สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 ต.ค.67 เวลา 7.00 น.

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงราย (80 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ศรีสะเกษ (58 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (107 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ฉะเชิงเทรา (115 มม.) ภาคตะวันตก : จ.เพชรบุรี (120 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (135 มม.)

สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน และภาคกลางตอนล่าง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออก และอ่าวไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมาก

คาดการณ์ :.ช่วงวันที่ 20 – 22 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนหนักมากบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 80% ของความจุเก็บกัก (64,381 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 69% (40,187 ล้าน ลบ.ม.)

3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ :
ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 17/2567 ลงวันที่ 17 ต.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง ในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร
2. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ดังนี้จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สตูล นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และกระบี่
4. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองบางสะพาน คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี คลองชะอวด คลองลำ คลองท่าแนะ แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส

4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ :
เมื่อวันที่ 17 ต.ค.67 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้จัดประชุมคณะทำงานการบริหารจัดการน้ำเขื่อนบางลาง ครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมศรียะลา ชั้น 3 อาคาร 3 ศาลากลางจังหวัดยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นายสนั่น สนธิเมือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ประธานในการประชุม โดยการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบการคาดการณ์สภาพอากาศ และปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ และที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแผนการระบายน้ำของเขื่อนบางลาง โดยที่ประชุมได้เห็นชอบให้เขื่อนบางลางพร่องน้ำ 14 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน (162 ลบ.ม. ต่อวินาที) ในวันที่ 18 ต.ค. 67 พร่องน้ำ 16 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน (185 ลบ.ม. ต่อวินาที) ในวันที่ 19 ต.ค. 67 ต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีแผนปรับลดการระบายน้ำ พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับประชาชนรับทราบข่าวสารทั้งนี้ที่ประชุมได้กำหนดจัดประชุมคณะทำงานการบริหารจัดการน้ำเขื่อนบางลาง ครั้งที่ 2/2567 ในวันที่ 20 ต.ค. 67 เพื่อพิจารณาแผนการระบายน้ำของเขื่อนบางลางในระยะต่อไป ในระหว่างนี้หากการพร่องน้ำดังกล่าวส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งและกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานีประสานงานกับเขื่อนบางลางเพื่อปรับลดการระบายน้ำได้ทันที

5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 18 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ) จ.สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า และองพี่น้อง)จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ และบางไทร) และ จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี และบางเลน)