1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.น่าน (97 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ศรีสะเกษ (44 มม.) ภาคกลาง : จ.สมุทรปราการ (38 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (80 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (102 มม.) ภาคใต้ : จ.ยะลา (193 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ :.ช่วงวันที่ 16–18 ต.ค..67.ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคใต้ตอนบน อ่าวไทยตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมผ่านภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน และทะเลอันดามันตอนบน ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคกลาง ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่างภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 80% ของความจุเก็บกัก (63,915 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 70% (39,869 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : 1.สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 13–17 ต.ค. 67 เนื่องจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก และร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขัง เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จังหวัดกาญจนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
2. สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 13–24 ต.ค. 67 ด้วยอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับมวลน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำไหลลงมาสมทบทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง จ.สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และสมุทรสงคราม
4. การให้ความช่วยเหลือ : วานนี้ 15 ต.ค. 67 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) ครั้งที่ 2/2567 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการ ดังนี้
1. ให้ คอส. ประชุมติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสถานการณ์น้ำและสถานการณ์ดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้
2. ให้ ศปช. ส่วนหน้า ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่สรุปความต้องการเครื่องมืออุปกรณ์แต่ละพื้นที่ และงบประมาณในการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ในปีต่อไป และเร่งดำเนินการช่วยเหลือฟื้นฟูให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้
3. ให้ กรมบัญชีกลาง เร่งรัดปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
4. กำหนดการจัดประชุม ครม.สัญจร ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย-เชียงใหม่ในช่วงก่อนปีใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมต่อไป
5. สถานการณ์น้ำท่วม 16 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ) จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ พรหมพิราม และบางระกำ) จ.สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า และสองพี่น้อง) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ และบางไทร) และ จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี และบางเลน)