1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.พิษณุโลก (62 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ชัยภูมิ (68 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (48 มม.) ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา (65 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (69 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (57 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกและลมตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก ประกอบกับลมตะวันตก และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 1 – 5 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็น ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางและตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 82% ของความจุเก็บกัก (65,835 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 72% (41,640 ล้าน ลบ.ม.)
3. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 67 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าจากการหารือกับคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบไปด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีกรอบในการหารือที่สำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ เรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการในการช่วยเหลือ SMEs การบริหารจัดการน้ำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้งเกิดขึ้นอีกในอนาคต และสุดท้ายคือเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้เพื่อให้ข้อเสนอของภาคเอกชนได้รับการสานต่ออย่างเป็นรูปธรรม นายกรัฐมนตรีได้มีการสั่งการไปยังรองนายกรัฐมนตรี เรื่องการบริหารจัดการน้ำโดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้นำแผนงานการบริหารจัดการน้ำที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำไว้มาดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง และให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการทำเกษตรกรรมในอนาคต
4. การแจ้งเตือนเฝ้าระวัง : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เตือน เฝ้าระวัง!!! น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 2–12 พ.ย. 67เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำมีระดับเพิ่มสูงขึ้น จึงมีโอกาสเกิดน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ)จึงขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงดังกล่าวในจังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และสมุทรสงคราม
4. สถานการณ์อุทกภัย : วันที่ 29 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน ผักไห่ บางซ้าย มหาราช และบางไทร) และ จ.สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ สามชุก บางปลาม้า และสองพี่น้อง)