หากมีกรณีที่ฝายหนึ่งฝ่ายใดประสงค์ที่จะยกเลิกความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้จะต้องแจ้งล่วงหน้าให้อีกฝ่ายได้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกา 30 วันก่อนวันที่จะให้มีผลเป็นการเลิกบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

ดร.กนกวรรณ  วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า “เนื่องจากในปัจจุบันการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญ และสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพของเด็กและเยาวชนผู้เป็นลูกเสือ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตน สังคมและชุมชนได้ทุกมิติ จึงได้มีการจัดตั้งโครงการลูกเสือมัคคุเทศก์ขึ้น โดยได้น้อมนำหลักสูตรจิตอาสา 904​ มาใช้ในโครงการฯ เพื่อสืบสานพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมลูกเสือจิตอาสาตามพระราโชบายด้านการศึกษา เพื่อปลูกฝังให้ลูกเสือ ในท้องถิ่นให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจในคุณค่าของท้องถิ่นตนเอง มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาลูกเสือ ให้เกิดการเรียนรู้ มีทักษะในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราว ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่นตนเอง ให้กับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือนให้เกิดความประทับใจ และเพื่อสร้างศักยภาพให้กับลูกเสือ ให้มีระเบียบวินัย มีจิตบริการที่ดี การเป็นเจ้าบ้านที่ดี การเป็นจิตอาสาหรือเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้มาเยือนท้องถิ่นของตนเอง และเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับท้องถิ่น สร้างแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ในอนาคต ก่อให้เกิดประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

นอกจากนี้กองลูกเสือมัคคุเทศก์ โดยมุ่งหวังให้ลูกเสือมีบทบาทในการเป็นมัคคุเทศก์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้ง ยังเป็นการปลูกฝังให้ลูกเสือเกิดความรัก ความภาคภูมิใจในคุณค่าของท้องถิ่นของตน มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพของการท่องเที่ยวของประเทศไทย และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ส่งเสริมศักยภาพของเด็กและเยาวชนผู้เป็นลูกเสือให้สามารถต่อยอด และส่งเสริมทักษะด้านการใช้ภาษาให้สามารถพัฒนาเป็นอาชีพในอนาคตได้อย่างแท้จริง” รมช.ศธ.กล่าว

########################