1.สภาพอากาศวันนี้ : บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นและมีลมแรง ในขณะที่มีลมตะวันออกพัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 82% ของความจุเก็บกัก (66,001 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 72% (41,798 ล้าน ลบ.ม.) เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 1 แห่ง ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ พร่องน้ำเตรียมรองรับน้ำในฤดูฝน 1 แห่ง ภาคใต้ : บางลาง
3. คุณภาพน้ำ : แม่น้ำสายหลัก 4 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. ประกาศ : สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 20 – 26 พ.ย. 67 ดังนี้
1.พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
2.เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม
3.เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ แม่น้ำตาปี แม่น้ำตรัง คลองชะอวด คลองลำ คลองท่าแนะ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส
5. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำนบนายแจ่ม หมู่ที่ 6 ตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในฤดูแล้ง โดยมีสระเก็บน้ำนบนายแจ่มเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชาชน แต่มีสภาพตื้นเขิน วัชพืชปกคลุม ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้อย่างเพียงพอ กรมทรัพยากรน้ำจึงได้ดำเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำนบนายแจ่ม เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้ประชาชน จำนวน 157 ครัวเรือน มีน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค และส่งเสริมพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 213 ไร่ ได้อย่างเพียงพอและยั่งยืน ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
กรมชลประทาน ดำเนินการติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) หลังเกิดฝนตกหนัก โดยได้เตรียมความพร้อมและเน้นย้ำเจ้าหน้าที่ ติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เพื่อเตรียมรับมือน้ำหลาก และเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ รถแบคโฮ รถขุด รถเทรลเลอร์ เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เครื่องผลักดันน้ำประจำจุดพื้นที่เสี่ยงให้สามารถเข้าให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที