1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.อุทัยธานี (87 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (86 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (80 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (48) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ขอนแก่น (36 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (28 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน
คาดการณ์ :.ช่วงวันที่ 23 – 27 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ พายุดีเปรสชันบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “จ่ามี” (TRAMI) แล้ว คาดว่าจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วงวันที่ 23 – 24 ต.ค. 67
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 80% ของความจุเก็บกัก (64,717 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 70% (40,520 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 17/2567 ลงวันที่ 17 ต.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง ในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร
2. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ดังนี้จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สตูล นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และกระบี่
4. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองบางสะพาน คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี คลองชะอวด คลองลำ คลองท่าแนะ แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : รองนายกฯ ประเสริฐ เตรียมเป็นประธานคณะมนตรี MRC ปี 68
วานนี้ (21 ต.ค. 67) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ครั้งที่ 1/2567 โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี ได้ติดตามการดำเนินการและความก้าวหน้าของงานแม่น้ำโขง โดยเฉพาะประเด็นข้อห่วงกังวลเรื่องผลกระทบต่าง ๆ จากการพัฒนาโครงการบนแม่น้ำโขงสายประธานที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมอบนโยบายในการดำเนินการบริหารจัดการแม่น้ำโขง โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก และต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย รวมถึงให้มีการส่งเสริมเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลเทคนิคและวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก สำหรับการพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และผ่านความร่วมมือแบบทวิภาคี จะควบคู่กับการคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ ในปี 2568 จะได้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะมนตรีของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) และจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะมนตรีฯ ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ไทยจะได้แสดงศักยภาพความเป็นผู้นำและบทบาทในการบริหาร กำกับ และการขับเคลื่อนองค์กร MRC ผลักดันการดำเนินงานต่าง ๆ ให้มีทิศทางที่เกิดความร่วมมือในภูมิภาคอย่างเข้มแข็งและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
5. สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 22 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ และบางไทร) จ.สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า อู่ทอง และสองพี่น้อง) และ จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี บางเลน และสามพราน)