1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.พิษณุโลก (81 มม.) ภาคกลาง : จ.ชัยนาท (21 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ชัยภูมิ (74 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (66 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (88 มม.) และ ภาคใต้ : จ.สงขลา (167 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นในตอนเช้า ประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อย ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ :. ช่วงวันที่ 7 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ตอนบน และอ่าวไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในของภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคใต้
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 77% ของความจุเก็บกัก (61,662 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 65% (37,475 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในพื้นที่แม่น้ำปิง เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังแม่น้ำปิง ช่วงวันที่ 3 – 6 ต.ค. 67 เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงและแม่น้ำสาขาเพิ่มสูงขึ้นมีแนวโน้มล้นตลิ่ง โดยเมื่อวาน (5 ต.ค. 67) เวลา 12.00 น. ที่สะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 5.30 ม. (สูงกว่าระดับตลิ่งชั่วคราว 1.10 ม.) และคาดว่าระดับน้ำจะเข้าสู่ตลิ่ง ในช่วงวันที่ 8 – 9 ต.ค. 67
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (5 ต.ค. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 10/2567 พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ จังหวัดสุโขทัย ทั้งนี้ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่สุโขทัยและพิษณุโลก โดยเน้นการแก้ไขปัญหาคันกั้นน้ำขาดและพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม จากนั้นได้ติดตามโครงการหน่วงน้ำเจ้าพระยาเหนือจังหวัดนครสวรรค์ ทั้งนี้ นายกฯ และรองนายกฯ แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีปริมาณน้ำสูงสุดในคืนวันที่ 5 ต.ค. 67 และการแจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมวลน้ำจากลุ่มน้ำยมที่ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัยไม่ส่งผลกระทบต่ออำเภอเมืองสุโขทัย แต่มีการเฝ้าระวังน้ำในแก้มลิงทุ่งทะเลหลวงและการป้องกันผลกระทบต่อโรงพยาบาลสุโขทัย ส่วนการระบายน้ำทุ่งบางระกำที่มีน้ำเกินความจุเก็บกัก ได้มีการปรับลดการระบายน้ำเขื่อนสิริกิติ์อยู่ที่ 5 ลบ.ม. ต่อวัน เพื่อลดระดับน้ำในแม่น้ำน่าน ทำให้สามารถระบายน้ำออกจากทุ่งได้ดีขึ้น สทนช. ประเมินว่ามวลน้ำจากลุ่มน้ำยมและน่านจะไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำประมาณ 2,500 ลบ.ม. ต่อวินาที จึงทำให้เขื่อนเจ้าพระยาต้องเพิ่มการระบายน้ำมากกว่า 2,000 ลบ.ม. ต่อวินาที แต่ไม่เกิน 2,500 ลบ.ม. ต่อวินาที จะส่งผลกระทบกับจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี และยังคงต้องเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงในจังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี ทั้งนี้ได้มีการประสานทุกจังหวัดให้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ล่วงหน้าแล้ว
5. สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 6 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ (อ.เมืองฯ แม่แตง แม่ริม สารภี หางดง สันป่าตอง และดอยหล่อ) จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่สาย เวียงป่าเป้า เวียงชัย เชียงแสน และแม่ลาว) จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ และป่าซาง) จ.ลำปาง (อ.เมืองฯ แม่พริก และเถิน) จ.ตาก (อ.สามเงา และบ้านตาก) จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ วัดโบสถ์ พรหมพิราม บางระกำ บางกระทุ่ม วังทอง และนครไทย) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสำโรง และสวรรคโลก) จ.เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ น้ำหนาว และหนองไผ่) จ.นครสวรรค์ (อ.เมืองฯ) จ.อุดรธานี (อ.เมืองฯ และสร้างคอม) จ.ชัยภูมิ (อ.คอนสวรรค์ และจัตุรัส) จ.กาฬสินธุ์ (อ.ยางตลาด ท่าคันโท สหัสขันธ์ ฆ้องชัย และหนองกุงศรี) จ.มหาสารคาม (อ.เมืองฯ กันทรวิชัย โกสุมพิสัย นาเชือก และเชียงยืน) จ.นครราชสีมา (อ.เมืองฯ โชคชัย จักราช และขามสะแกแสง) จ.บุรีรัมย์ (อ.นางรอง ชำนิ และหนองกี่) จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ และสว่างวีระวงศ์) จ.สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ และอินทร์บุรี) จ.สุพรรณบุรี (อ.เดิมบางนางบวช บางปลาม้า สองพี่น้อง ด่านช้าง หนองหญ้าไซ ศรีประจันต์ และสามชุก) จ.อ่างทอง (อ.เมืองฯ วิเศษชัยชาญ และไชโย) และ จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ เสนา และบางไทร)