สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 27 ก.ค 67 เวลา 7.00 น.

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.ตาก (105 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ศรีสะเกษ (45 มม.) ภาคกลาง : จ.สมุทรสงคราม (9 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (179 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (94 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (48 มม.)

สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออก

คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 28 ก.ค. – 1 ส.ค. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 52% ของความจุเก็บกัก (41,759 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 30% (17,599 ล้าน ลบ.ม.)

3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 8/2567 ลงวันที่ 21 ก.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24-31 ก.ค. 67 มีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้

3.1 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย พะเยา น่าน แพร่ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล

3.2 เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ น่าน พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา สระบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี ตราด และระนอง

3.3 เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำพอง ลำน้ำก่ำ แม่น้ำชี ลำเซบาย แม่น้ำยัง และแม่น้ำตราด

4. การบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (26 กรกฎาคม 2567) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมหน่วยบริหารจัดการน้ำ ครั้งที่ 4/2567 โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม
ปัจจุบันปริมาณฝนมีแนวโน้มลดลงไปจนถึงช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2567 โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้เห็นชอบให้กรมชลประทานปรับลดการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยาลงจาก 800 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เหลือ 750 ลูกบาศก์เมตร/วินาที พร้อมผันน้ำเข้าระบบชลประทานอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ตอนล่างของเขื่อนเจ้าพระยา
ส่วนกลุ่มลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล กฟผ. และชป.ได้ประเมินสถานการณ์ว่าปริมาณน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจึงขอเพิ่ม
การระบายน้ำจากปัจจุบัน 15 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน เป็นไม่เกิน
20 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2567 เพื่อรองรับน้ำในช่วงฝนตกหนัก ทั้งนี้ได้กำชับให้วางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างรัดกุมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนตลอดลำน้ำ

5. สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 26 ก.ค…67 ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จ.ตาก (อ.แม่สอด แม่ระมาด และพบพระ) จ.กาญจนบุรี (อ.ทองผาภูมิ สังขละบุรีและไทรโยค)) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่และเสนา) จ.ขอนแก่น (อ.มัญจาคีรี บ้านไผ่ บ้านแฮด ภูผาม่าน ชุมแพ และหนองเรือ) จ.ชัยภูมิ (อ.คอนสาร บ้านแท่น ภูเขียว และเกษตรสมบูรณ์) จ.ร้อยเอ็ด (อ.ปทุมรัตต์ สุวรรณภูมิและเกษตรวิสัย) จ.อุบลราชธานี (อ.วารินชําราบ) และ จ.จันทบุรี (อ.เมืองฯ และท่าใหม่)