1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.ลำปาง (78 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ศรีสะเกษ (56 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (75 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (69 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (32 มม.) ภาคใต้ : จ.ยะลา (132 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนล่างประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 19 – 23 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 80% ของความจุเก็บกัก (64,272 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 69% (40,080 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ :
ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 17/2567 ลงวันที่ 17 ต.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง ในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร
2. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ดังนี้จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สตูล นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และกระบี่
4. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองบางสะพาน คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี คลองชะอวด คลองลำ คลองท่าแนะ แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ :
วานนี้ (17 ตุลาคม 2567) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเผยว่าคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์สภาพอากาศ ฝน และน้ำ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้กับคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยวาตภัย และดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักและต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม ทำให้มีความเสี่ยงน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ณ จังหวัดยะลา ในวันที่ 22 ตุลาคม 2567 เพื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์พักพิงสำหรับรองรับประชาชนหากจำเป็นต้องอพยพด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบจัดตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำในภาคใต้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ และในระยะยาวจะมีการทบทวนเพื่อถอดบทเรียนนำไปใช้ปรับปรุงการดำเนินงานในฤดูฝนหน้าต่อไป
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 18 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ) จ.สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า และสองพี่น้อง) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ และบางไทร) และ จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี และบางเลน)